Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3751
Title: การเปรียบเทียบผลการตรวจพบภาวะการสร้างแก๊สไฮโดรเจนผิดปกติจากการตรวจด้วยวิธีการวิเคราะห์แก๊สไฮโดรเจนจากลมหายใจออกหลังรับประทานกลูโคสเทียบกับแลคทูโลสซึ่งทำร่วมกับการตรวจติดตามการเคลื่อนไหวของลำไส้เล็กด้วยสารรังสี
Other Titles: Comparison of abnormal hydrogen production between lactulose and glucose hydrogen breath test : interpreting with small bowel scintigraphy
Authors: ถิรทัย เตรีกุล, 2517-
Advisors: สุเทพ กลชาญวิทย์
สุภัทรพร เทพมงคล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Sutep.G@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ลำไส้เล็ก
กลูโคส
ไฮโดรเจน -- การวิเคราะห์
แลคทูโลส
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ความสำคัญและที่มา: การตรวจวิเคราะห์แก๊สไฮโดรเจนในลมหายใจออกโดยใช้น้ำตาลกูลโคสและแลคทูโลสเป็นการทดสอบที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นวิธีตรวจทางอ้อมในการวินิจฉัยผู้ป่วยที่มีภาวะแบคทีเรียก่อตัวเพิ่มปรมาณมากผิดปกติในลำไส้เล็ก อย่างไรก็ตามยังไม่มีข้อสรุปว่าน้ำตาลชนิดใดจะเป็นสารทดสอบที่ดีกว่ากัน ระเบียบวิธีวิจัย: ผู้ป่วย 39 รายที่สงสัยว่าจะมีภาวะแบคทีเรียก่อตัวเพิ่มปรมาณมากผิดปกติในลำไส้เล็กได้เข้ารับการตรวจวิเคราะห์แก๊สไฮโดรเจนในลมหายใจออกภายหลังจากรับประทานน้ำตาลกูลโคส 50 กรัมหรือแลคทูโลส 10 กรัมที่ติดสลากด้วยสารรังสี 99m phytateห่างกันเป็นเวลา 7 วัน โดยได้รับการเลือกให้รับประทานน้ำตาลชนิดใดก่อนอย่างสุ่ม ผู้ป่วยจะได้รับการเก็บตัวอย่างลมหายใจก่อนทำการทดสอบ และหลังจากนั้นทุกๆ 15 นาทีร่วมกับการถ่ายภาพรังสีติดตามการเคลื่อนไหวของลำไส้ไปจนสารทดสอบที่รับประทานไปถึงยังลำไส้ใหญ่ นิยามของผลบวกจากการตรวจวิเคราะห์แก๊สไฮโดรเจนคือมีค่าความเข้มข้นของแก๊สสูงขึ้นอย่างน้อย 10 ส่วนในหนึ่งล้านส่วนณ เวลาที่ก่อนที่สารทดสอบจะไปถึงยังลำไส้ใหญ่ orocecal transit time คือเวลาที่สารทดสอบเดินทางจากปากถึงลำไส้ใหญ่ ผลการวิจัย: (แสดงข้อมูลเป็นค่า mean+-SEM) ผู้ป่วยทุกรายได้รับการตรวจวิเคราะห์แก๊สไฮโดรเจนครบทั้งสองครั้ง ระยะเวลาในการเดินทางของสารทดสอบจากปากถึงลำไส้ใหญ่จากการทดสอบโดยใช้กูลโคสมีค่าเท่ากับ 192.31+-16 นาที ซึ่งมีค่ายาวกว่าจากการตรวจด้วยแลคทูโลส (63+-5 min) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<0.01 ผู้ป่วย 10 รายให้ผลบวกจากการตรวจด้วยกูลโคสและมีจำนวน 4 รายที่ให้ผลบวกจากแลคทูโลส (p = 0.15) มีผู้ป่วยหนึ่งรายที่ให้ผลการทดสอบเป็นบวกในการทดสอบทั้งสอง ในจำนวนผู้ป่วยที่ให้ผลการทดสอบเป็นบวกนั้นมีถึง 13 รายที่ให้ผลบวกเกิดขึ้นในช่วงครึ่งแรกของเวลาที่สารทดสอบเดินทางจากปากไปถึงลำไส้ใหญ่ พบว่าผู้ป่วยที่ให้ผลบวกจากการตรวจจะมีค่าระยะเวลาที่สารทดสอบเดินทางจากปากถึงลำไส้ใหญ่ยาวกว่าในกลุ่มที่ให้ผลลบทั้งในกรณีที่ใช้สารทดสอบเป็นกูลโคสและแลคทูโลส อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่าเป็น 259.5+-16.7 นาที vs 169.1+-14.3 นาทีสำหรับกูลโคส และ 105+-7.1 นาที vs 58.2+-4.8 นาที p <0.05 ตามลำดับ สรุป: การวิเคราะห์แก๊สไฮโดรเจนในลมหายใจออกโดยใช้น้ำตาลกูลโคสน่าจะมีแนวโน้มที่มีความไวมากกว่าการใช้น้ำตาลแลคทูโลส อย่างไรก็ตามกูลโคส 50 กรัม ไม่สามารถที่จะตรวจพบแบคทีเรียที่ก่อตัวเพิ่มปริมาณมากผิดปกติในลำไส้เล็กส่วนปลายได้ แม้ว่าแลคทูโลสจะสามารถตรวจพบภาวะดังกล่าวในลำไส้เล็กส่วนปลายได้แต่ก็ไม่สามารถตรวจพบความผิดปกติในผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ให้ผลบวกจากการตรวจด้วยกูลโคสได้ จึงเป็นข้อสนับสนุนสมมติฐานที่ว่าแลคทูโลสอาจจะไม่สามารถถูกย่อยสลายได้โดยแบคทีเรียในผู้ป่วยบางราย
Other Abstract: Background: Glucose and lactulose hydrogen breath tests have been advocated as indirect methods for identifying patients with small bowel bacterial overgrowth. It is controversy regarding which substrate is better. Subjects and method: 39 patients who were suspected of having small bowel bacterial overgrowth underwent 2 H[subscript 2] hydrogen breath tests with 50 gm glucose or 10 gm lactulose orally, in random orders, 7 days apart. The glucose or lactulose solution was labeled with 99m phytate. A breath sample was obtained at baseline. Then scintigraphic images and breath samples were obtained at time 0 and every 15 min after ingestion of the glucose or lactulose until the radioactive substances reach the cecum. Positive H[subscript 2] breath test was defined as an increase of H[subscript 2] 10 ppm above baseline before the radioactive substances reach the cecum. Orocecal transit time was the time spent for the radioactive substance to travel from oral cavity to cecum. Results: (data expressed as mean+-SEM) All patients completed both breath test studies. Orocecal transit time for glucose was 192.31+-16 min, significantly longer than lactulose (63+-5 min, p<0.001). 10 and 4 patients had positive glucose and lactulose H[subscript 2] breath test respectively (p = 0.15). One patient had positive of both H[subscript 2] breath tests. 13 patients with positive glucose and lactulose breath test had increase H[subscript 2] production begin in the first half of the orocecal transit time, no patient with glucose breath test had positive test begin in the second half of the orocecal transit time. Patients who had positive at least one breath test had significant longer orocecal transit time of glucose (259.5+-16.7 min) and lactulose (105+-7.1 min) compared to patients who had negative results of both breath tests. (169.1+-14.3 min and 58.2+-4.8 min, for glucose and lactulose, respectively, p<0.05) In conclusions: Glucose H[subscript 2] breath test trends to be more sensitive than lactulose breath test for detection of abnormal H[subscript 2] production in the small bowel. However, 50 gm glucose breath test could not detect abnormal H[subscript 2] production in the distal half of the small bowel. Although lactulose breath test could detect abnormal H[subscript 2] production in the distal small bowel, it could not identify most patients with positive glucose breath test, supporting the hypothesis that
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3751
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.1147
ISBN: 9745326135
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2005.1147
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
tiratai.pdf1.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.