Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34830
Title: ผลของการใช้วิธีการสอนแบบมโนธรรมสำนึก ตามแนวความคิดของ เปาโล แฟร์ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง "ชีวิตครอบครัวที่มีคุณภาพ" ของเยาวชนในชุมชนแออัด
Other Titles: Effects of using Paulo Friere's concept of conscientization instruction on the learning achievement in the topic "The Family quality of Life" of youths in slums
Authors: พิมพ์ใจ ศิริสาคร
Advisors: อุ่นตา นพคุณ
ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2536
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เจตคติ และการวิพากษ์วิจารณ์ เรื่อง ชีวิตครอบครัวที่มีคุณภาพของเยาวชนในชุมชนแออัด หลังจากผ่านการสอนด้วยวิธีการสอนแบบมโนธรรมสำนึก ตามแนวความคิดของ เปาโล แฟร์ และเพื่อเปรียบเทียบผลคะแนนท้ายบทเรียน และเจตคติ เรื่อง ชีวิตครอบครัวที่มีคุณภาพระหว่างกลุ่มเยาวชนในชุมชนแออัด ซึ่งสอนด้วยวิธีการสอนแบบมโนธรรมสำนึก ตามแนวความคิดของเปาโล แฟร์ กับนักศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จ ซึ่งสอนด้วยวิธีธรรมดา ผลการวิจัย พบว่า 1. เยาวชนในชุมชนแออัดที่สอนด้วยวิธีการสอนแบบมโนธรรมสำนึก ตามแนวความคิดของ เปาโล แฟร์ มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และคะแนนเจตคติ ระหว่างก่อนและหลังการทดลองไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. เยาวชนในชุมชนแออัดที่สอนด้วยวิธีการสอนแบบมโนธรรมสำนึก ตามแนวความคิดของ เปาโล แฟร์ มีคะแนนท้ายบทเรียน และคะแนนเจตคติ หลังการทดลองแตกต่างกับนักศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จ ซึ่งสอนด้วยวิธีธรรมดา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. เยาวชนที่พ่อแม่อยู่พร้อมกันมีความถี่ของพฤติกรรมการวิพากษ์วิจารณ์มากกว่าเยาวชนที่พ่อแม่แยกทางกัน ทั้งหมด 10 เรื่อง จาก 14 เรื่อง
Other Abstract: The purposes of this research were to study the learning achievement, attitude and critical conscionsness behavior in the topic “The Family Quality of Life” of youths in slums after have studied the Paulo Friere’s concept of conscientization and to compare the learning achievement and attitude in the topic between youths in slums who were taught by Paulo Friere’s concept of conscientization and adult learners who were taught by the regular method. The findings of the research were as follows: 1. There were no significant difference (P) 0.05, t-test on the Pretest and Posttest score on the learning achievement and attitude in the topic “The Family Quality of Life” of youths in slums who were taught by using Paulo Friere’s concept conscientization. 2. The Posttest score on the learning achievement in the topic “The Family Quality of Life” between youths in slum who were taught by using Paulo Friere’s concept conscientization and adult learners who were taught by regular method were significantly different (P < 0.05, t-test). 3. There were ten cases out of fourteen cases that the frequency of critical consciousness behavior of youths with parent living together were higher than those youths from the broken home.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การศึกษานอกโรงเรียน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34830
ISBN: 9745824445
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pimchai_si_front.pdf6.32 MBAdobe PDFView/Open
Pimchai_si_ch1.pdf4.43 MBAdobe PDFView/Open
Pimchai_si_ch2.pdf27.3 MBAdobe PDFView/Open
Pimchai_si_ch3.pdf9.11 MBAdobe PDFView/Open
Pimchai_si_ch4.pdf31.89 MBAdobe PDFView/Open
Pimchai_si_ch5.pdf13.08 MBAdobe PDFView/Open
Pimchai_si_back.pdf41.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.