Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35950
Title: วิเคราะห์เดี่ยวขลุ่ยเพียงออเพลงกราวใน ทางครูจำเนียร ศรีไทยพันธุ์
Other Titles: A musical analysis of Khlui-Pieng-Or solo : a case study of Krujumniean Srithaipan’s Krawnai
Authors: วรพจน์ มานะสมปอง
Advisors: บุษกร สำโรงทอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Bussakorn.S@Chula.ac.th
Subjects: จำเนียร ศรีไทยพันธุ์, 2463-2540
เพลงกราวใน
ขลุ่ย
เพลงไทยเดิม
Jumniean Srithaipan, 2463-2540
Flute music -- Thailand
Songs, Thai
Pleng-Grauw-Nai
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิเคราะห์เดี่ยวขลุ่ยเพียงออเพลงกราวใน ทางครูจำเนียร ศรีไทยพันธุ์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาวิเคราะห์ความเป็นมาของเพลงกราวใน โครงสร้างทำนองหลักเพลงกราวใน อัตราจังหวะสองชั้น ซึ่งเป็นต้นแบบสำหรับการประดิษฐ์ทางเดี่ยว วิธีการดำเนินทำนองและการใช้กลวิธีพิเศษต่าง ๆ ของเดี่ยวขลุ่ยเพียงออเพลงกราวใน ซึ่งถือว่าเป็นเพลงเดี่ยวขั้นสูง และประวัติชีวิตครูจำเนียร ศรีไทยพันธุ์ ผู้ประพันธ์เดี่ยวขลุ่ยเพียงออเพลงกราวใน การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้วิเคราะห์องค์ประกอบทั้งทำนองหลักเพลงกราวใน อัตราจังหวะสองชั้น และเพลงกราวในทางเดี่ยวขลุ่ยเพียงออ ซึ่งประกอบด้วย วิธีการดำเนินทำนอง การใช้กลวิธีพิเศษในการเดี่ยว ระดับเสียง จังหวะ และการเคลื่อนที่ของท่วงทำนอง ประกอบกับข้อมูลจากการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์ ครู-อาจารย์ ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญทางด้านดนตรีไทย ผลการศึกษาวิจัย พบว่า จำนวนลูกโยนในทำนองหลักและทำนองทางเดี่ยวนั้น มีไม่เท่ากัน กล่าวคือ ในทำนองหลักมีกลุ่มเสียงลูกโยน 10 กลุ่ม แต่ในทำนองทางเดี่ยวมีกลุ่มเสียงลูกโยน 8 กลุ่ม และความยาวจังหวะหน้าทับของทำนองหลักกับทำนองทางเดี่ยว มีความยาวที่ไม่เท่ากัน แต่ในเนื้อทำนองแท้ของเพลงมีความยาวจังหวะหน้าทับที่เท่ากัน นอกจากนี้ ในเรื่องของระดับเสียงพบว่ามีการใช้ระดับเสียงอยู่ 3 ระดับเสียง คือ ระดับเสียงเพียงออบน ระดับเสียงเพียงออล่าง และระดับเสียงนอก ลักษณะของการบรรเลงเดี่ยวเพลงกราวในนี้ พบว่า มีการดำเนินทำนองแบบเก็บ แบบลอยจังหวะ และมีการใช้กลวิธีพิเศษต่าง ๆ เช่นการปริบเสียง การสะบัด เป็นต้น เพื่อทำให้การดำเนินทำนองเกิดความไพเราะและหลากหลาย เดี่ยวขลุ่ยเพียงออเพลงกราวใน ทางครูจำเนียร ศรีไทยพันธุ์ จึงเป็นเพลงเดี่ยวขั้นสูง ที่มีความไพเราะและมีความวิจิตรพิสดารเป็นอย่างยิ่ง
Other Abstract: The study of the musical analysis of KHLUI-PIENG-OR : a case study of KRUJUMNIEAN SRITHAIPAN is firstly aimed to study the history of PLENG-GRAUW-NAI, the melody structure and simple duple time. This melody was the model for melody regulation and specific method of KHLUI solo which is an advanced solo piece and authorize music And the second object is aimed to study biography of KRUJUMNIEAN SRITHAIPAN, the author of PLENG-GRAUW-NAI This study, the researcher had analyzed both main melody, double beats, and PLENG-GRAUW-NAI solo by KHLUI-PIENG-OR. It was included with melodic movement, the specific method of KHLUI solo, tone, rhythm, and melodic motion. And the researcher had studied throughout documentary studies and interview many professionals in Thai music. The result of the study found that the number of LOOK-YON in the main melody was not equal with the solo one. There were 10 groups of LOOK-YON in the main melody but there were only 8 in the solo. More over the length of the beat NA-TAB of the main melody and the solo was not equal with each other. In addition, in the case of scale it was found that there were 3 scale ; PIENG-OR-BON, PIENG-OR-LANG and SIENG-NOK. The solo playing of PLENG-GRAUW-NAI was found that there were the full melody, none-zhythmic style and specific method used for promote the song for aesthetic taste such as PRIB, SA-BUD etc. The PLENG-GRAUW-NAI by KHLUI-PIENG-OR in KRUJUMNIEAN SRITHAIPAN’S style advanced is the most and marvelous musical solo piece.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ดุริยางค์ไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35950
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1305
ISBN: 9741439245
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.1305
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Worrapoj_ma.pdf2.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.