Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34359
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่างความถนัดทางการเรียนภาษา ความถนัดทางวิชาชีพ และความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเทคนิค ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา |
Other Titles: | The relationships between language aptitude, vocational aptiude and technical English proficiency of students at the higher vocational education diplom level in the institute of technology and vocational education |
Authors: | บุษยา ลิ้มทิพย์ดารา |
Advisors: | สุจิตรา สวัสดิวงษ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | การทดสอบความสามารถ ภาษาอังกฤษเทคนิค -- การทดสอบความถนัด การวัดความถนัดทางการเรียน นักเรียนอาชีวศึกษา -- ไทย ภาษาอังกฤษเทคนิค -- การศึกษาและการสอน |
Issue Date: | 2530 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความถนัดทางการเรียนภาษากับความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเทคนิค ความถนัดทางวิชาชีพกับความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเทคนิค และความถนัดทางการเรียนภาษากับความถนัดทางวิชาชีพ ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาในกลุ่มเทคนิคการผลิตซึ่งเรียนอยู่ชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2528 ใน 8 วิทยาเขต จำนวน 263 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบความถนัดทางการเรียนภาษาของสถาบันภาษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และแบบสอบความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเทคนิคที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง ซึ่งประกอบด้วย 4 ทักษะ ได้แก่ ทักษะการฟัง ทักษะการพูด ทักษะการอ่านและทักษะการเขียน แบบสอบความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเทคนิคชุดนี้ได้ผ่านการตรวจสอบความถูกต้องทางภาษาและความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน และผ่านการทดลองใช้ 2 ครั้ง มีค่าความเที่ยงของแบบสอบเท่ากับ 0.92 ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และแบบทดสอบความมีนัยสำคัญของค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ด้วยค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. ความถนัดทางการเรียนภาษาของนักศึกษาในวิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพ วิทยาเขต เทคนิคนนทบุรี วิทยาเขตเทคนิคภาคพายัพ วิทยาเขตเทคนิคของแก่น และวิทยาเขตเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเทคนิคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2. ความถนัดทางวิชาชีพของนักศึกษาในวิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพ วิทยาเขตเทคนิคนนทบุรี วิทยาเขตเทคนิคขอนแก่น และวิทยาเขตเทคนิคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเทคนิคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. ความถนัดทางการเรียนภาษาเฉพาะของนักศึกษาในวิทยาเขตเทคนิคภาคใต้มีความสัมพันธ์ในทางลบกับความถนัดทางวิชาชีพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 |
Other Abstract: | The purpose of this research was to study the relationships between language aptitude and technical English proficiency, vocational aptitude and technical English proficiency, and language aptitude and vocational aptitude of the students at the higher vocational education diploma level in the Institute of Technology and Vocational Education. The sample of this study were 263 first year technical production students in 8 technical campuses in the academic year of 1985. The research instruments were a language aptitude test, constructed by Chulalongkorn University Language Institute, and a technical English proficiency test, constructed by the researcher. The proficiency test consisted of 4 skills: listening, speaking, reading, and writing. The test was examined on its language correctness and content validity by five experts and was administered twice in the try out process. The reliability of the test was 0.92. the data were collected by the researcher and analyzed by means of Pearson’s product moment correlation coefficient and t-test. The findings were as follows: 1. There was a positive correlation between language aptitude and technical English proficiency of the students at the Bangkok campus, Nonthaburi campus, Payap campus, Konkhaen campus, and Northeast campus at the 0.05 level of significance. 2. There was a positive correlation between vocational aptitude and technical English proficiency of the students at the Bangkok campus, Nonthaburi campus, Konkhaen campus, and Northeast campus at the 0.05 level of significance. 3. There was a negative correlation between language aptitude and vocational aptitude of the students only at the South campus at the 0.05 level of significance. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | มัธยมศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34359 |
ISBN: | 9745678643 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Busaya_li_front.pdf | 3.91 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Busaya_li_ch1.pdf | 3.9 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Busaya_li_ch2.pdf | 13.42 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Busaya_li_ch3.pdf | 4.29 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Busaya_li_ch4.pdf | 2.07 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Busaya_li_ch5.pdf | 2.83 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Busaya_li_back.pdf | 20.39 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.