Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33207
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิทิต ปานสุข-
dc.contributor.advisorกิตติภูมิ รอดสิน-
dc.contributor.authorครรชนะ รัตนพงศ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-07-18T07:42:59Z-
dc.date.available2013-07-18T07:42:59Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33207-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาพฤติกรรมของเสาคอนกรีตเสริมเหล็กที่มีความเหนียวจำกัดในการรับแรงกระทำแบบวัฏจักรและพฤติกรรมการวิบัติภายใต้น้ำหนักบรรทุก เสาทดสอบเป็นตัวแทนของเสาในอาคารในประเทศไทยที่มีความสูงระหว่าง 10 -15 ชั้น ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาคือ ปริมาณเหล็กปลอก และการต่อทาบเหล็กเสริมบริเวณจุดหมุนพลาสติก โดยเสา S1 และ S2S มีปริมาณเหล็กปลอก 0.2% ตามมาตรฐาน ACI318-05 และ เสา S3 มีปริมาณเหล็กปลอก 0.1% ซึ่งเป็นปริมาณน้อยสุดตามมาตรฐาน วสท. 1007-34 เสา S2S จะมีการต่อทาบปลายเหล็กเสริมโดยมีระยะต่อทาบ 600 มม. โดยปริมาณเหล็กเสริมตามยาว และสัดส่วนแรงอัดตามแนวแกนของเสามีค่าเท่ากันทุกต้นคือ 3.14% และ 0.2 ตามลำดับ การทดสอบเสาจะทดสอบโดยให้เสารับแรงกระทำด้านข้างแบบวัฏจักรโดยเพิ่มเปอร์เซนต์การเคลื่อนตัวแต่รักษาน้ำหนักบรรทุกที่หัวเสาให้คงที่ การทดสอบจะทดสอบจนเสาไม่สามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้ ผลการทดสอบพบว่าเสาทุกต้นเกิดการวิบัติแบบเฉือน โดยการแตกของคอนกรีตหุ้มเหล็กเสริมและการโก่งเดาะของเหล็กยืนเป็นจุดเริ่มต้นของการวิบัติโดยน้ำหนักบรรทุก เสาทุกต้นจะสูญเสียกำลังรับแรงด้านข้างที่การเคลื่อนตัวประมาณ 1.5 -2% เสา S1 เกิดการวิบัติจากน้ำหนักบรรทุกที่การเคลื่อนตัว 4% เมื่อมีการต่อทาบปลายเหล็กเสริมในเสา S2S ความสามารถในการเคลื่อนตัวจะลดลงมาเหลือ 3.5% เนื่องจากวิบัติของเหล็กเสริมบริเวณจุดต่อทาบ และในเสา S3 จะพบการฉีกขาดของเหล็กปลอกก่อนการวิบัติที่การเคลื่อนตัว 3% ดังนั้นสรุปได้ว่าการต่อทาบเหล็กเสริมและ การใช้ปริมาณเหล็กปลอกน้อยสุดตามมาตรฐาน วสท. จะทำให้จะทำให้เปอร์เซ็นต์การเคลื่อนตัวลดลง โดยจากการทดสอบพบว่าปริมาณเหล็กเสริมมีผลต่อการเคลื่อนตัวของเสามาก และจากผลการทดสอบพบว่าเปอร์เซ็นต์การเคลื่อนตัวสูงสุดก่อนการวิบัติจากน้ำหนักบรรทุก มีค่าประมาณสองเท่าของการเคลื่อนตัว ณ จุดที่เสาสูญเสียกำลังรับแรงด้านข้างen_US
dc.description.abstractalternativeThe principal objective of this research is to investigate the cyclic behavior of non-ductile reinforced concrete columns and their collapse behavior under gravity load. The test specimens are representative of RC columns supported 10 to 15-story building in Thailand. The variables used in this study are amount of transverse reinforcement and lap-splice in plastic hinge region. The column S1 and S2S possess 0.2% transverse reinforcement ratio according to ACI318-05 and 0.1% transverse reinforcement ratio has been used in S3 according to E.I.T 1007-34. The splice length of 600 mm is used in specimen S2s. The longitudinal reinforcement ratio and axial load ratio of all columns are 3.14% and 0.2 respecitvely. All columns were subject to increasing lateral cyclic load while the axial load was kept constrant throuthout the test. The test program was terminated when the axial load could not be carried by the column. The test results revealed that all columns were failed by shear initiated by concrete cover spalling and following by bar buckling. The lateral resistance has significantly dropped when the columns subject to lateral displacement aound 1.5 - 2.0 % drift. For column S1, the gravity load collapse occurred at 4% drift and S2S at 3.5 % drift. The splice slip may result in reduction in the maximum drift of Specimen S2S. For column S3, the transverse reinforcement has broken and may result in the lowest maximum drift of 3%. Therefore, the use of lap-splice and very low amount of transverse reinforcement may affect the maximum drift at gravity load collapse. From the test result, the influence of amount of transverse reinforcement may be more pronounce. The results also revealed that the maximum drift at gravity load collapse was approximately twice the drift at lateral strength loss.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.353-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectคอนกรีตเสริมเหล็กen_US
dc.subjectแรงเฉือน (กลศาสตร์)en_US
dc.subjectเสาคอนกรีต -- การทดสอบen_US
dc.subjectReinforced concrete structureen_US
dc.subjectShear (Mechanics)en_US
dc.subjectConcrete column Testingen_US
dc.titleขีดจำกัดระยะเคลื่อนตัวที่สภาวะการวิบัติด้วยน้ำหนักบรรทุกจากแรงโน้มถ่วงของเสาคอนกรีตเสริมเหล็กที่มีการต่อทาบเหล็กเสริมตามแนวยาวen_US
dc.title.alternativeDrift limit at gravity load collapse of reinforced concrete columns with lap splicesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมโยธาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.353-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kanchana_ra.pdf4.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.