Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36205
Title: ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจเรือบรรทุกสินค้าแห้งเทกอง
Other Titles: Factors affecting the success of dry bulk shipping
Authors: มณฑาทิพย์ ทรัพย์มีกลิ่น
Advisors: กมลชนก สุทธิวาทนฤพุฒิ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: kamonchanok.s@chula.ac.th
Subjects: การขนส่งทางน้ำ
การขนส่งสินค้า
การวิเคราะห์การถดถอย
ค่าระวาง
Shipping
Shipment of goods
Bulk carrier cargo ships
Regression analysis
Freight and freightage
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาหาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจเรือบรรทุกสินค้าแห้งเทกอง โดยกำหนดเลือกบริษัทที่ให้บริการบรรทุกสินค้าทั่วไปและสินค้าแห้งเทกองรายหนึ่งของประเทศไทย เพื่อเป็นกรณีศึกษา การดำเนินงานวิจัยใช้การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ (Multiple regression analysis) ในการหาความสัมพันธ์ กำหนดอัตราค่าระวางเฉลี่ย (TCE; Time charter equivalent rate) เป็นตัวแปรตาม และตัวแปรอิสระที่คาดว่ามีผลต่ออัตราค่าระวางเฉลี่ยทั้งสิน 8 ตัวแปร ได้แก่ ระวางบรรทุกรวมของกองเรือ จำนวนเรือที่ให้บริการแบบประจำเส้นทาง จำนวนเรือที่ให้บริการแบบไม่ประจำเส้นทางชนิดเซ็นสัญญาล่วงหน้า จำนวนเรือที่ให้บริการแบบไม่ประจำเส้นทางชนิดเหมาลำรายเที่ยว จำนวนเรือที่ให้บริการแบบไม่ประจำเส้นทางชนิดให้เช่าเหมาลำเป็นระยะยาว ราคาน้ำมันดิบ จำนวนวันที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากกองเรือ ดัชนีอัตราค่าระวางเรือบอลติค โดยนำมาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์กับอัตราค่าระวางเฉลี่ย ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อัตราค่าระวางเฉลี่ย (TCE; Time charter equivalent rate) มีทั้งสิน 5 ปัจจัย ได้แก่ ระวางบรรทุกรวมของกองเรือ จำนวนเรือที่ให้บริการแบบไม่ประจำเส้นทางชนิดเซ็นสัญญาล่วงหน้า จำนวนเรือที่ให้บริการแบบไม่ประจำเส้นทางชนิดเหมาลำรายเที่ยว จำนวนวันที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากกองเรือ ดัชนีค่าระวางเรือบอลติค โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกับอัตราค่าระวางเฉลี่ย ได้แก่ ระวางบรรทุกรวมของกองเรือ จำนวนเรือที่ให้บริการแบบไม่ประจำเส้นทางชนิดเหมาลำรายเที่ยว ดัชนีค่าระวางเรือบอลติค สำหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงข้ามกับอัตราค่าระวางเฉลี่ยได้แก่ จำนวนเรือที่ให้บริการแบบไม่ประจำเส้นทางชนิดเซ็นสัญญาล่วงหน้า และจำนวนวันที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากกองเรือ
Other Abstract: To study the factors affecting the success of dry bulk shipping. The data collected from dry bulk shipping services company in Thailand. To implement the study, multiple regression analysis is applied to identify the relationship between the dependable variable, time charter equivalent rate (TCE) and 8 independent variables, summary of deadweight tones, Number of vessel that service under liner services, number of vessel that service under contract of affreigtment, number of vessel that service under voyage charter, number of vessel that service under time charter, price of crude oils, off hire day and ballast days and Baltic dry index at significant level of 0.05. The findings suggest that 5 variables have certain degree of correlation with time charter equivalent rate (TCE). Based on multiple regression analysis, summary deadweight tones, number of vessel that service under contract of affreigtment, number of vessel that service under voyage charter, off hire day and ballast days and Baltic dry index. The factors that have relationships in line with time charter equivalent rate are summary deadweight tones, number of vessel that service under voyage charter and Baltic dry index. The factors that correlated to the opposite direction are number of vessel that service under contract of affreigtment and off hire day and ballast days.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การจัดการด้านโลจิสติกส์ (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36205
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.370
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.370
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
montatip_su.pdf1.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.