Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34693
Title: รูปแบบธุรกิจสำหรับศูนย์รีไซเคิลชุมชนขนาดเล็ก
Other Titles: Recycle center business model for small community
Authors: กรองกาญจน์ รัตนวงษ์กิจ
Advisors: วรสัณฑ์ บูรณากาญจน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Vorasun.b@chula.ac.th
Subjects: ธุรกิจขนาดย่อม -- การจัดการ
ขยะ -- การนำกลับมาใช้ใหม่
การคัดแยกขยะ
Small business -- Management
Refuse and refuse disposal -- Recycling
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัจจุบันเมืองได้ขยายตัวมากขึ้น สังคมมีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาตามวิถีการดำรงชีวิตของมนุษย์ พฤติกรรมและวิถีชีวิตของมนุษย์ที่เปลี่ยนแปลงเป็นสาเหตุสำคัญทำให้ปริมาณของเสียเพิ่มมากขึ้น โดยเฉลี่ยแล้วประชากรจะผลิตขยะมูลฝอยเฉลี่ยต่อวันเท่ากับ 1-2 กิโลกรัม ขยะส่วนใหญ่ที่ทิ้งมีหลายประเภท เช่น ขยะ เปียก ขยะแห้ง ขยะอันตราย เป็นต้น นอกจากนี้ขยะยังมีการปนเปื้อนผสมกันอยู่ ทำให้เกิดปัญหาในการกำจัด เพื่อให้เกิดความสะดวกในการจัดเก็บขยะควรมีการกำหนดนโยบายหรือมาตรการการกำจัดขยะของท้องถิ่นให้ชัดเจน การกำจัดขยะของท้องถิ่นส่วนใหญ่ เทศบาลจะนำรถเก็บขยะออกมาเก็บขยะตามหมู่บ้าน ในช่วงเวลาที่ต่างกัน การเก็บแต่ละครั้งนั้นจะมีพนักงานประมาณ 3-4 คน ใช้เวลาเก็บประมาณ 8 ชั่วโมง ในขณะที่เก็บขยะนั้นพนักงานจะคัดแยกประเภทของขยะแต่ละชนิดออกจากกันโดยใส่ถุงดำและแยกประเภทไว้เพื่อให้ง่ายต่อการกำจัด การคัดแยกขยะดังกล่าวทำให้เกิดผลพลอยได้ที่ตามมา คือ พนักงานเก็บขยะนำขยะที่คัดแยกแล้วมาขายให้กับร้านรับซื้อของเก่า ดังนั้นพนักงานเก็บขยะมีรายได้เฉลี่ยจากการขายขยะรีไซเคิลประมาณ 400-500 บาทต่อวัน การกำจัดขยะในแต่ละวันเจ้าหน้าที่ได้วางมาตรการกำจัดขยะแต่ละพื้นที่ให้มากที่สุดเพื่อลดปัญหาของขยะแต่ละพื้นที่ให้ลดน้อยลง กำจัดปัญหาด้านด้านกลิ่นและเชื้อโรคต่างๆ ตัวแปรที่สำคัญที่ส่งผลให้ปริมาณขยะลดลง คือ ประชาชนที่อยู่ในหมู่บ้านควรให้ความสำคัญกับการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง เพื่อลดปริมาณของขยะที่เกิดขึ้น นอกจากนี้หน่วยงานของภาครัฐควรส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนคัดแยกขยะก่อนทิ้ง โดยออกมาตรการเรื่องการลดหย่อนภาษีหรือให้สิทธิพิเศษแก่ประชาชนที่แยกขยะก่อนทิ้ง หรือจัดทำแรงจูงใจด้านภาษีโดยเก็บภาษีหรือลดภาษีให้กับสินค้าอุปโภคและบริโภค ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการจัดการขยะรีไซเคิลควรมี ดังนี้ 1) โครงสร้างทางด้านการเงินและภาษีผู้บริโภค 2) กฎหมายท้องถิ่น ผู้ประกอบการ 3) สัมปทานเอกชน (ทีโออาร์) 3.1) ได้รับส่วนลดเงินคืนจากการนำผลิตภัณฑ์สินค้าที่ใช้แล้วกลับสู่ร้านขายปลีก 3.2) ร้านขายปลีกรับและแยกผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้วส่งกลับผู้ผลิต ลดงบประมาณทางด้านการขนส่ง เพราะร้านรับซื้อของเก่าส่วนใหญ่จะนำสินค้าไปส่งที่เองที่ร้าน
Other Abstract: Urban area has expanded more and more. Municipal solid waste from community also increases. One to two kilograms of waste per person per day are generated. Most waste consists of food, recyclable materials, and hazardous stuff. Moreover, contaminated recyclable waste cannot be recycled economically. Local government has responsibility to manage those wastes. Curbside collection and landfill are normally process for community in Thailand. One truck would have 3-4 staffs to collect waste within 8 hour daily. Recyclable wastes (400-500 baht per day) are separated by hand for some salable materials such as glass bottle, paper, metal, and plastics. Local government can set up waste management similar to recycle business. It is found that local regulation should 1) provide tax benefit, 2) allow private recycle business to manage some area, 3) enforce retail business to collect retail goods back to manufacture. Four local governments were evaluated. Waste could be local handicraft as OTOP. Food waste could provide bio methane, liquid and powder fertilizer. Curbside collection is also still a major issue to direct cost. Private recycle business model for local government was proposed. Waste material accounting is very important to make business possible and sustain. Remaining stock with buy and sale needs to be controlled. Recycle center planning should comply to local waste combination. For instance, if it has 80% food waste, 10% plastic waste, 4% paper waste, 2% glass bottle waste, and 4% others, local recycle center should have composting or bio gas facility with separation at first stage. Composting retaining time should be planed.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34693
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
krongkarn_ra.pdf7.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.