Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35125
Title: การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในช่วง 2 ปีแรกของโครงการโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่-ลูกในเขตเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด
Other Titles: Breastfeeding during the first 2 years of baby friendly hospital initiation project in Roi Et Municipality
Authors: ชนกพร ตันวัฒนานนท์
Advisors: ทัสสนี นุชประยูร
ทศพร วิมลเก็จ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะ 4 เดือนแรกหลังคลอดของมารดาในโครงการโรงพยาบาลสลายสัมพันธ์แม่-ลูก ในเขตเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด โดยใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์มารดาทุกคน จำนวน 586 คน ในเขตเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ทีบุตรคนสุดท้องอายุ 0-2 ปี ในระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2538 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2539 ผลการศึกษาพบว่า มารดาส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกับอาหารอื่น คิดเป็นร้อยละ 82.7 รองลงมาคือ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวและการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นอาหารหลักคิดเป็นร้อยละ 11.3 และ 2.5 ตามลำดับและมีมารดาร้อยละ 3.5 ที่ไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เลย อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียว ในปีแรกของโครงการโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่-ลูก (พ.ศ. 2537) พบร้อยละ 8 และเพิ่มขึ้นในปีที่ 2 (พ.ศ. 2538) เป็นร้อยละ 16.2 ซึ่งความแตกต่างกันนี้มีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.01) ในด้านความรู้และทัศนคติของมารดา ต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่พบว่า มารดาส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อยู่ในระดับที่ไม่ดี (ร้อยละ 55.0) แต่มีทัศนคติเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อยู่ในระดับที่สูง (ร้อยละ 88.9) การปฏิบัติงานด้านส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข พบว่าในส่วนของมารดาที่คลอดบุตรในโรงพยาบาลโครงการสายสัมพันธ์แม่-ลูกนั้น ส่วนใหญ่เจ้าหน้าที่ได้นำบุตรมาให้มารดาได้เริ่มให้บุตรดูดนมแม่ครั้งแรกหลังคลอดทันที-ครึ่งชั่วโมงคิดเป็นร้อยละ 47.9 ในส่วนของมารดาที่ไม่ได้คลอดบุตรใน โรงพยาบาลโครงการสายสัมพันธ์แม่-ลูกส่วนใหญ่เจ้าหน้าที่ได้นำบุตรมาให้มารดาเริ่มให้บุตรดูดนมแม่ครั้งแรกหลังจากคลอดนานกว่า 6 ชั่วโมง (ร้อยละ 62.5) ในด้านการรับรู้ชื่อโครงการฯ พบว่ามารดาส่วนใหญ่ (ร้อยละ 61.1) เคยรับรู้ชื่อโครงการฯ โดยในจำนวนนี้ร้อยละ 70.1 รับรู้ชื่อโครงการฯ จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขด้านการติดตามเยี่ยมหลังคลอดที่บ้าน พบว่า ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 70.1) ได้รับการเยี่ยมหลังคลอดที่บ้านโดยร้อยละ 97.3 นั้น ได้รับความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากที่สุดเกี่ยวกับความรู้และทัศนคติของมารดาต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ระหว่างมารดาที่คลอดบุตรในโรงพยาบาลโครงการฯ กับมารดาที่ไม่ได้คลอดบุตรในโรงพยาบาลโครงการฯ พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001) ด้านพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ระหว่างมาดาที่คลอดบุตรในโรงพยาบาลโครงการฯ กับมารดาที่ไม่ได้คลอดบุตรในโรงพยาบาลโครงการฯ พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.01) นอกจากนี้ยังพบว่าภาวะ การเจ็บป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงและโรคระบบทางเดินหายใจชองบุตรในระยะ 4 เดือนแรกหลังคลอดกับพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดานั้นมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001) ด้านความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดา พบว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05)
Other Abstract: The Baby Friendly Hospital Initiate Project has been set up in Roi et since 1 October 1993. The objective of project was to support exclusive breastfeeding behavior of mothers for at least 4 months after delivery. Therefore the survey was carried out during November 1995 to January 1996 by interviewing all 586 mothers in Roi Et Municipality who had their last babies during the first 2 years of the project. The aim of the study was to determine the rate of the exclusive breastfeeding babies in the first 4 months of life during the first 2 year of the project, and also to study the factors influencing the breastfeeding behavior of the mothers. The result of the study revealed that most of the mothers (82.7%) were in the group of supplementary breastfeeding, followed by the exclusive breastfeeding (11.3%) and predominant breastfeeding (2.5%). Surprisingly, 3.5% of these mothers did not nurse their babies. The exclusive breastfeeding was increasing from 8% in the first year of the Baby Friendly Hospital Initiate Project to 16.2% in the second year, This difference was statistically significant (P<0.01). 47.9% of the babies born in the hospital of the Baby Friendly Hospital Initiate Project were brought to this mothers for breast-feeding within half an hour after delivery while those born out-side, (62.5%) were brought to their mothers for breastfeeding 6 hours or more after delivery. The study showed a statistical significance difference (P<0.001) in knowledge and attitude regarding breastfeeding between mothers who delivered and did not deliver babies in the hospital of the project. There was asso a difference in both the illness of diarrhea and respiratory tract infection in infants during the first 4 months of life among the various behavior of mothers on breastfeeding with statistical significance (p<0.001). The study also showed the association in knowledge, attitude regarding breastfeeding and the mothers’ behavior on breastfeeding with statistical significance (P<0.05).
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เวชศาสตร์ชุมชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35125
ISBN: 9746338927
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chanokporn_tu_front.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open
Chanokporn_tu_ch1.pdf998.39 kBAdobe PDFView/Open
Chanokporn_tu_ch2.pdf2.75 MBAdobe PDFView/Open
Chanokporn_tu_ch3.pdf614.78 kBAdobe PDFView/Open
Chanokporn_tu_ch4.pdf2.96 MBAdobe PDFView/Open
Chanokporn_tu_ch5.pdf1.73 MBAdobe PDFView/Open
Chanokporn_tu_back.pdf1.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.