Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37590
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ไพโรจน์ ลดาวิจิตรกุล | - |
dc.contributor.author | ภัทรพร เกียรติธรรม | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2013-12-25T06:16:34Z | - |
dc.date.available | 2013-12-25T06:16:34Z | - |
dc.date.issued | 2555 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37590 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 | en_US |
dc.description.abstract | เมาส์เป็นอุปกรณ์มาตรฐานสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อชี้ตำแหน่งในการเลือกรายการใช้งานต่างๆ บนมอร์นิเตอร์ การใช้งานเมาส์เป็นเวลานานสามารถเกิดความเสี่ยงต่อความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกบริเวณข้อมือได้ จึงมีการพัฒนาเมาส์การยศาสตร์ (Ergonomic mouse) ซึ่งได้รับการออกแบบโดยคำนึงถึงหลักสรีรศาสตร์เป็นสำคัญ ด้วยเหตุนี้เมาส์การยศาสตร์จึงมีน้ำหนัก ขนาดและลักษณะการวางมือที่แตกต่างจากเมาส์ทั่วไป อย่างไรก็ตามเมาส์การยศาสตร์ยังไม่เป็นที่นิยมแพร่หลาย เนื่องจากราคาที่ค่อนข้างสูงกว่าเมาส์ทั่วไปและจากลักษณะพิเศษของเมาส์การยศาสตร์ดังกล่าวทำให้ผู้ใช้ไม่เคยชินกับการใช้งาน จึงส่งผลกระทบต่อสมรรถนะการทำงาน ทำให้เกิดความคิดเห็นว่าการเลือกใช้เมาส์การยศาสตร์นั้นไม่คุ้มค่า งานวิจัยนี้จึงได้ศึกษาเปรียบเทียบสมรรถนะการทำงานของเมาส์ปกติที่ใช้ในสำนักงานกับเมาส์ การยศาสตร์ใน 3 ลักษณะคือ น้ำหนัก ขนาด และองศาการวางมือ การทดสอบได้ประยุกต์ใช้แนวคิดในการทดลองของ Fitts’law และมาตรฐาน ISO 9241-9 เป็นแนวทางในการศึกษา โดยกำหนดลักษณะการทำงาน คือ การชี้ตำแหน่ง (pointing task) ใน 2 ทิศทาง ได้แก่ ทิศทางตามแนวแกนนอน (horizontal) หรือซ้าย-ขวา และแกนตั้ง (vertical) หรือบน-ล่าง โดยแบ่งระดับความยากของงานเป็น 3 ระดับ ขณะทดสอบได้กำหนดเป้าหมายของงานคือ ทำงานให้เร็วที่สุดโดยไม่ให้เกิดความผิดพลาดและชี้ตำแหน่งให้อยู่ภายในขอบเขตที่กำหนด ผลการวิจัยพบว่าการใช้เมาส์การยศาสตร์ทั้ง 3 ลักษณะ คือ น้ำหนัก ขนาด และองศาการวางมือในระหว่างการทดลองคงที่ ผู้ทดสอบมีสมรรถนะการทำงานเทียบเท่ากันการใช้งานของเมาส์ทั่วไป โดยไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งในแนวการทดสอบแกนนอนและแกนตั้ง และไม่พบความผิดพลาดของการใช้เมาส์การยศาสตร์และเมาส์ทั่วไปที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากการเปรียบเทียบรูปแบบดัชนีงานของฟิตส์ (Fitts) วอลฟอร์ด (Welford) และแชลนอล (Shannon) กับเวลาในการเคลื่อนที่ พบว่า แบบดัชนีงานของฟิตส์ให้ค่าจุดตัดแกนดิ่งใกล้เคียงจุดกำเนิดมากที่สุด และแบบดัชนีงานของแชลนอลให้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพัทธ์ระหว่างเวลาในการเคลื่อนที่กับดัชนีการทำงานมากที่สุด | en_US |
dc.description.abstractalternative | The computer mouse becomes the standard pointing device. Using a mouse for a long time can cause the musculoskeletal disorder of the wrist. This is the cause of mouse development called the ergonomic mouse, with the special design aiming to reduce the abnormal wrist posture. However, the ergonomic mouse has not been widespread used, because of its price that is higher than the common mouse and its unfamiliar feature that can affect the work performance. Therefore such ergonomic mouse was considered a worthless device. This research compared the work performance of a common mouse with an ergonomic mouse in three features including weight, size and degrees of hands. The experiment was based on the concept of Fitts’law and ISO 9241 part 9. The pointing task was set with two directions: the horizontal axis and the vertical axis. The task difficulty has 3 levels. While conducting the experiment, the task objectives had been set, including the movement of the mousse had to be as fast as possible without error and the pointing tasks had to be within the target area. The results showed that the work performance of the ergonomic mouse with size, weight and hand-degree during the experiment was stable. The competence of the ergonomic mouse was equivalent to the common mouse in both directions and there were no error of using both types of mousse without significant difference. The comparisions of Fitts Welford and Shannon’s index model with movement time were found : Fitts’ index model provided the vertical intercept which was nearest the origin while Shannon’s index model provided the greatest relative correlation with the movement time and the index of difficulty. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1157 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | เมาส์ | en_US |
dc.subject | สมรรถนะ | en_US |
dc.subject | Mice (Computers) | en_US |
dc.subject | Performance | en_US |
dc.title | ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางกายภาพของเมาส์และสมรรถนะการใช้งานของผู้ใช้ | en_US |
dc.title.alternative | Relationship between mouse physical characteristic and user performance | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมอุตสาหการ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | phairoat@hotmial.com | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2012.1157 | - |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
pattharaporn_ki.pdf | 4.44 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.