Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3336
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | จันทร์เพ็ญ เชื้อพานิช | - |
dc.contributor.author | เด่นดาว ชลวิทย์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2007-01-14T07:47:31Z | - |
dc.date.available | 2007-01-14T07:47:31Z | - |
dc.date.issued | 2543 | - |
dc.identifier.isbn | 9743471898 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3336 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 | en |
dc.description.abstract | ศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนความเรียงภาษาไทยและเจตคติต่อการตรวจแก้ไขงานเขียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการตรวจแก้ไขงานเขียน 3 วิธี คือ วิธีชี้แนะ วิธีเขียนคำวิจารณ์ไว้ด้านข้างหรือตอนท้าย และวิธีแก้ไขพร้อมเขียนสิ่งที่ถูกให้ ตัวอย่างประชากรเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนพรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 4 ห้อง โดยนั้นให้นักเรียนทั้ง 4 ห้องทำแบบทดสอบความสามารถในการเขียนความเรียงภาษาไทยก่อนการทดลองแล้วเขียนความเรียงภาษาไทยตามหัวข้อที่กำหนดไว้ 6 เรื่อง ผู้วิจัยตรวจแก้ไขความเรียง โดยห้องที่หนึ่ง สองและสามได้รับการตรวจแก้ไขงานเขียนห้องละ 1 วิธี ส่วนห้องที่สี่ได้รับการตรวจแก้ไขงานเขียนทั้ง 3 วิธี หลังการตรวจแก้ไขงานเขียนครบ 6 เรื่อง ผู้วิจัยให้นักเรียนห้องที่หนึ่ง สอง และสามทำแบบทดสอบความสามารถในการเขียนความเรียงภาษาไทยหลังการทดลองและแบบวัดเจตคติต่อการตรวจแก้ไขงานเขียนแต่ละวิธี ส่วนห้องที่ 4 ทำแบบวัดเจตคติต่อการตรวจแก้ไขงานเขียนแต่ละวิธีทั้ง 3 วิธี วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์ค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างของค่ามัชฌิมเลขคณิตโดยวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) และเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยใช้การทดสอบค่า t ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการตรวจแก้ไขงานเขียนด้วยวิธีต่างกัน 3 วิธีมีคะแนนความสามารถในการเขียนความเรียงภาษาไทยหลังการทดลองสูงกว่าคะแนนความสามารถในการเขียนความเรียงภาษาไทยก่อนการทดลอง 2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ทั้ง 4 ห้องมีเจตคติทางบวกต่อการตรวจแก้ไขงานเขียนแต่ละวิธี 3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการตรวจแก้ไขงานเขียนด้วยวิธีชี้แนะและวิธีเขียนคำวิจารณ์ไว้ด้านข้างหรือตอนท้ายมีคะแนนความสามารถในการเขียนความเรียงภาษาไทยไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ได้รับการตรวจแก้ไขงานเขียนด้วยวิธีชี้แนะและวิธีเขียนคำวิจารณ์ไว้ด้านข้างหรือตอนท้ายมีคะแนนความสามารถในการเขียนความเรียงภาษาไทยสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการตรวจแก้ไขงานเขียนด้วยวิธีแก้ไขพร้อมเขียนสิ่งที่ถูกให้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีเจตคติต่อการตรวจแก้ไขงานเขียนด้วยวิธีชี้แนะสูงกว่าเจตคติต่อการตรวจแก้ไขงานเขียนด้วยวิธีเขียนคำวิจารณ์ไว้ด้านข้างหรือตอนท้ายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 6. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีเจตคติต่อการตรวจแก้ไขงานเขียนด้วยวิธีชี้แนะไม่สูงกว่าเจตคติต่อการตรวจแก้ไขงานเขียนด้วยวิธีแก้ไขพร้อมเขียนสิ่งที่ถูกให้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 7. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีเจตคติต่อการตรวจแก้ไขงานเขียนด้วยวิธีเขียนคำวิจารณ์ไว้ด้านข้างหรือตอนท้ายและเจตคติต่อการตรวจแก้ไขงานเขียนด้วยวิธีแก้ไขพร้อมเขียนสิ่งที่ถูกให้ แตกต่างกันอย่างมีสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 | en |
dc.description.abstractalternative | Studies and compares Thai composition writing ability and attitude towards three correction techniques; Clues Technique, Marginal Commentary Technique, and Correction and Error Identification Technique of mathayom suksa two students. The samples of this research were 4 groups of mathayom suksa two students studying at Prommanusorn School in Phetchaburi Province. The Thai composition writing ability test was administered to all 4 groups of the samples as pretest. Six Thai composition writings were assigned. Each correction technique was used to correct the composition of each of the first three groups, but all the three correction techniques were given only to the fourth group. Then the Thai composition writing ability test and attitude towards correction technique tests were administered to the samples after the experiment. The obtained data were analized by means of arithmetic mean (X), standard deviation (S.D.), ANOVa and t-test. The results were as follows: 1. Mathayom suksa two students who received three different correction techniques had posttest scores of Thai composition writing ability higher than those of the pretest. 2. All four groups of mathayom suksa two students had positive attitude towards the correction techniques they were treated. 3. Mathayom suksa two students who received Clues Correction Technique had Thai composition writing ability scores not different from those of the students who received Marginal Commentary Correction Technique at .05 level of significance. 4. Mathayom suksa two students who received Clues Correction Technique and Marginal Commentary Correction Technique had Thai composition writing ability scores higher than those of the students who received Correction and Error Identification Correction Technique at .05 level of significance. 5. Mathayom suksa two students had a higher attitude towards Clues Technique than attitude towards Marginal Commentary Technique at .05 level of significance. 6. Mathayom suksa two students had attitude towards Clues Technique not higher than attitude towards Correction and Error Identification Correction Technique at .05 level of significance. 7. Mathayom suksa two students had attitude towards Marginal Commentary different from attitude towards Correction and Error Identification Correction Technique at .05 level of significance | en |
dc.format.extent | 1223903 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ทัศนคติ -- การทดสอบ | en |
dc.subject | ทัศนคติ -- การทดสอบ | en |
dc.subject | ภาษาไทย -- การทดสอบความสามารถ | en |
dc.title | ผลของการตรวจแก้ไขงานเขียนด้วยวิธีการสามวิธีที่มีต่อ ความสามารถในการเขียนความเรียงภาษาไทย และเจตคติต่อการตรวจแก้ไขงานเขียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 | en |
dc.title.alternative | Effects of three composition correction techniques on Thai composition writing ability and attitude towards correction techniques of mathayom suksa two students | en |
dc.type | Thesis | en |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | en |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en |
dc.degree.discipline | การสอนภาษาไทย | en |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Chanpen.C@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Dendow.pdf | 1.34 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.