Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3823
Title: การเรียนรู้อย่างมีความสุข : การวิจัยรายกรณี ครูต้นแแบบด้านการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษา
Other Titles: Pleasant learning : a case study research of Thai language master teacher at the elementary education level
Authors: วราศิริ วงศ์สุนทร, 2519-
Advisors: นิศา ชูโต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Nisa.X@chula.ac.th
Subjects: การเรียนรู้
ครูต้นแบบ
ภาษาไทย -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
นักเรียนประถมศึกษา
โรงเรียนประถมศึกษา
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และพฤติกรรมการสอนของครูต้นแบบ ด้านการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษา โดยการเลือกกรณีศึกษาจากครูต้น แบบที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติเลือกไว้เป็นครูต้นแบบ เมื่อ พ.ศ. 2541 การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการเชิงคุณภาพในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์และการวิเคราะห์เอกสาร ผู้วิจัยใช้ระยะเวลาอยู่ในสนาม 9 เดือน โดยเป็นครูผู้ช่วยของครูต้นแบบ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ครูต้นแบบ นักเรียน ผู้ปกครอง ผู้บริหารโรงเรียน ครูในโรงเรียน และครูเครือข่ายของครูต้นแบบ การวิเคราะห์ใช้การวิเคราะห์แบบอุปนัย และนำเสนอข้อมูล โดยการพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ครูต้นแบบมีคุณลักษณะทั้งภายในและภายนอก ที่เหมาะสมต่อการได้รับรางวัลและมีรูปแบบการสอนที่บูรณาการ มาจากทฤษฎีการเรียนรู้หลายๆ ทฤษฎีแล้วนำมาปรับใช้เป็นของตนเอง โดยมีรูปแบบและพฤติกรรมการสอนดังนี้คือ 1) ครูมีจิตวิญญาณของความเป็นครู ทุ่มเทให้กับงาน และเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักเรียน ในการประพฤติปฏิบัติตน 2) ครูมีความเข้าใจในพฤติกรรมและธรรมชาติของเด็กแต่ละบุคคล 3) ครูมีความรอบรู้ในเนื้อหาที่สอน มีการวางแผนและเตรียมการสอนล่วงหน้า 4) ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลาย เพื่อเร้าความสนใจของนักเรียน 5) ครูมีสื่อการสอนที่หลากหลายทำง่ายๆ และสอดคล้องกับบทเรียน 6) ครูจัดบรรยากาศและจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 7) ครูใช้วิธีการวัดและประเมินผลนักเรียนอย่างหลากหลาย และเปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน จากรูปแบบและพฤติกรรมการสอนของครู สะท้อนออกมาเป็นพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียน คือ นักเรียนเกิดความปิติจากการได้เรียน และเกิดแรงบันดาลใจในการเรียนอันเนื่องมาจาก 1) นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองจากการฝึกปฏิบัติ มีประสบการณ์ตรงที่สัมพันธ์และนำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวัน 2) นักเรียนได้เลือกทำกิจกรรมตามความสามารถ ความถนัดและความสนใจ (3) นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นและมีโอกาสแสดงความสามารถให้ปรากฏ 4) นักเรียนมีส่วนร่วมในการประเมินผล เกิดความภูมิใจ ชื่นชม และยอมรับในผลงานทั้งของตนเองและผู้อื่น
Other Abstract: To study the teaching behavior of the Thai Language Master Teacher at the elementary education level. The case study was selected from the pool of Master Teacher of the Office of Nation Education Commission, 1998. The qualitative approach was employed involving in field works, participant observation, interview various person and document analysis. Researcher was at the site for nine months as assistant teacher. The key informants were the Master Teacher himself, pupils in his classes, administrators, his colleagues and the Master Teacher's network. The data were analyzed by inductive analysis and presented in descriptive format. It had evident this Master Teacher had possessed internal and external factors, which helped him to be a Master Teacher rewarded. He had gained experiences in Thai language teaching from various theories and various models. These characteristics were summarized as the following : 1) Being a true teacher by hard working and being a good model for children. 2) Understanding children's nature and behaviors. 3) Intellectually planning and preparing before teaching. 4) Arranging various activities to inspire the pupils. 5) Create diversified teaching materials which simple and appropriate to each lesson and pupils. 6) Providing classroom atmosphere to meet pupils needs. 7) Using fit evaluation methods and allow pupils to participated in evaluation their own works. The impacts of Master Teacher on teaching behavior were reflecting in pleasant learning of the pupils. These were 1) pupils learnt by themselves through their own practicing. They had direct experiences and able to apply to their life. 2) Pupils were able to select their own activities in according to their interest and abilities. 3) Pupils had chances to express ideas. 4) Pupils have participated in evaluating, accepted and appreciate their work as well as respect the judgement form others
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3823
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.436
ISBN: 9741310595
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2000.436
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Warasiri.pdf1.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.