Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36342
Title: | การวางแผนการตอบสนองความเสี่ยงโดยใช้การประกันภัยก่อสร้าง |
Other Titles: | Risk response planning by using construction insurance |
Authors: | วินิจ ร่วมพงษ์พัฒนะ |
Advisors: | วีระศักดิ์ ลิขิตเรืองศิลป์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | fcevlk@eng.chula.ac.th |
Subjects: | อุตสาหกรรมการก่อสร้าง -- ประกันภัย อุตสาหกรรมการก่อสร้าง -- การบริหารความเสี่ยง อุตสาหกรรมการก่อสร้าง -- การประเมินความเสี่ยง Construction industry -- Insurance Construction industry -- Risk management Construction industry -- Risk assessment |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การประกันภัยก่อสร้างเป็นรูปแบบหนึ่งของการตอบสนองความเสี่ยงในลักษณะการถ่ายโอนความเสี่ยง สัญญาประกันภัยหรือที่เรียกกันว่า “กรมธรรม์ประกันภัย” มีรูปแบบเฉพาะตัว มีความสลับซับซ้อนและรายละเอียดค่อนข้างมาก รวมทั้งมักถูกละเลยโดยวิศวกรโยธาซึ่งบริหารจัดการโครงการ โดยทั่วไป ข้อกำหนดต่าง ๆ ในสัญญาประกันภัยมักจะถูกกำหนดโดยบริษัทประกันภัยหรือนายหน้าประกันภัยซึ่งอาจไม่มีความรู้ความเข้าใจในงานก่อสร้างอย่างแท้จริง การละเลยหรือความไม่เข้าใจข้อสัญญาในกรมธรรม์อาจทำให้การประกันภัยไม่ครอบคลุมความเสี่ยงต่างๆ ในงานก่อสร้างซึ่งผู้ว่าจ้างหรือผู้รับจ้างก่อสร้างประสงค์ รวมทั้งอาจก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ระหว่างการบริหารสัญญา เช่น ไม่สามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นกับโครงการได้ งานวิจัยนี้ศึกษาประเด็นสำคัญต่าง ๆ ในการตอบสนองความเสี่ยงงานก่อสร้างโดยใช้การประกันภัย งานวิจัยเริ่มจากการรวบรวม วิเคราะห์ และสรุปรายละเอียดขั้นตอนต่าง ๆ ในการจัดทำประกันภัยก่อสร้าง สำหรับการจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับสัญญาประกันภัยก่อสร้าง ผู้วิจัยได้ทำการระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำและบริหารสัญญาประกันภัยก่อสร้างได้ทั้งสิ้น 29 ปัจจัย ซึ่งจำแนกออกได้เป็น 4 กลุ่ม ในการวิเคราะห์ดังกล่าว ผู้วิจัยอาศัยเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 44 ท่าน จาก 22 องค์กรธุรกิจก่อสร้างที่มีประสบการณ์ในการจัดทำและบริหารสัญญาประกันภัยก่อสร้างในประเทศไทย ส่วนสุดท้ายของงานวิจัยได้นำเสนอรายละเอียดของกรมธรรม์ประกันภัยก่อสร้างที่ใช้จริงในอุตสาหกรรมก่อสร้างของไทย นอกจากนั้นงานวิจัยได้สรุปประเด็นสำคัญและข้อพิจารณาต่าง ๆ ที่ผู้ทำประกันภัยพึงตระหนักในระหว่างการจัดทำและบริหารสัญญาประกันภัย ผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างก่อสร้างสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยนี้ไปใช้พัฒนาแนวทางการจัดทำและบริหารสัญญาประกันภัยก่อสร้างสำหรับโครงการต่าง ๆ ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดต่อไป |
Other Abstract: | The construction insurance is a method of risk response in the form of risk transfer. Construction insurance contracts (or insurance policies) have unique, complex, and elaborate provisions. Besides, they are often overlooked by civil engineers who manage construction projects. In general, terms and conditions in this type of contract are drafted by the insurance company or the insurance broker that might not completely understand construction works. This may lead to an insurance policy that is not as desired by the project owner or the contractor. Additionally, it may also cause various problems concerning contract administration such as the claim rejected by the insurer. This thesis investigates important issues in risk response by using construction insurances. It began with analyzing and summarizing detailed steps of construction insurance acquisition process. For risk management in construction insurance policy, 29 risk factors in construction insurance acquisition and management were identified and classified into four categories. This analysis was based on literature review and interviews with 44 experts from 22 construction firms, who have experience in insurance acquisition and management in Thailand. This thesis delineates details of important provisions of construction insurance policies. Finally, this thesis summarizes important issues and considerations which all parties should realize during construction insurance acquisition and management. Construction project owners and contractors can apply the findings from this thesis to prepare and administer their construction insurance contracts appropriately with the maximum efficacy. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมโยธา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36342 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.242 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.242 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Winij_ru.pdf | 4.63 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.