Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36622
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย-
dc.contributor.authorวรัญญา ตีรณะวาณิช-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-11-08T09:08:50Z-
dc.date.available2013-11-08T09:08:50Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36622-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดสัดส่วนของเสียที่เกิดในกระบวนการผลิตโถสุขภัณฑ์ โดยใช้ระบบไชนิน (Shainin System) ในการลดปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นกับโถสุขภัณฑ์รุ่น BW13 จากการทำแผนภาพพาเรโต จะพบว่าลักษณะข้อบกพร่องที่ต้องแก้ไข คือ รูเข็ม แตกด้านข้าง และแตกบริเวณบ่อเก็บของเสีย ทำการเก็บข้อมูลแล้วนำมาวิเคราะห์โดยใช้ Multi-Vari Chart พบว่าความผันแปรที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตโถสุขภัณฑ์รุ่น BW13 เกิดจากความผันแปรภายในชิ้นงาน (Within Unit) จากนั้นทำแผนภาพความสนใจ (Concentration Chart) เพื่อที่จะได้ทราบถึงความถี่ในการเกิดของเสียและตำแหน่งที่เกิดขึ้น จากนั้นทำการค้นหาสาเหตุหลักของปัญหา ซึ่งเรียกว่า Red X และใช้หลักการวิเคราะห์ความแตกต่าง (Gap Analysis) ระหว่าง BOB และ WOW ซึ่งจะได้ว่า Red X ของลักษณะข้อบกพร่องประเภทรูเข็ม คือ ขนาดของท่อที่ใช้ในการหล่อ Red X ของลักษณะข้อบกพร่องประเภทแตกด้านข้าง คือ ความหนาบริเวณใต้ปีก และ Red X ของลักษณะข้อบกพร่องประเภทแตกบริเวณบ่อเก็บของเสีย คือ ความแข็งของเม็ดกระดุม ขั้นตอนต่อไปจะเป็นขั้นตอนที่จะทำการทดสอบว่า Red X ที่พบในขั้นตอนออกแบบการทดลองนั้น เป็นสาเหตุที่แท้จริงหรือไม่ โดยนำมาทำการทดสอบ โดยใช้หลักการ B vs C มาทำการทดสอบและเปรียบเทียบ ซึ่งจะพบว่า กระบวนการ กระบวนการหลังปรับปรุง (B) นั้นดีกว่ากระบวนการ กระบวนการก่อนการปรับปรุง (C) ด้วยความเชื่อมั่นที่ 95% หลังจากการปรับปรุง พบว่าสามารถลดสัดส่วนของเสียประเภทรูเข็มจาก 14.01% ไปเป็น 2.15% ของเสียประเภทแตกด้านข้าง ลดลงจาก 8.51% ไปเป็น 0.23% และแตกบริเวณบ่อเก็บของเสียลดลงจาก 4.57% ไปเป็น 0.95% คิดเป็นมูลค่าความสูญเสียที่ลดลงได้ 7,209,360 บาท (ในช่วงระยะเวลา 6 เดือน)en_US
dc.description.abstractalternativeThis research aims to demonstrate Shainin System to reduce defective rate of toilet manufacturing in BW13 product model. Pareto analyses, shows that pinholes, cracked sides and cracked sumps are major problems. Multi-Vari chart data analysis found that the defective toilet occurred from variance within unit. Furthermore, a concentration chart was used to show the frequency and the area that the defect of pinholes, cracked side and cracked sump occurred. After that root causes, which were called the Red X. to the problem were identified by the gap analysis which compare between BOB and WOW. The result concludes that Red X of Pinholes is the size of casting pipe, Red X of Cracked side is the thickness at under the wing of ware. and Red X of Cracked sump is the hardness of button. Next step is to confirm the Red X found by B and C principle. The result shows that the process after improvement (B) is better than current process (C) at 95% confident. After the improvement, the defective rate of pinholes is decreased from 14.01% to 2.15%, cracked side is decreased from 8.51% to 0.23% and cracked sumps is decreased from 4.57% to 0.95%. In addition, base on company production plan in year 2012, the improvement yield cost savings up to 7,209,360 baht in six months.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1531-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectเครื่องสุขภัณฑ์en_US
dc.subjectPlumbing fixturesen_US
dc.titleการประยุกต์ใช้ระบบไชนินในการลดของเสียประเภทรูเข็ม แตก ด้านข้างและแตกบริเวณบ่อเก็บของเสียในการผลิตโถสุขภัณฑ์en_US
dc.title.alternativeApplication of Shainin System in defect reduction of pinholes, cracked sides and cracked sumps in toilet manufacturingen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมอุตสาหการen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisornatcha.t@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2012.1531-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
waranya_te.pdf4.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.