Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35911
Title: วิธีการประเมินสำหรับลดแรงกดอัดของหลังส่วนล่างในงานบรรจุผลิตภัณฑ์แผงบันไดข้างและสปอยเลอร์หลัง
Other Titles: Evaluation method for reduction of compressive force at lower back in packing of mudguard set center and air spoiler assembly
Authors: กาญจนา หลวงโปธา
Advisors: ไพโรจน์ ลดาวิจิตรกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: phairoat@hotmial.com
Subjects: ลูกจ้าง -- สุขภาพและอนามัย
อาชีวอนามัย
ความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม
ปวดหลัง
Employees -- Wounds and injuries
Industrial hygiene
Industrial safety
Backache
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาภาระงานสำหรับงานบรรจุผลิตภัณฑ์แผงบันไดข้างและสปอยเลอร์หลังเพื่อการส่งออก มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อประเมินภาระงานและการลดแรงกดอัดของหลังส่วนล่าง โดยหาผลกระทบของความสูงโต๊ะปฏิบัติงาน และความสูงของจุดวางกล่องสำหรับใส่ชิ้นงาน ใช้แนวทางชีวกลศาสตร์ภาวะสถิตซึ่งจะศึกษาการทำงานในแนวระนาบหน้า-หลัง (Sagittal Plane) กับผู้ถูกวิจัยเพศหญิงจำนวน 2 คนที่ปฏิบัติหน้าที่บรรจุชิ้นงานเพื่อส่งออกมีระดับปัจจัยที่ศึกษาคือระดับความสูงโต๊ะ 86, 92.5 และ 95 ซม. และระดับความสูงของจุดวางกล่องสำหรับใส่ชิ้นงาน 0, 50 และ 100 ซม. ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยระดับความสูงโต๊ะและปัจจัยระดับความสูงของจุดวางกล่องสำหรับใส่ชิ้นงานมีผลต่อค่าแรงกดอัดเฉลี่ยที่เกิดขึ้นบริเวณหลังส่วนล่าง โดยปัจจัยระดับความสูงของจุดวางกล่องสำหรับใส่ชิ้นงานมีผลต่อค่าแรงกดอัดมากกว่าปัจจัยระดับความสูงโต๊ะ สำหรับปัจจัยร่วมระหว่างระดับความสูงโต๊ะและระดับความสูงของจุดวางกล่องสำหรับใส่ชิ้นงานนั้นก็มีผลต่อค่าแรงกดอัดเฉลี่ยที่เกิดขึ้นบริเวณหลังเช่นกัน การพิจารณาว่าแรงกดอัดสูงสุดที่เกิดขึ้นพบว่าที่ระดับปัจจัยเดิมนั้นค่าแรงกดอัดสูงสุดคิดเป็น 44% ของกำลังสถิตของกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ซึ่งเกินระดับความปลอดภัยที่ NIOH แนะนำไว้ เมื่อปรับระดับความสูงโต๊ะที่ 95 ซม. ระดับความสูงของจุดวางกล่องใส่ชิ้นงานเป็น 100 ซม. ค่าแรงกดอัดสูงสุดคิดเป็น 26% ของกำลังสถิตของกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ซึ่งต่ำกว่าระดับความปลอดภัยที่ NIOH แนะนำไว้ เพื่อเป็นการกำหนดภาระงานสูงสุดที่ยอมรับได้สำหรับภาระงานบรรจุชิ้นงานในการทำวิจัยครั้งนี้ ระดับความสูงโต๊และระดับความสูงของจุดวางกล่องใส่ชิ้นงานที่ให้ค่าแรงกดอัดสูงสุดที่บริเวณหลังส่วนล่างมีค่าต่ำที่สุดคือ 95 และ 100 ซม.
Other Abstract: This thesis mainly was to find workload and reduce compressive force at lower back for packing process by using a biomechanical approach in static model. The 2 female employees were tested in Saggital Plane. In this experiment, the factors studied were the height of table 86, 92.5 and 95 cm and the height of box placement 0, 50 and 100 cm. The results show that the height of box placement and the height of table have a significant impact on the compressive force at lower back. For the interaction of 2 factors, impact on the compressive force at lower back too. Calculating maximum pressure from old factor, maximum pressure is 44% of muscle static which more than recommended valued of NIOH. But if change factor such as table level to 95 cm., the height of box will be 100 cm. and maximum pressure reduce 26% which lower than recommended valued of NIOH. To create maximum acceptance allowance load of job in this thesis, level of table and box height will be 95 cm. and 100 cm. to get lowest maximum compressive force at lower back.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35911
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kanjana_lu.pdf2.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.