Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34388
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนิรมล สวัสดิบุตร-
dc.contributor.authorบุษบา กาญจน์วารีทิพย์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2013-08-08T10:08:03Z-
dc.date.available2013-08-08T10:08:03Z-
dc.date.issued2530-
dc.identifier.isbn9745679186-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34388-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530en_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาวิวัฒนาการของหลักสูตรและการสอนศิลปศึกษาในระดับประถมศึกษาของไทย ตั้งแต่ พุทธศักราช 2435 ถึง 2526 วิธีดำเนินการวิจัย ดำเนินการวิจัยตามระเบียบวีวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ดังนี้ (1) ศึกษาและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรและการสอนศิลปศึกษาในสมัยต่างๆ จากเอกสารหลักสูตร หนังสือ วารสาร ผลงานวิจัยและเอกสารทางราชการที่เกี่ยวข้อง (2) สัมภาษณ์ผู้ที่มีหนาที่และความรู้เกี่ยวกับการสอนศิลปศึกษา (3) นำข้อมูลที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์และเรียบเรียงเป็นรายงานการวิจัย ผลการวิจัย ในจำนวนหลักสูตรประถมศึกษา 12 ฉบับ ตั้งแต่ พ.ศ. 2435 ถึง พ.ศ. 2526 ปรากฏว่ามีวิชาทางศิลปศึกษาในหลักสูตร 10 ฉบับ และแบ่งได้เป็น 2 ยุค คือยุคแรก (พ.ศ. 2435 ถึง พ.ศ. 2502) ศิลปศึกษาเป็นวิชาพื้นฐานที่มุ่งปลูกฝังนิสัยในการสังเกต การเรียนการสอนจึงเน้นความชำนาญในด้านฝีมือและทักษะในการวาดภาพระบายสี การรักความสวยงามและความเป็นระเบียบเรียบร้อย และยุคที่สอง (พ.ศ. 2503 ถึง 2526) หลักสูตรมีจุดมุ่งหมายให้นักเรียนได้แสดงออกตามความสนใจและความสามารถ โดยส่งเสริมให้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และจินตนาการ มีกิจกรรมทางศิลปศึกษาอื่นๆ อีกหลายชนิดนอกเหนือจากการวาดภาพระบายสี เพื่อให้นักเรียนได้มีประสบการณ์ที่กว้างขวาง วิธีสอนศิลปศึกษาแบ่งได้เป็น 2 ยุค ตามความมุ่งหมายของหลักสูตร คือ ยุคแรกระหว่าง พ.ศ. 2435 ถึง พ.ศ. 2502 เป็นยุคที่ครูเป็นศูนย์กลางของการเรียน นักเรียนสร้างผลงานศิลปะที่เหมือนกับตัวอย่างที่ครูให้ดู และยุคที่สองระหว่าง พ.ศ. 2503 ถึง พ.ศ. 2526 เป็นยุคที่นักเรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียน ครูเป็นเพียงผู้ให้คำแนะนำและจัดประสบการณ์ทางศิลปะให้เหมาะสมกับพัฒนาการและความสนใจของเด็ก สื่อการเรียนการสอนศิลปศึกษาเริ่มจากการใช้ของจริง หุ่นจำลอง ตัวอย่างภาพที่ครูวาดให้ดู หรือภาพจากสมุดแบบฝึกหัดวาดภาพ ต่อมาหลักสูตรประถมศึกษาพุทธศักราช 2503 และพุทธศักราช 2521 ซึ่งมีกิจกรรมทางศิลปศึกษากว้างขวางผนวกกับความเจริญทางด้านเทคโนโลยี ทำให้มีการใช้สื่อการเรียนการสอนศิลปศึกษาอย่างมากมายตามลักษณะของกิจกรรมทางศิลปะนานาชาติในหลักสูตร การประเมินผลวิชาศิลปศึกษาในระยะแรก ตั้งแต่ พ.ศ. 2435 ถึง พ.ศ. 2502 เป็นการประเมินผลงานที่ทำสำเร็จ โดยตัดสินด้วยมาตรฐานความพอใจของผู้ใหญ่ ต่อมาใน พ.ศ. 2503 ถึง พ.ศ. 2520 การประเมินผลวิชาศิลปศึกษาให้ความสำคัญแก่พัฒนาการทางศิลปะ และลักษณะนิสัยที่พึงประสงค์ของเด็กมากกว่าผลงานที่ทำเสร็จ ใน พ.ศ. 2521 ถึง พ.ศ. 2526 การประเมินผลวิชาศิลปศึกษาเป็นไปในแนวทางที่คำนึงถึงพัฒนาการของนักเรียน โดยยึดจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรมและใช้วิธีการสังเกต ซักถาม ทดสอบ และตรวจผลงาน
dc.description.abstractalternativePurpose : The purpose of this research was to study the evolution of curriculum and instruction of art education at the elementary school level in Thailand from B.E. 2435 to B.E 2526. Procedures : This historical research was conducted under the following procedures : (1) studying and collecting information concerning curriculum and instruction of art education from books, journals, theses and related official papers; (2) interviewing those responsible for and well versed in the teaching of art education; (3) analyzing the collected information and writing the research report. Findings : Art education appeared in 10 out of 12 elementary school curricula from B.E. 2435 to B.E. 2526 and could be divided into two periods. In the first period (B.E. 2435 to B.E. 2502) art education subject was a foundation for learning craftsmanship, thus emphasizing skills in drawing and painting, and love of beauty and orderliness. In the second period (B.E. 2503 to B.E. 2526) the curricula aimed at promoting students’ expression according to their interests and abilities by encouraging them to be creative and imaginative. There were not only drawing and painting but also various other art activities to broaden the students’ experiences. The teaching of art education was divided into two periods according to the objectives of the curricula. The first period (B.E. 2435 to B.E. 2502) was the teacher-centered period. Students produced art works resembling the examples given by teachers. The second period (B.E. 2503 to B.E. 2526) was the student –centered period. The teachers only gave guidance and provided art experiences suitable for the students’ development and interests. Teaching materials in art education started from real objects, models, examples of teachers’ drawings or pictures from the drawing exercise books. Later on. Elementary school curricula B.E. 2503 and B.E. 2521 which contained a wide variety of art activities, coupled with the advancement of technology, had led to the use of several kinds of art teaching materials according to various art activities in the curricula.
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectศิลปศึกษา -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
dc.subjectหลักสูตร
dc.subjectกาารวัดผลทางการศึกษา
dc.titleวิวัฒนาการของหลักสูตรและการสอนศิลปศึกษาระดับประถมศึกษา ในประเทศไทย พุทธศักราช 2435 ถึง 2526en_US
dc.title.alternativeThe evolution of curriculum and instruction in art elementary school level in Thailand from B.E. 2435 to B.E. 2526en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineประถมศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Busaba_kh_front.pdf5.59 MBAdobe PDFView/Open
Busaba_kh_ch1.pdf3.42 MBAdobe PDFView/Open
Busaba_kh_ch2.pdf1.65 MBAdobe PDFView/Open
Busaba_kh_ch3.pdf13.69 MBAdobe PDFView/Open
Busaba_kh_ch4.pdf13.49 MBAdobe PDFView/Open
Busaba_kh_ch5.pdf16.67 MBAdobe PDFView/Open
Busaba_kh_ch6.pdf6.46 MBAdobe PDFView/Open
Busaba_kh_back.pdf56.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.