Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34720
Title: | อัตราการไหลกลับสู่ลำน้ำเดิมของน้ำจากพื้นที่ชลประทาน ในลุ่มน้ำชีตอนบน |
Other Titles: | Rate of return flow from irrigation area in upper CHI basin |
Authors: | หัสนัยน์ โรจนวรานนท์ |
Advisors: | จักรี จัตุฑะศรี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | น้ำชลประทาน ชลประทาน -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) โครงการชลประทานน้าพอง -- หนองหวาย |
Issue Date: | 2526 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | รีเทอร์ โฟล์ จากพื้นที่ชลประทานเป็นผลมาจากการไหลของน้ำธรรมชาติในระบบและการควบคุมการไหลของน้ำโดยมนุษย์ อัตราการไหลมีค่าเป็นไปตามค่าตัวแปรต่างๆ อาทิเช่น ตัวแปรทางด้านอุตุนิยมวิทยา สภาพพื้นที่ภูมิประเทศ สภาพดิน น้ำใต้ดิน สภาพของการระบายน้ำ พืชพรรณและวิธีจัดการชลประทาน การศึกษานี้ได้แบ่งการไหลของรีเทอร์น โฟล์ ออกเป็นการไหลบนผิวดินและการไหลใต้ผิวดิน โดยคำนวณศักยการไหลจากการทำสมดุลของปริมาณน้ำชลประทาน น้ำฝน การใช้น้ำของพืชและการสูญเสียน้ำในระบบ ปริมาณน้ำที่ไหลออกจากชั้นน้ำใต้ดินสู่ชั้นบรรยากาศ หาได้โดยอาศัยทฤษฎีการระบายน้ำในทางระบายคู่ โดยปริมาณน้ำไหลซึมลงใต้ผิวดินได้มาจากการทดลองภาคสนาม ผลรวมของน้ำทั้งสองส่วนจะเป็นปริมาณของรีเทอร์น โฟล์ ในช่วงเวลาใดๆ ผู้ศึกษาได้ใช้โครงการชลประทานน้ำพอง-หนองหวาย จังหวัดขอนแก่น ในช่วง 10 ปีแรกของการดำเนินการเป็นพื้นที่ตัวอย่างสำหรับการทำการศึกษาวิจัย และได้เปรียบเทียบผลของการศึกษาโดยวิธีดังกล่าวกับปริมาณน้ำท่าที่วัดได้จากสถานีวัดน้ำ 2 แห่ง ทางด้านท้ายน้ำ ซึ่งผลที่ได้ยังคงให้ความผันแปรค่อนข้างสูง |
Other Abstract: | The irrigation return flow was the result of natural flows in the system and flow controlled by human. The flow rate was varied by independent variables such as meteorology, land geography, soils, ground water condition, drainage characteristic, crops, and irrigation management. This study of return flow has been arranged into two portions namely surface flow and subsurface flow. The potential of flow can be determined as the balance of irrigation water, rainfall, crop consumptive uses and the system losses. The portion of subsurface flow leave the aquifer to surface was found by the paralleled drainage theory that the deep percolation water must be collected in field practices. The sum of these two portions was the irrigation return flow in anytime period. The study has been focused by applying data of the first 10 years period of operation of Nampong-Nongwai Irrigation Project, Khon Kaen province. The results of annually study compared to the river runoff data 2 downstream gaging stations were varied in wide ranges. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมโยธา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34720 |
ISBN: | 9745622044 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Hassanai_ro_front.pdf | 3.81 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Hassanai_ro_ch1.pdf | 3.64 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Hassanai_ro_ch2.pdf | 4.17 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Hassanai_ro_ch3.pdf | 10.03 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Hassanai_ro_ch4.pdf | 3.18 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Hassanai_ro_ch5.pdf | 11.88 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Hassanai_ro_ch6.pdf | 1.56 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Hassanai_ro_back.pdf | 17.27 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.