Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3842
Title: การพัฒนาตัวบ่งชี้รวมคุณภาพการศึกษาของคณะครุศาสตร์ในสถาบันราชภัฏ โดยกลุ่มบุคลากรภายในและกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก
Other Titles: A development of composite indicators for educational quality of the Faculty of Education in Rajabhat Institutes by internal informants and external experts
Authors: อานุภาพ ธงภักดี, 2514-
Advisors: สมหวัง พิธิยานุวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Somwung.P@chula.ac.th
Subjects: ตัวบ่งชี้ทางการศึกษา
สถาบันราชภัฏ -- คณะครุศาสตร์
ประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้รวมคุณภาพการศึกษาของคณะครุศาสตร์ในสถาบันราชภัฏจากข้อมูลที่ได้จากกลุ่มบุคลากรภายในสถาบันราชภัฏและกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกสถาบันราชภัฏ โดยมีวัตถุประสงค์ย่อย 3 ประการ คือ 1) เพื่อสร้างโมเดลและตรวจสอบโมเดลโครงสร้างคุณภาพการศึกษาของคณะครุศาสตร์ในสถาบันราชภัฏ จากการพิจารณาโดยกลุ่มบุคลากรภายในสถาบันราชภัฏและกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกสถาบันราชภัฏ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลของการพัฒนาตัวบ่งชี้รวมคุณภาพการศึกษาของคณะครุศาสตร์ในสถาบันราชภัฏกับข้อมูลจากกลุ่มบุคลากรภายในสถาบันราชภัฏและกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกสถาบันราชภัฏ และ 3) เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้รวมคุณภาพการศึกษาของคณะครุศาสตร์ในสถาบันราชภัฏจากการพิจารณาโดยกลุ่มบุคลากรภายในสถาบันราชภัฏและกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกสถาบันราชภัฏ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยนี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกสถาบันราชภัฏ จำนวน 179 คน และกลุ่มที่ 2 กลุ่มบุคลากรภายในสถาบันราชภัฏ จำนวน 347 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์กลุ่มพหุ โดยใช้โปรแกรม LISREL for Windows 8.12 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. โมเดลคุณภาพการศึกษาของคณะครุศาสตร์ในสถาบันราชภัฏจากข้อมูลของกลุ่มบุคลากรภายในสถาบันราชภัฏ พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูล ค่าน้ำหนักองค์ประกอบทั้ง 14 องค์ประกอบ มีค่าเป็นบวก โดยมีขนาดตั้งแต่ 0.56-0.89 และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกค่า โดยเรียงตามลำดับความสำคัญได้ดังนี้ แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ อาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม กิจการนักศึกษา การวิจัย การเงินงบประมาณ ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ อาจารย์ การบริหารและการจัดการ การจัดการเรียนการสอน หลักสูตร ปรัชญา พันธกิจและวัตถุประสงค์ของคณะ การสนับสนุนจากศิษย์เก่าและชุมชน นักศึกษา และการสร้างมูลค่าเพิ่มให้นักศึกษา ตามลำดับ 2. โมเดลคุณภาพการศึกษาของคณะครุศาสตร์ในสถาบันราชภัฏจากข้อมูลของกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก พบว่าโมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูล ค่าน้ำหนักองค์ประกอบทั้ง 14 องค์ประกอบมีค่าเป็นบวก โดยมีขนาดตั้งแต่ 0.27-0.92 และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกค่าโดยเรียงลำดับความสำคัญได้ดังนี้ แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ กิจการนักศึกษา การเงินงบประมาณ การจัดการเรียนการสอน การวิจัย อาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม การบริหารและการจัดการ ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ การสนับสนุนจากศิษย์เก่าและชุมชน นักศึกษา การสร้างมูลค่าเพิ่มให้น้กศึกษา หลักสูตร อาจารย์ และปรัชญา พันธกิจและวัตถุประสงค์ของคณะ ตามลำดับ 3. ผลการทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดล พบว่า รูปแบบของโมเดลทั้งสองกลุ่มมีความไม่แปรเปลี่ยนระหว่างกลุ่ม นั่นคือโครงสร้างของโมเดลทั้งสองโมเดลที่สร้างขึ้นไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อพิจารณาค่าน้ำหนักองค์ประกอบและค่าความแปรปรวน-ความแปรปรวนร่วมของความคลาดเคลื่อน พบว่า มีความแตกต่างกันระหว่างโมเดลของทั้งสองกลุ่ม 4. โมเดลคุณภาพการศึกษาของคณะครุศาสตร์ในสถาบันราชภัฏจากข้อมูลของทั้งสองกลุ่ม พบว่า ค่าน้ำหนักองค์ประกอบทั้ง 14องค์ประกอบมีค่าเป็นบวก โดยมีขนาดตั้งแต่ 0.38-0.93 และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกค่า โดยเรียงลำดับความสำคัญได้ดังนี้ ทรัพยากรการเรียนรู้ กิจการนักศึกษา อาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม การจัดการเรียนการสอน การเงินงบประมาณ การวิจัย ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ การบริหารและการจัดการ การสนับสนุนจากศิษย์เก่าและชุมชน นักศึกษา การสร้างมูลค่าเพิ่มให้นักศึกษา อาจารย์ หลักสูตร และ ปรัชญา พันธกิจ และวัตถุประสงค์ของคณะ ตามลำดับ
Other Abstract: The main purposes of this research were to develop the composite indicators for educational quality of faculties of education in Rajabhat Institutes by : 1) Work included constructing and validating the structural equation model of educational quality of assessment by internal informants and external expert. 2) Comparing the composite indicators for educational quality. 3) Developing the composite indicators for educational quality of education in Rajabhat Institutes by internal informants and external expert. The samples comprised of two groups : the first group was 179 external expert and the second group was 347 internal informants. Data were collected by questionnaires and analyzed by descriptive statistics, confirmatory factor analysis and multi-group analysis through LISREL for Windows 8.12. Major results of the student were as follows; 1. Assessments of educational quality of the Faculties of Education in Rajabhat Institutes by internal informants were consistent with opinion data obtained from internal informants. Factor loading of 14 the factors was positive inthe range 0.56-0.89 and significant level at 0.01. The ordering of factors was learning resource and building and environment, student affair, research, finance and budget, quality assurance and enhancement, staff, administration and management, learning and teaching, curriculum, philosophy, mission and objective, support from alumna and community, student and value addition, respectively. 2. In external expert assessments, factor loading of the 14 factors was positive by equal 0.27-0.92 and significant level at 0.01. The ordering of factor was learning resource and student affair, finance and budget, learning and teaching, research, building and environment, administration and management, quality assurance and enhancement, support from alumna and community, student, value addition, curriculum, staff and philosophy, mission and objective respectively. 3. Examination showed no variation in the type of model between groups, but factor loading andvariance-covariance of error differed between groups. 4. The models of Educational quality of the Faculty of Education in Rajabhat Institutes were developed from data of two groups. The factor loading of 14 factors was positive by equal 0.38-0.93 and significant level at 0.01. The ordering of factor factor was learning resource, student affair, learning and teaching, building and environment, finance and budget, research, quality assurance and enhancement, administration and management, support from alumna and community, student, value addition, staff, curriculum and philosopohy, mission and objective, respectively
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3842
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.458
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2000.458
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Anupharp.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.