Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37507
Title: | รูปแบบการจัดการตลาดน้ำเพื่อการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวชุมชน |
Other Titles: | The floating market management model to enhance community-based tourism development |
Authors: | นพรัตน์ ศุทธิถกล |
Advisors: | สมบัติ กาญจนกิจ สุชาติ ทวีพรปฐมกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา |
Advisor's Email: | Sombat.K@Chula.ac.th Suchart.Ta@Chula.ac.th |
Subjects: | ตลาดน้ำ -- การจัดการ การท่องเที่ยวโดยชุมชน ปริญญาดุษฎีบัณฑิต Floating market -- Management |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | The research process used in this study was the Participatory Action Research (PAR). This study aimed to enhance stakeholders’ participation in the floating market planning process, and developed a model that enhanced local’s capability in community-based tourism management. The samplings consisted of 400 Thai and foreign tourists, the tourists’ need and satisfaction questionnaire was responded. Tourists’questionnaire was responded by 71 pilot tourists. There were 346 people in Don-Manora sub-district, who responded the opinion to tourism development questionnaire. The semi-structure interview form was utilized by 42 community leaders and business owners. The observation form was used. There were 265 local people participated in preliminary meeting. The focus group was set up for 10 participants who were tourists’specialist and managers, and thirty-five local people participated in the workshop at Don-Manora sub-district. Triangulation was used to verify data. The statistical analysis was employed in term of percentage, means, standard deviation and t-test. The finding indicated that Thai and foreign tourists needs were as follows: promoting on radio television and internet, local Thai food, learning local occupation, community culture brochure, local guide, and boat sightseeing. The workshop enhanced people to planning tourism development project namely: promoting destinations, improving landscape and facilities, conservation of local wisdom, environmental conservation, youth guide training, home stay training, Thai massage training, bicycling trail development. Research process led to the floating market management model based on 5 components; 1) tourism management 2) community participation 3) transportation 4) landscaping of tourist attractions 5) managing tourist programs package. The result to verify tourism management model found in high tourists’satisfaction level ( =3.52) and tourists’satisfied with local hospitality and merchant service. |
Other Abstract: | การศึกษาวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทำให้เกิดการวางแผนปฏิบัติการท่องเที่ยวตลาดน้ำ 2) เพื่อพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวชุมชนโดยสร้างรูปแบบการจัดการตลาดน้ำ กลุ่มตัวอย่างและเครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศ จำนวน 400 คนโดยใช้แบบสอบถามความต้องการและความพึงพอใจ นักท่องเที่ยวนำร่อง จำนวน 71 คน ใช้แบบสอบถามความพึงพอใจ กลุ่มประชาชนตำบลดอนมะโนรา จำนวน 346 คนโดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาการท่องเที่ยวในชุมชน ผู้นำชุมชนและผู้ประกอบการ จำนวน 42 คน ใช้แบบสัมภาษณ์ และใช้แบบสังเกตแหล่งท่องเที่ยวตลาดน้ำ ประชาชนตำบลดอนมะโนรา 265 คน เข้าร่วมการเปิดเวทีชาวบ้าน มีนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้จัดการตลาดน้ำ 10 คน เข้าร่วมการสนทนากลุ่ม มีประชาชน 35 คนเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการที่ตำบลดอนมะโนรา ใช้วิธีการตรวจสอบคุณภาพข้อมูลแบบสามเส้า สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test ผลการศึกษาพบว่านักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศ ต้องการสื่อประชาสัมพันธ์ ทางวิทยุ โทรทัศน์ และอินเทอร์เน็ต ต้องการอาหารไทยประจำท้องถิ่น เรียนรู้การทำอาชีพ ต้องการเอกสารความรู้วัฒนธรรมชุมชน มัคคุเทศก์ท้องถิ่น และนั่งเรือชมธรรมชาติ ผลจากการประชุม เชิงปฏิบัติการทำให้เกิดแผนปฏิบัติการท่องเที่ยวตลาดน้ำที่ประกอบด้วย 1)โครงการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว 2)โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์และจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวก 3)โครงการอนุรักษ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น 4)โครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อม 5)โครงการมัคคุเทศก์น้อย 6)โครงการจัดที่พัก แบบโฮมสเตย์ 7)โครงการนวดแผนโบราณ 8)โครงการขี่จักรยานท่องเที่ยว ผลที่เกิดขึ้นจากกระบวนการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดการตลาดน้ำมีองค์ประกอบดังนี้ 1) ด้านการจัดการท่องเที่ยวโดยจัดให้มีคณะทำงานมีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกและประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว 2) ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมวางแผนและติดตามประเมินผลการจัดการท่องเที่ยว 3) ด้านการคมนาคมจัดบริการรถรับจ้างหรือเรือเพื่อเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวได้สะดวกหรือขี่จักรยานท่องเที่ยวในชุมชน 4) ด้านการจัดภูมิทัศน์ให้มีการตกแต่งสถานที่ด้วยการปลูกไม้ดอกไม้ประดับ 5) ด้านการจัดโปรแกรมการท่องเที่ยวให้มีกิจกรรมรวมหลายรูปแบบ(Package) มีการเรียนรู้การทำอาชีพในชุมชนและพักค้างคืนแบบโฮมสเตย์ ผลการตรวจสอบรูปแบบการจัดการท่องเที่ยวพบว่า นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจในระดับมาก ( =3.52)โดยมีความพึงพอใจในเรื่องความเป็นมิตรของชาวบ้านและการบริการของผู้ประกอบการในตลาดน้ำ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์การกีฬา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37507 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1109 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2012.1109 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Spt - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
nopparat_su.pdf | 25.69 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.