Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37401
Title: | การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การของบุคลากรสายสนับสนุน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Other Titles: | The development of a causal model of organizational citizenship behaviors of line personnel support at the Faculty of Medicine, Chulalongkorn University |
Authors: | ศิกษณีย์ วิโสจสงคราม |
Advisors: | ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Duangkamol.T@chula.ac.th |
Subjects: | ความผูกพันต่อองค์การ พฤติกรรมองค์การ Organizational commitment Organizational behavior |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การของบุคคลากรสายสนับสนุน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2)เพื่อพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การของบุคลากรสายสนับสนุน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 3) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลสมการโครงสร้างที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 4) เพื่อศึกษาอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมของปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การของบุคลากรสายสนับสนุน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรสายสนับสนุน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 370 คน โดยมีตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ตัวแปรที่เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การ 5 ตัวแปร คือ ความผูกผันต่อองค์การ ความพึงพอใจในงาน ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง คุณภาพชีวิตในการทำงาน และคุณลักษณะของงาน ตัวแปรแฝงทั้งหมดวัดได้จากตัวแปรสังเกตได้ จำนวน 26 ตัวแปร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันด้วยโปรแกรม SPSS และการวิเคราะห์อิทธิพล (path analysis) ด้วยโปรแกรมลิสเรล ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การของบุคลากรสายสนับสนุน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยอยู่ในระดับมาก 2. โมเดลเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การบุคลากรสายสนับสนุน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าสถิติ ( χ² = 186.83, df = 174, p = .24 GFI- .96, RMR = .017) ตัวแปรในโเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การของบุคลากรสายสนับสนุน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลกงรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร้อยละ 52 3. โมเดลเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การของบุคลากรสายสนับสนุน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย โดยภาพรวมประกอบด้วยตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การ ได้แก่ ความผูกพันต่อองค์การ และคุณลักษณะของงาน ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์กร ได้แก่ตัวแปรคุณภาพชีวิตในการทำงาน โดยส่งผ่านตัวแปรความผูกพันต่อองค์การ และตัวแปรที่มีอิทธิพลรวมสูงสุดได้แก่ คุณภาพชีวิตในการทำงาน |
Other Abstract: | The purposes of this research were 1) to study levels of the organizational citizenship behaviors of line personnel support at the Faculty of Medicine, Chulalongkorn University 2) to develop a causal model of the organizational citizenship behaviors of line personnel support at the Faculty of Medicine, Chulalongkorn University 3) to examine the causal model of the organizational citizenship behaviors of line personnel support at the Faculty of Medicine, Chulalongkorn University and 4) to study the direct effect and the organizational citizenship behaviors of line personnel support at the Faculty of Medicine, Chulalongkorn University. The participants of this research were 370 personnel support at the Faculty of Medicine, Chulalongkorn University The research sample consisted of 370 personnel support at the Faculty of Medicine, Chulalongkorn University. The research variables consisted of 6 latent variables and 26 observed variables. Data were collected by a questionnaire. The research findings were as follows: 1. The organizational citizenship behaviors of line personnel support at the Faculty of Medicine, Chulalongkorn University was levels of were high. 2. The organizational citizenship behaviors causal model of line personnel support at the Faculty of Medicine, Chulalongkorn University was fitted with empirical data (χ² = 186.83, df =174, p = .24, GFI = .96, AGFI = .92, RMR = .017) and variable in the model accounted for 52% of variance in the organizational citizenship behaviors causal model. 3. The organizational citizenship behaviors causal model of line personnel support at the Faculty of Medicine, Chulalongkorn University which had the direct effects were organization commitment factor and job task factor. The variable which had an indirect effect were need for quality of work life factor and organization commitment factor. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย, 2552 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิจัยการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37401 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.389 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2009.389 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
siksanee_wi.pdf | 4.72 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.