Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36571
Title: | การศึกษาการดำเนินงานวิชาการของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา ที่มีความเป็นเลิศทางด้านวิชาการ ในโครงการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพผู้เรียน ของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ |
Other Titles: | A study of the operation of academic tasks of secondary schools with academic excellent under the Basic Education Quality Project of Educational Testing Center |
Authors: | สาโรจน์ เทียนใส |
Advisors: | บุญมี เณรยอด |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Boonmee.N@Chula.ac.th |
Subjects: | สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ การบริหารงานวิชาการ โรงเรียนมัธยมศึกษา ประกันคุณภาพการศึกษา National Institute of Educational Testing Service (Thailand) Academic administration High schools Educational quality assurance School management and organization |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาการดำเนินงานวิชาการของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา ที่มีความเป็นเลิศทางด้านวิชาการ ในโครงการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพผู้เรียน ของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ หัวกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 5 กลุ่มสาระ ประกอบด้วย กลุ่มสาระภาษาไทย กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระสังคมศึกษา กลุ่มสาระภาษาอังกฤษ กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยนี้คือ ครูผู้สอนทั้ง 5 กลุ่มสาระประกอบด้วย กลุ่มสาระ ภาษาไทย กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระสังคมศึกษา กลุ่มสาระภาษาอังกฤษ ซึ่งสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม (Check list) วิเคราะห์ข้อมูลโดยแจกแจงความถี่และหาค่าร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหาแล้วนำเสนอใน ลักษณะความเรียงและตารางประกอบคำบรรยาย ผลการวิจัยพบว่า 1. งานด้านหลักสูตรและการบริหารหลักสูตร โรงเรียนได้มีการจัดการเตรียมบุคลากร การจัดครูเข้าสอน การจัดตารางสอน การจัดบริการ วัสดุหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอน การนิเทศติดตามและประเมินผลการใช้หลักสูตร การประชาสัมพันธ์หลักสูตรแก่ผู้ปกครองและชุมชม ผู้บริหารโรงเรียนมีการสนับสนุนให้ครูและบุคลากรภายในโรงเรียนได้รับความรู้ และความสามารถจัดทำหลักสูตรของสถานศึกษา จัดให้มีการนิเทศภายในเพื่อ นิเทศ กำกับ ติดตามการใช้หลักสูตร และเป็นผู้นำในการจัดการทำหลักสูตรโดยร่วมประสานกับบุคลากรทุกฝ่าย โดยผู้ที่มีส่วนร่วมในการนำหลักสูตรไปใช้ ประกอบด้วย รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ หัวหน้ากลุ่มสาระ และผู้อำนวยการโรงเรียน ปัญหาที่ประสบ ได้แก่ จัดหาครูในแต่ละวิชาได้ไม่เพียงพอ ขาดการนิเทศและติดตามผลการใช้หลักสูตรอย่างสม่ำเสมอ 2. งานด้านการจัดการเรียนการสอน โรงเรียนได้มีการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร การใช้สื่อการเรียนการสอน การจัดสอนซ่อมเสริม โดยผู้ที่มีส่วนร่วม ประกอบด้วย ครูผู้สอน หัวหน้ากลุ่มสาระ รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ ปัญหาที่ประสบ ได้แก่ จำนวนผู้เรียนมีมากจนเกินไป สื่อ และอุปกรณ์มีจำนวนที่ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน ผู้เรียนมีชั่วโมงเรียนมากเกินไปไม่มีเวลาเข้ารับการสอนซ่อมเสริม 3. งานด้านการนิเทศภายใน โรงเรียนได้มีระบบการนิเทศภายใน ผู้บริหารให้การสนับสนุนด้านอุปกรณ์งบประมาณ ขวัญกำลังใจในการดำเนินโครงการ ติดตามและประเมินผลการจัดการนิเทศภายในโรงเรียน และส่งเสริมให้ครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศภายในโรงเรียนอย่างแท้จริง โดยผู้ที่มีส่วนร่วม ประกอบด้วย รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ คณะกรรมการนิเทศในสถานศึกษา และครูวิชาการ ปัญหาที่ประสบ ได้แก่ ขาดผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการจัดการนิเทศภายในโรงเรียน ขาดความร่วมมือจากบุคลากรภายในโรงเรียนในการนิเทศภายในโรงเรียน 4. งานด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียนการศึกษา โรงเรียนจัดให้มีแนวทางการวัดผลและประเมินผล การวัดผลและประเมินผลการ เรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 ผู้บริหารโรงเรียนมีการจัดอบรมให้ความรู้แก่ครูในเรื่องการวัดผล และประเมินผลและการสร้างเครื่องมือวัดผลที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ส่งเสริมพัฒนาระบบและเทคนิควิธีการวัดและประเมินผลการเรียนด้านต่างๆ แก่ครูและบุคลากรของสถานศึกษา และให้คำปรึกษา ติดตาม กำกับการวัดและประเมินผลการเรียนด้านต่างๆ แก่ครูและบุคลากรของสถานศึกษา โดยผู้ที่มีส่วนร่วมประกอบด้วยครูผู้สอน รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ และคณะกรรมการสถานศึกษา ปัญหาที่ประสบ ได้แก่ เวลาในการติดตามการประเมินมีน้อย 5. งานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา โรงเรียนได้มีระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา ผู้บริหารโรงเรียนมีการจัดอบรมให้ความรู้แก่ครูในเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ส่งเสริมพัฒนาวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาให้แก่ครูและบุคลากรของสถานศึกษา และให้คำปรึกษาติดตาม กำกับการประกันคุณภาพการศึกษาแก่ครูและบุคลากรของสถานศึกษา โดยผู้ที่มีส่วนร่วม ประกอบด้วย หัวหน้ากลุ่มสาระ ครูผู้สอน และรองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ ปัญหาที่ประสบ ได้แก่ ขาดผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาในการประกันคุณภาพ |
Other Abstract: | To investigate the operation of academic tasks of secondary schools with academic excellence under the Basic Education Quality Project of the Educational Testing Center. The population was school directors and deputy directors for academic affairs, heads of academic strands which are Thai, English, mathematics, sciences, and social sciences. The samples were teachers who taught in those 5 academic strands and they were chosen by purposive random sampling. A checklist questionnaire was used to collect data. Frequencies, percentage and content analysis were used to analyze the data. The results are presented in descriptive form and tables. Research findings were as follows : 1. In terms of curriculum and curriculum administration, the schools prepared teaching personnel, assigned teachers to classes, prepared teaching schedules, provided teaching materials, followed up and assessed the curriculum implementation. In addition, the schools publicized the curriculum for the parents and the community. The school administrators encouraged their teachers and school personnel to learn how to construct school curriculum, and organized in- school supervision and follow up on the curriculum. The administrators jointly worked with the teaching personnel to construct school curriculum, and the teaching personnel would teach the curriculum as planned. Those who were involved in this were the deputy directors for academic affairs, header of academic strands, and the directors. Problems arose from a lack of teachers, a lack of consistent supervision in curriculum implementation. 2. In terms of teaching and learning instrucational the schools provided extracurricular activities, media, and remedial classes. Those who were involved in this were teachers, header of academic strands,and the deputy directors for academic affairs. Problems arose from too many students in classes and a lack of instructional media and equipment. In addition, the students had too many classes to attend so they did not have time for remedial classes. 3. In terms of in-school supervision ,school set an in-school supervisory system, while the administrators provided necessary equipment, budget, They also prepared their teachers for in-school supervision. Those who were involved in this were the deputy directors for academic affairs, the in-school supervision committee, and teachers. Problems arose from a lack of expertise in this area and a lack of cooperation from school personnel. 4. In terms of measurement and evaluation, the schools set up guidelines for measurement and evaluation and learning according to the 2001 Basic Education Curriculum. The administrators set up workshops regarding the construction of evaluation effective tools for teachers. They also promoted the development of assessment systems and techniques, provided advice and supervised the evaluation. Those who were involved in this were teachers, deputy directors for academic affairs, and the school committee. Problems arose from insufficient time for supervision. 5. In terms of education quality assurance, the schools had a system, criteria, and procedure for assuring education quality. The administrators trained teachers regarding effective education quality assurance, developed methods for assuring education quality, and gave advice in this area. In addition, they supervised the education quality assurance procedure Those who were involved in this were subject coordinators, teachers, and the deputy director for academic affairs. Problems arose from a lack of an expertise education quality assurance system. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36571 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.561 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2009.561 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
sarot_ti.PDF | 4.12 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.