Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/343
Title: ผลของการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนซิปปา ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Other Titles: Effects of employing the Cippa instructional model in organizing learning activities on learning achievement, science process skills and scientific attitude of prathom suksa five students
Authors: บุญฤดี แซ่ล้อ
Advisors: วรสุดา บุญยไวโรจน์
ทิศนา แขมมณี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Tisana.K@chula.ac.th
Subjects: วิทยาศาสตร์--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
การสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาผลของการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการการเรียนสอนซิปปา ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตัวอย่างประชากรคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดตะคร้ำเอน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี ปีการศึกษา 2544 จำนวน 60 คน เป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน กลุ่มทดลองได้รับการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนซิปปา มีขั้นตอนการดำเนินการสอนดังนี้ 1) ขั้นตรวจสอบความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ 2) ขั้นสร้างความรู้ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 3) ขั้นแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิทยาศาสตร์ 4) ขั้นสรุปจัดระเบียบความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ 5) ขั้นประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ 6) ขั้นแสดงผลงานทางวิทยาศาสตร์และการประเมินผล ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามปกติ ดำเนินการจัดการเรียนการสอนแก่นักเรียนทั้งสองกลุ่ม โดยใช้เวลาทั้งสิ้น 10 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และแบบวัดเจตคติทางวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. หลังการทดลอง ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนซิปปา สูงกว่านักเรยีนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. หลังการทดลอง ค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนซิปปา สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. หลังการทดลอง ค่าเฉลี่ยของคะแนนเจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนซิปปา สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: To study the effects of employing CIPPA instructional model in organizing learning activities on learning achievement, science process skills and scientific attitude of Prathom Suksa Five students. The samples of this study were 60 students of Prathom Suksa Five, academic year 2001, in Wat Takramaen School under the jurisdiction of the Office of Kanchanaburi Provincial Primary Education. They were divided into the experimental group and the control group, 30 students each. The experimental group was taught science by employing CIPPA instructional model with the following teaching stages : 1) Checking prerequisite scientific knowledge, 2) Constructing knowledge with process of science, 3) Exchanging scientific knowledge, 4) concluding, re-ordering scientific knowledge and analyzing learning process, 5) Applying scientific knowledge, and 6) Presenting result of scientific work and evaluation. As for the control group was taught science by the conventional method teaching. The experimental duration was 10 week. The research instruments were the science learning achievement test, the science process skills test and the scientific attitude test. Data were analyzed by using mean, standard deviation and t-test. The result was found that after the experiment. 1. The mean score on learning achievement of students being provided by CIPPA instructional model was higher than that of the students taught by conventional method at the .05 level of significance. 2. The mean score on science process skill of students being provided by CIPPA instructional model was higher than that of the student taught by conventional method at the .05 level of significance. 3. The mean score on scientific attitude of students being provided by CIPPA instructional model was higher than that of the students taught by conventional method at the .05 level of significance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/343
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.692
ISBN: 9741718314
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2002.692
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Boonrudee.pdf3.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.