Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35685
Title: การพัฒนามาตรวัดความสุขในการเรียนสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
Other Titles: A development of learning happiness scales for high school students
Authors: สำราญ สิริภคมงคล
Advisors: ศิริเดช สุชีวะ
โชติกา ภาษีผล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: ssiridej@chula.ac.th
aimornj@hotmail.com
Subjects: ความสุข
จิตวิทยาการศึกษา
จิตวิทยาโรงเรียน
Happiness
Educational psychology
School psychology
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนามาตรวัดความสุขในการเรียนสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบและพัฒนาตัวชี้วัดความสุขในการเรียนสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อพัฒนามาตรวัดความสุขสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย 3) เพื่อตรวจสอบคุณภาพของมาตรวัดความสุขในการเรียนสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายด้านความเที่ยง และความตรง และ 4) เพื่อสร้างค่าปกติวิสัยของความสุขในการเรียนสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ของประเทศไทย จำแนกตามเพศ (เพศชาย, หญิง) และแผนการเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 2,400 คน ได้มาจากการสุ่มแบบ 3 ขั้นตอน (Three-stage random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือมาตรวัดความสุขในการเรียนสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS for Window, โปรแกรม MULTILOGโปรแกรม SIBTEST และโปรแกรม Microsoft Office Excel ผลการวิจัยพบว่า 1. มาตรวัดความสุขในการเรียนสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ประกอบด้วยโครงสร้าง 4องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบด้านคุณภาพในการสอนของครู องค์ประกอบด้านความสามารถแสดงออกทางอารมณ์ของครู องค์ประกอบด้านโรงเรียนสนับสนุนการเรียนการสอน และองค์ประกอบด้านการเรียนการสอนที่มีความสุข 2. มาตรวัดความสุขในการเรียนประกอบด้วยจำนวน 31 ตัวชี้วัด 31 ข้อคำถาม มีค่า IOC ระหว่าง 0.8 -1.0 ค่าความเที่ยง ทั้งฉบับเท่ากับ 0.959 3. ผลการตรวจสอบคุณภาพของมาตรวัดด้วยโมเดล IRT พบว่ามีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 1.27 ถึง 2.23 ค่า Threshold ระหว่าง -2.22 ถึง +2.36 4. ผลวิเคราะห์การทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบระหว่างเพศ พบว่ามีจำนวน 9 ข้อคำถามที่ทำหน้าที่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) คิดเป็นร้อยละ 26.47 5. ค่าปกติวิสัยของความสุขในการเรียนสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ของประเทศไทย จำแนกตามเพศ (เพศชาย, หญิง) และแผนการเรียน พบว่ามีระดับความสุข T[subscript 77.50] – T[subscript 116.00] (P[subscript 50.00] – P[subscript 74.99])
Other Abstract: The purpose of this study was to develop the learning happiness scales for high school students. There were four objectives as follow: 1) to develop indicators and factors of learning happiness for high school students. 2) to develop the learning happiness scale for high school students. 3) to conduct learning happiness scales analysis and exploratory factor analysis were applied in order to determine construct validity and validity of the scale. 4) to construct the norm of learning happiness. The sample were 2,400 high school students from school under the jurisdiction of the Office of the Basic Education Commission. The instrument for data collection was learning happiness scale. The data were analyzed by the SPSS for windows, MULTILOG, SIBTEST and the Microsoft Office Excel. The findings were as follows. 1) The learning happiness scale had four dimensions: quality of teaching; the emotion expression; school’s teaching support and happy learning and instrument which factors loading score were among 0.487-0.749. 2) The learning happiness scale consisted of 31 indicators and 31 items which had IOC between 0.8 -1.0 and alpha coefficient = 0.959. 3) The analysis with IRT showed that item difficulty were 1.27 to 2.23 and item discrimination were -2.22 to +2.36 4) The result of Difference Item Function analysis revealed the DIF in sex (p<0.05) for 9 items. 5) The norm for male and female, most high student had score on learning happiness scale between T[subscript 77.50] – T[subscript 116.00] and (P[subscript 50.00] – P[subscript 74.99]).
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การวัดและประเมินผลการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35685
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.605
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.605
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
samran_si.pdf4.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.