Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36919
Title: การศึกษาการลดการออกเสียงสระอะในการจำแนกสระด้วยความถี่ฟอร์แมนต์ของเสียงพูดต่อเนื่องภาษาไทย
Other Titles: Studying of reduced /a/ vowel on vowel classification using formant frequencies in Thai continuous speech
Authors: ธีระ สุริย์
Advisors: อติวงศ์ สุชาโต
โปรดปราน บุณยพุกกณะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Atiwong.S@Chula.ac.th
Proadpran.Pu@Chula.ac.th
Subjects: ภาษาไทย -- สระ
ภาษาไทย -- หน่วยเสียง
ระบบประมวลผลเสียงพูด
การรู้จำเสียงพูดอัตโนมัติ
Thai language -- Vowels
Thai language -- Phonemic
Automatic speech recognition
Speech processing systems
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในการศึกษาความถี่ฟอร์แมนต์ของเสียงสระจากทดลองจำแนกเสียงสระในเสียงพูดต่อเนื่องภาษาไทยพบว่าความถี่ฟอร์แมนต์ที่สกัดได้นั้นมิได้เกาะกลุ่มกันมากดังเช่นที่ปรากฏในทางทฤษฎีโดยเฉพาะในเสียง อะ (/a/) ซึ่งมีการกระจายตัวมาก งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการลดการออกเสียงของเสียงสระอะ โดยดูผลจากค่าความถี่ฟอร์แมนต์ในรูปแบบของกลุ่มหน่วยเสียงต่าง ๆ ที่อยู่ติดกับสระอะ รวมทั้งผลกระทบของการเปลี่ยนการกำกับหน่วยเสียงในการจำแนกเสียงสระและการรู้จำเสียง โดยในวิทยานิพนธ์นี้จะแบ่งการทดลองเป็นสองส่วน ส่วนแรกเป็นการศึกษาของผลกระทบจากหน่วยเสียงรอบข้างที่ติดกับสระอะ พบว่ากลุ่มที่มีหน่วยเสียงรอบข้างที่เป็นเสียงกึ่งสระจะมีผลกระทบต่อค่าความถี่ฟอร์แมนต์ที่ 2 (F2) อย่างชัดเจน โดยพบว่า กลุ่มของรูปแบบที่มีหน่วยเสียง /ย/ (/j/) อยู่ติดกับสระอะจะพบค่าความถี่ฟอร์แมนต์ที่สองในช่วงสูงสุด ในขณะที่กลุ่มของรูปแบบที่มีหน่วยเสียง /ว/ (/w/) อยู่ติดกับสระอะจะพบค่าความถี่ฟอร์แมนต์ที่สองในช่วงต่ำสุด ส่วนที่สองเป็นวิทยานิพนธ์นี้นำเสนอการเปลี่ยนการกำกับหน่วยเสียงใหม่ โดยแยกหน่วยเสียงที่เป็นอะกึ่งเสียง ออกมาจากหน่วยเสียงที่เป็นเสียง อะ ธรรมดาจากการดูรูปการเขียน เมื่อทำการทดลองการจำแนกสระด้วยการใช้ค่าฟอร์แมนต์ในการเรียนรู้และทดสอบ พบว่าเมื่อทำการเปลี่ยนการกำกับเสียงของหน่วยเสียงเดิมที่เป็น /a/ ที่ออกเสียงเป็นสระอะกึ่งเสียงใหม่ให้เป็น /ǝ/ ซึ่งมีค่าความถี่ฟอร์แมนต์ใกล้เคียงกว่า ความถูกต้องสูงที่ได้ขึ้นจากเดิม 80.46% เป็น 82.15% ในเสียงผู้ชาย และ 82.12% เป็น 83.92% ในเสียงผู้หญิงของกลุ่มตัวอย่าง ในขณะที่เมื่อทดสอบการรู้จำเสียงพูดด้วย HTK พบว่าหน่วยเสียงที่เป็นอะกึ่งเสียงซึ่งเปลี่ยนแปลงการกำกับหน่วยเสียงใหม่ ถูกรู้จำเป็นหน่วยเสียงอะแบบปรกติน้อยกว่า 10% ในขณะที่หน่วยเสียงอะแบบปรกตินั้นจะถูกรู้จำเป็นหน่วยเสียงอะกึ่งเสียงอยู่ในช่วง 25-29%
Other Abstract: The study of formant frequencies from the experimental classification of the Thai vowels from the Thai continuous speech revealed that the extracted formants were not clustered into groups as they were mentioned in the theory. The formant values were much scattered particularly in the /a/ sound. This research performed the study of the reduced /a/ vowel of the Thai language from the values of formant frequencies in phone patterns surrounding the /a/ vowel and the study of the effects of the new labeling on vowel classification and phone recognition. The research had two parts as follows. The first part was the study of the effects of the surrounding phone around /a/ phone. The groups of unit sounds around reduced /a/ showed the distinct effects to the second formant frequencies. The results revealed that the group of unit sound /j/ adhered to /a/ had the highest second formant frequencies. While the group of unit sound /w/ adhered to /a/ had the lowest second formant frequencies. The second part proposed the new labeling method by separating the reduced /a/ sound from the normal /a/ sound by using the writing of the words in Thai. The reduced /a/ sound is a shorter form of the /a/ vowel (schwa-like vowel). The shorter form of the /a/ vowel was labeled as /ǝ/ which had closer values of formant frequencies. The classification of the vowels demonstrated that the total corrections were increased from 80.46% to 82.15% in male voice and from 82.12% to 83.92% in female voice. In the recognition using HTK, the shorter form of the /a/ vowel was recognized as the /a/ vowel less than 10% while the normal /a/ vowel was recognized as the shorter form of the /a/ vowel between 25 – 29%.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.) --จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36919
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1061
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1061
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
teera_su.pdf3.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.