Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3830
Title: รูปแบบการเปิดรับสื่อของผู้บริโภคหญิงในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Media exposure patterns of female consumers in Bangkok
Authors: ธนิสสรา เพชรยศ, 2519-
Advisors: พนา ทองมีอาคม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Pana.T@chula.ac.th
Subjects: การเปิดรับสื่อมวลชน
ผู้บริโภคสตรี
ส่วนแบ่งทางการตลาด
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการเปิดรับสื่อของผู้บริโภคหญิงในกรุงเทพมหานคร ที่มีลักษณะทางประชากรแตกต่างกัน ทางด้านประเภทของสื่อที่เปิดรับ ปริมาณการเปิดรับสื่อแต่ละประเภท และประเภทของเนื้อหาภายในสื่อแต่ละประเภทที่เปิดรับ โดยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ทำการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเพศหญิงที่มีอายุระหว่าง 12-49 ปี ซึ่งอาศัย ทำงานหรือศึกษาอยู่ในเขตที่พักอาศัย 12 เขตในกรุงเทพมหานครจำนวนทั้งสิ้น 612 คน มีการกำหนดโควต้ากลุ่มตัวอย่างตามอายุออกเป็น 3 ช่วงอายุ ได้แก่ 12-19 ปี 20-29 ปี และ 30-49 ปี โดยในแต่ละกลุ่มอายุมีจำนวน 204 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะทางประชากรต่างกันมีรูปแบบการเปิดรับสื่อต่างกันทั้งทางด้านประเภทของสื่อที่เปิดรับ ปริมาณการเปิดรับสื่อแต่ละประเภท และประเภทของเนื้อหาภายในสื่อแต่ละประเภทที่เปิดรับ (2) กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุต่างกันมีรูปแบบการเปิดรับสื่อต่างกันมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะทางประชากรอื่นๆ ต่างกัน (3) สำหรับประเภทของเนื้อหาภายในสื่อแต่ละประเภทที่เปิดรัรบ กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุมากกว่า มีการศึกษาสูงกว่า ประกอบอาชีพแล้ว มีรายได้สูงกว่า สมรสแล้ว รวมถึงหย่าและม่ายเปิดรับเนื้อหาภายในสื่อประเภทที่ให้สาระและข้อมูลข่าวสารมากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีอายุน้อยกว่า มีการศึกษาต่ำกว่า เป็นนักเรียน นักศึกษา มีรายได้ต่ำกว่า และมีสถานภาพโสด ซึ่งเปิดรับเนื้อหาภายในสื่อประเภทที่ให้ความบันเทิงมากกว่า
Other Abstract: The objective of this research was to study media exposure patterns (media class, quantity of each medium exposed, and media content category) of female consumers in Bangkok who had different demographic characteristics. Survey questionnaires were implemented to gather data from 612 females who lived, worked, or studied in 12 chosen Bangkok's residential districts. The samples were quota selected in terms of their age into 3 groups: 12-19, 20-29, and 30-49. The results showed that: (1) samples with different demographic characteristics had different media exposure patterns, in terms of media class, quantity of each medium exposed, and media content category, (2) samples with different ages had most different media exposure patterns compared with those with other demographic variables, and (3) for media content category, samples who were older, higher-educated, working, higher-income, married, divorced or widow exposed more information-oriented and knowledge-based vehicles than those who were younger, lower-educated, studying, lower-income and single who exposed more entertainment-oriented ones.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การโฆษณา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3830
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.306
ISBN: 9743472037
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2000.306
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thanissara.pdf2.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.