Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34609
Title: การจัดการสินค้าคงคลังสำหรับธุรกิจส่งออกชิ้นส่วนประกอบรถยนต์
Other Titles: Inventory management for automotive export business
Authors: กฤษฎา โอภาสพงศ์
Advisors: มาโนช โลหเตปานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Manoj.L@Chula.ac.th
Subjects: การบริหารงานโลจิสติกส์
พยากรณ์
การจัดการคลังสินค้า
การควบคุมสินค้าคงคลัง
อุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์
Business logistics
Forecasting
Warehouses -- Management
Inventory control
Automobile supplies industry
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาการจำลองสถานการณ์การจัดการสินค้าคงคลังหลายรูปแบบของธุรกิจการส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ โดยทดลองจากข้อมูลที่เกิดขึ้นจริงในปี 2550 โดยใช้วิธีทั้งหมด 2 วิธีคือ การจัดการสินค้าคงคลังแบบสิ้นงวดและการจัดการสินค้าคงคลังแบบต่อเนื่อง และจำลองสถานการณ์ทั้งสองรูปแบบนี้โดยปรับเปลี่ยนความผันผวนของตัวแปรสองด้านคือ ความต้องการสินค้าเพื่อตรวจสอบความหยืดหยุ่นของรูปแบบการจัดการสินค้าคงคลังที่เหมาะสม และการปรับลงและเพิ่มนโยบายการเก็บสินค้า เพื่อศึกษาแนวทางที่เหมาะที่ใช้สำหรับการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการสินค้าคงคลังเบื้องต้น เพื่อรองรับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงได้ โดยกำหนดความผันผวนในรูปแบบต่างๆ เช่น การปรับขึ้นหรือลงจากค่านโยบาย 10% และ 20% ตามลำดับและให้มีการกระจายของความผันผวนของความต้องการสินค้าแบบสุ่ม โดยมีการกระจายแบบที่ค่าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ +/-10% และ 20% ผลการทดลองพบว่า การจัดการสินค้าคงคลังที่เหมาะสมสำหรับ 3 รายการสินค้าที่ทดลอง มีผลลัพธ์ของรูปแบบการจัดการสินค้าคงคลังที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือ การจัดการสินค้าคงคลังแบบต่อเนื่องที่ระดับการตอบสนองความต้องการลูกค้าที่ 99% และเพิ่มระดับสินค้าคงคลังที่ 20% สำหรับรายการสินค้าที่ 1 การจัดการสินค้าคงคลังแบบสิ้นงวดที่ระดับการตอบสนองความต้องการลูกค้าที่ 99% ที่ระดับคลังสินค้าระดับปกติ สำหรับรายการสินค้าที่ 2 และสำหรับรายการที่ 3 การจัดการสินค้าคงคลังแบบสิ้นงวดที่ระดับการตอบสนองความต้องการลูกค้าที่ 95% และลดระดับสินค้าคงคลังที่ 20%
Other Abstract: This research focuses on the simulation of inventory management for automotive part export business. The research uses the actual order in 2007 to forecast the volume in 2008 using time-series forecasting. The estimated volume from most accuracy forecasting method is used to design into 2 inventory management techniques which are periodic inventory method and continuous inventory method. In addition, this simulation also tests the flexibility of each inventory method by adjusting 2 factor which are adjusting demand and the changing in policy of inventory level. Researcher adjusts the value to demand factors by increasing and decreasing with the average changing level at +/-10% and 20%. Also adjust the inventory level policy by increasing and decreasing +/-10% and 20%. This simulation runs on spreadsheet program (Microsoft Excel). After the test, the results show that the most flexible inventory system for first item is continuous system with CSL 99% and increase the level of inventory 20%. The most flexible solution for second item is periodic system with CSL 99% and maintains the inventory level. The most flexible solution for last item is periodic system with CSL 95% and decrease inventory level 20%.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การจัดการด้านโลจิสติกส์ (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34609
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.109
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.109
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
krisada_op.pdf2.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.