Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34790
Title: ทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีต่อศูนย์อาหาร ในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Consumers's attitude and behavior towards food centers in Bangkok metropolitan area
Authors: อดิเรก เหล่าธิติพงศ์
Advisors: เพลินทิพย์ โกเมศโสภา
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ในการทำวิทยานิพนธ์ฉบับนี้เพื่อศึกษาถึงภาวะทั่วไปทางการตลาดของธุรกิจศูนย์อาหาร โดยเฉพาะทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภค จากากรศึกษาพบว่าธุรกิจศูนย์อาหารเป็นธุรกิจที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา รูปแบบการให้บริการแบบช่วยเหลือตนเองและระบบการใช้คูปองเป็นที่คุ้นเคยของผู้บริโภค และรูปแบบการให้บริการแบบศูนย์อาหารนี้จะยังเป็นที่นิยมต่อไปในอนาคต ผลการวิจัยเพื่อทดสอบสมมติฐานพบว่า 1. ผู้บริโภคมีความเห็นว่า อาหารที่จำหน่ายในศูนย์อาหารเมื่อเปรียบเทียบกับอาหารชนิดเดียวกันที่มีจำหน่ายในร้านอาหารทั่วไปมีความอร่อยเหมือนกัน 2. ปัจจัยสำคัญที่จูงใจให้มาใช้บริการของศูนย์อาหารคือ การมีอาหารให้เลือกมาก 3. อาชีพไม่มีความสัมพันธ์กับความบ่อยครั้งของการมาใช้บริการในศูนย์อาหาร 4. รายได้ของผู้บริโภคมีความสัมพันธ์กับความบ่อยครั้งของการมาใช้บริการและผู้มีรายได้สูงมีแนวโน้มการมาใช้บริการบ่อยครั้งกว่าผู้ที่มีรายได้ต่ำ 5. ธุรกิจศูนย์อาหารจะยังขยายตัวเพิ่มขึ้นใน 2 ปีข้างหน้า แต่การขยายตัวจะอยู่ในอัตราที่ลดลง จากการศึกษาได้พบปัญหาและได้สรุปเป็นข้อเสนอแนะดังนี้ 1. ควรมีการร่วมมือระหว่างศูนย์อาหารและห้างสรรพสินค้าในด้านการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการขาย เพื่อเป็นการชักจูงลูกค้าให้มาใช้บริการร่วมกัน 2. ผู้บริโภคส่วนใหญ่ไม่เคยซื้ออาหารจากศูนย์อาหารออกไปรับประทานข้างนอก นับได้ว่าตลาดส่วนนี้ยังมีศักยภาพสูง ศูนย์อาหารควรกระตุ้นตลาดส่วนนี้เพื่อเป็นการเพิ่มความสามารถในการให้บริการ 3. ปัจจุบันธุรกิจศูนย์อาหารเริ่มเข้าสู่ขั้นอิ่มตัว ศูนย์อาหารควรกระตุ้นให้มีความถี่ในการใช้บริการเพิ่มขึ้น และเพิ่มรูปแบบในการให้บริการ 4. ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีความเห็นว่าอาหารในศูนย์อาหารมีราคาแพง ทำให้เป็นอุปสรรคต่อความบ่อยครั้งในการใช้บริการ ซึ่งศูนย์อาหารอาจจะพิจารณาลดราคาหรือเพิ่มบริการที่แตกต่างจากร้านอาหารทั่วไปเพื่อเป็นการชดเชยความแตกต่างด้านราคา 5. เนื่องจากศูนย์อาหารเป็นที่รวมของคนจำนวนมากมักตั้งอยู่บนอาคาร และมีการใช้ความร้อนจากเชื้อเพลิงในการประกอบอาหาร ดังนั้นควรจัดให้มีมาตรการป้องกันและบรรเทาในกรณีที่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นอย่างเพียงพอ
Other Abstract: The objective of this thesis is to study general market environment of food center business, especially in terms of consumer behavior and attitudes. It can be concluded that food center has gone through a series of growth during the last 2 years and its self-service style and coupon system will continue to be popular in the future. The main findings are as follows: 1. The taste of the same type of dishes sold in different stalls is no different. 2. The main facter that makes a food center attractive is wide variety of dishes offered. 3. The frequency of patronages does not have any relationship with type of profession. 4. Income has relationship with frequency of patronages. Those with higher income patronize more than lower income group. 5. In the next two years, food center will continue its growth but rate will be shower. From the analysis of primary and secondary information, the auther has the following recommendations: 1. Food center and department stores or shopping mall should corporate more in joint promotion and public relation efforts as both will receive benefits from increased patronages. 2. Most patronages normally eat inside the compound. The service should therefore be import to create regular patronages. 3. Currently, food center business is very saturated. Therefore each center must increase type of service and concentrate on strategies be increase frequency. 4. Most respondents feel that high prices prevent them from patronizing more frequency. Food center operators might consider reducing prices or improving services to maintain loyalty. 5. Due to crowded condition at food center, it is very important to bear in mind the safety measures in case of fire. Operators should also take great care in preventive.
Description: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
Degree Name: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารธุรกิจ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34790
ISBN: 9745692883
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Adirek_la_front.pdf7.37 MBAdobe PDFView/Open
Adirek_la_ch1.pdf4.31 MBAdobe PDFView/Open
Adirek_la_ch2.pdf17.36 MBAdobe PDFView/Open
Adirek_la_ch3.pdf21.21 MBAdobe PDFView/Open
Adirek_la_ch4.pdf13.07 MBAdobe PDFView/Open
Adirek_la_ch5.pdf17.58 MBAdobe PDFView/Open
Adirek_la_ch6.pdf6.66 MBAdobe PDFView/Open
Adirek_la_back.pdf19.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.