Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3339
Title: การเปรียบเทียบความชุกของเชื้อซัลโมเนลลาที่ไม่ใช่ไทฟอยด์ ในอุจจาระของผู้ป่วยโรคลูปุสกับคนปกติ
Other Titles: The comparison of prevalence of positive stool culture for non-typhoidal salmonella in systemic lupus erythematosus with normal population
Authors: จีรภัทร วงศ์ชินศรี
Advisors: อุทิศ ดีสมโชค
ธีระพงษ์ ตัณฑวิเชียร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Subjects: เอสแอลอี -- การรักษา
ซาลโมเนลลา
โรคเกิดจากแบคทีเรีย
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาเปรียบเทียบความชุกของเชื้อซัลโมเนลลาที่ไม่ใช่ไทฟอยด์ ในอุจจาระของผู้ป่วยโรคลูปุสกับประชากรทั่วไป วิธีการดำเนินการ เก็บตัวอย่างอุจจาระจากผู้ป่วยโรคลูปุสและจากคนปกติ โดยเก็บอุจจาระ 3 ครั้งใน แต่ละคน อุจจาระดังกล่าวจะถูกนำไปเพาะเชื้อ เพื่อหาเชื้อซัลโมเนลลาที่ไม่ใช่ไทฟอยด์ แล้วนำผลมาเปรียบเทียบกันระหว่างกลุ่ม รวมทั้งมีการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับ อายุ เพศ ระดับการศึกษา อาชีพ และระดับรายได้ ของทั้งสองกลุ่ม ส่วนในเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยจะมีการรวบรวมรายละเอียดเกี่ยวกับโรคลูปุส และการรักษาที่ผู้ป่วยได้รับขณะเก็บตัวอย่างด้วย ผลการศึกษา ตัวอย่างอุจจาระได้จากกลุ่มผู้ป่วยโรคลูปุสจำนวน 110 ราย และจากกลุ่มควบคุมจำนวนเท่ากัน ในระหว่างกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่มนี้มีอายุเฉลี่ย เพศ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ย ใกล้เคียงกัน ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในกลุ่มผู้ป่วยโรคลูปุสจะมีผู้ป่วยซึ่งมีระยะเวลาการเป็นโรค การมีภาวะโรคไตแทรก และอวัยวะที่เกิดโรค รวมทั้งยาที่ใช้ในการรักษาต่างๆ กันไป ผลการเพาะเชื้อพบว่าในกลุ่มผู้ป่วยมีเชื้อซัลโมเนลลาที่ไม่ใช่ไทฟอยด์ 42 ราย คิดเป็นร้อยละ 38.2 ส่วนในกลุ่มควบคุมพบเชื้อ 25 ราย คิดเป็นร้อยละ 22.7 ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.009) โดยในกลุ่มผู้ป่วยนั้นเชื้อซัลโมเนลลาที่ไม่ใช่ไทฟอยด์ได้กลุ่มที่พบมากที่สุดคือ กลุ่ม E ในแง่ความสัมพันธ์ระหว่างการพบเชื้อกับโรคลูปุสนั้น พบว่าผู้ป่วยที่มีโรคไตกำเริบจะมีความชุกของเชื้อสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนระยะเวลาของการเป็นโรคลูปุสและการรักษานั้นพบว่าไม่มีความสัมพันธ์ในระดับที่มีนัยสำคัญทางสถิติ สรุป ผู้ป่วยโรคลูปุสมีความชุกของเชื้อซัลโมเนลลาที่ไม่ใช่ไทฟอยด์ ในอุจจาระมากกว่าคนปกติทั่วไป ซึ่งไม่มีโรคหรือภาวะที่ทำให้ภูมิต้านทานต่ำลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยทั้งในกลุ่มผู้ป่วยโรคลูปุสและคนปกติ พบว่าความชุกของเชื้อดังกล่าวไม่มีความสัมพันธ์กับอายุ เพศ ระดับการศึกษา อาชีพ และระดับรายได้ ในส่วนของกลุ่มผู้ป่วยโรคลูปุส พบว่าความชุกของเชื้อสูงขึ้นในผู้ป่วยที่มีโรคไตกำเริบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับระยะเวลาของการเป็นโรคลูปุสและการรักษาด้วยยาชนิดต่างๆ
Other Abstract: Compares the prevalence of positive stool culture for non-typhoidal salmonella in systemic lupus erythematosus (SLE) with normal population. Three stool specimens of each SLE patient and normal control were cultures for non-typhoidal salmonella at the Department of Microbiology, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University. The results were compared between 2 groups. In the SLE group, the details about disease duration, evidence of kidney involvement and the treatment status were also recorded. There were 110 valuable subjects in each group, SLE patient and normal control. The demographic data was not significantly different between these two groups. In SLE group, there were many variety of the disease status organ involvement and the treatment status. The positive stool culture for non-typhoidal salmonella in the SLE group was significantly higher than the control group [42 cases (38.2%) vs 25 cases (22.7%); p = 0.009]. The most common group in SLE patient was salmonella group E. The positivity of stool culture was significantly determined by presence of lupus nephritis but was not influenced by disease duration, the dosage of corticosteroid and the presence of immunosuppressive treatment. Thes study has shown that there are higher prevalence of positive stool culture for non-typhoidal salmonella in SLE patient than normal population. The result of both groups was not depend on age, sex, education, occupation and the income level. In SLE group, the prevalence of this organism was significantly determined by the presence of lupus nephritis, but was not influenced by disease duration, or the treatment regimen
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3339
ISBN: 9741309554
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
jeerapat.pdf2.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.