Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35926
Title: | การพัฒนาความรู้ความเข้าใจเรื่องการลอกเลียนวรรณกรรมของนักศึกษาระดับปริญญาตรีบนพื้นฐานผลการวิจัยสำรวจและการวิเคราะห์เอกสาร |
Other Titles: | Development of plagiarism understanding of undergraduate students based on survey research and documentary analysis results |
Authors: | วิไลวรรณ ศรีสงคราม |
Advisors: | อวยพร เรืองตระกูล สุวิมล ว่องวาณิช |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Auyporn.R@chula.ac.th wsuwimon@chula.ac.th |
Subjects: | การลอกเลียนวรรณกรรม -- การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา) Plagiarism -- Study and teaching (Higher) |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์ระดับความรู้ความเข้าใจจำแนกตามประเภทของการลอกเลียนวรรณกรรมของนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยที่มีภูมิหลังต่างกัน (2) พัฒนาโปรแกรมการพัฒนาความรู้ความเข้าใจเรื่องการลอกเลียนวรรณกรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัย และ (3) ตรวจสอบผลการพัฒนาความรู้ความเข้าใจเรื่องการลอกเลียนวรรณกรรมจากโปรแกรมที่ได้พัฒนาขึ้น การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงสำรวจความรู้ความเข้าใจจำแนกตามประเภทของการลอกเลียนวรรณกรรม โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอกของมหาวิทยาลัยรัฐบาลและเอกชน จำนวน 611 คน และการวิจัยเอกสารเพื่อวิเคราะห์ประเภทของการลอกเลียนวรรณกรรมจากวิทยานิพนธ์ที่เป็นวิทยานิพนธ์ของคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจำนวน 110 เล่ม ระยะที่ 2 เป็นการพัฒนาโปรแกรมการพัฒนาความรู้ความเข้าใจเรื่องการลอกเลียนวรรณกรรม และระยะที่ 3 เป็นการวิจัยกึ่งทดลองเพื่อศึกษาผลของการพัฒนาความรู้ความเข้าใจเรื่องการลอกเลียนวรรณกรรมจากโปรแกรมที่ได้พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 2 ห้องเรียน รวมทั้งหมด 37 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติภาคบรรยาย การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสามทาง (three – way ANOVA) การวิเคราะห์ค่าที (t – test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (ANCOVA) ด้วยโปรแกรม SPSS for ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) ประเภทของมหาวิทยาลัย ระดับการศึกษา และสาขาวิชาที่ต่างกันจะมีผลต่อความรู้ความเข้าใจเรื่องการลอกเลียนวรรณกรรมแตกต่างกัน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านโดยรวม ด้านบางส่วน และด้านความคิด 2) ประเภทของมหาวิทยาลัยและระดับการศึกษาที่ต่างกันจะมีผลต่อความรู้ความเข้าใจเรื่องการลอกเลียนวรรณกรรมแตกต่างกันในด้านทั้งหมด ด้านการอ้างอิงที่ไม่ถูกต้อง และด้านการลอกเลียนของตนเอง 3) ประเภทของมหาวิทยาลัยและสาขาวิชาที่ต่างกันจะมีผลต่อความรู้ความเข้าใจเรื่องการลอกเลียนวรรณกรรมแตกต่างกันในด้านการอ้างอิงที่ไม่ถูกต้อง และ 4) ระดับการศึกษาและสาขาวิชาที่ต่างกันจะมีผลต่อความรู้ความเข้าใจเรื่องการลอกเลียนวรรณกรรมแตกต่างกันในด้านทั้งหมด การถอดความอย่างไม่เหมาะสม การอ้างอิงที่ไม่ถูกต้อง และการลอกเลียนของตนเอง ส่วนการวิเคราะห์วิทยานิพนธ์พบว่า ระดับการศึกษา ปีที่สำเร็จการศึกษา และภาควิชาที่ต่างกันมีผลต่อประเภทของการลอกเลียนวรรณกรรมแตกต่างกันในด้านโดยรวม และด้านบางส่วน รวมทั้งนักศึกษากลุ่มที่ได้รับการสอนด้วยโปรแกรมมีคะแนนความรู้ความเข้าใจเรื่องการลอกเลียนวรรณกรรมโดยรวม และรายด้านสูงกว่านักศึกษากลุ่มที่ได้รับการสอนปกติ แต่มีอัตราการลอกเลียนวรรณกรรมต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติWindows |
Other Abstract: | This research aimed: (1) to analyze the levels of plagiarism understanding separated by types of plagiarism of university students who had different backgrounds. (2) to develop program for developing plagiarism understanding of university students and (3) to investigate the results of developed plagiarism understanding from developed program. The research was divided into 3 phases: the first phrase was survey research of plagiarism understanding separated by types of plagiarism of university students. The sample were 611 bachelor, master, and doctoral students of government and private universities and the documentary research for analyzing types of plagiarism from 110 theses of Faculty of Education, Chulalongkorn University. The second phase was the development of plagiarism understanding program and the third phase was semi – experimental research for studying the results of plagiarism understanding from developed program. Sample in this phase were 37 persons from 2 rooms of second year, technology and educational communication major, Faculty of Technical Education, bachelor degree, Rajamangala University of Technology Thanyaburi. Data analysis included descriptive statistics, three – way ANOVA, t – test and ANCOVA using SPSS for Windows. The findings could be analyzed as follows: 1) The difference of types of university, educational levels and fields of study affected to three aspects of plagiarism understanding on total plagiarism understanding, in partial plagiarism and plagiarism of idea. 2) The difference of types of university and educational levels affected to plagiarism understanding on total plagiarism, citation plagiarism and self plagiarism, whereas the difference of types of university and fields of study were found on the difference of plagiarism on citation plagiarism. Furthermore, the difference of educational levels and fields of study were found on the difference of plagiarism understanding on total plagiarism, paraphrasing plagiarism, citation plagiarism and self plagiarism. In theses analyzes, there were the difference among levels of education, graduate year and department on the difference of types of plagiarism understanding on total plagiarism and partial plagiarism. Additionally, students who received teaching by program had significantly higher scores in total and each aspect of plagiarism understanding, but lower scores in ratio of plagiarism than students who received traditional teaching method. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35926 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.650 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.650 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
wilaiwan_sr.pdf | 3.67 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.