Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/38875
Title: พฤติกรรมการรับชม การรับรู้ประโยชน์ และทัศนคติต่อสถาบันครอบครัวของผู้ชม จากการชมละครโทรทัศน์ บ้านนี้มีรัก
Other Titles: Exposure, perceived utility, and attitude towards family institution among audiences of the TV drama "Bann Nee Mee Ruk"
Authors: วนัสนันท์ ทิพยจันทร์
Advisors: พัชนี เชยจรรยา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Patchanee.C@chula.ac.th
Subjects: ละครโทรทัศน์ไทย
การรับรู้
ครอบครัว
Television plays, Thai
Perception
Domestic relations
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษา (1) พฤติกรรมการเปิดรับชมละครโทรทัศน์ บ้านนี้มีรัก (2) ทัศนคติต่อสถาบันครอบครัวจากการเปิดรับชมละครโทรทัศน์ บ้านนี้มีรัก (3) การรับรู้ประโยชน์ของผู้ชมจากการเปิดรับชมละครโทรทัศน์ บ้านนี้มีรัก (4) ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับชมละคร ทัศนคติต่อสถาบันครอบครัว และการรับรู้ประโยชน์ของผู้ชมจากการเปิดรับชมละครโทรทัศน์ บ้านนี้มีรัก การศึกษาใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บ รวบรวมข้อมูล ประชาชนที่อาศัยและประกอบอาชีพอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร รวมทั้งอาศัยอยู่ในเขตทั้ง 50 เขต และต้องเคยชมละครโทรทัศน์ บ้านนี้มีรัก จำนวนทั้งสิ้น 400 คน ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้ชมส่วนใหญ่ติดตามชมละครโทรทัศน์ บ้านนี้มีรัก มากกว่า 1 ปี (2) ผู้ชมส่วนใหญ่มีทัศนคติต่อต่อสถาบันครอบครัวจากการชมละครโทรทัศน์ บ้านนี้มีรัก อยู่ในระดับดี (3) ผู้ชมส่วนใหญ่มีการรับรู้ประโยชน์จากการชมละครโทรทัศน์ บ้านนี้มีรัก อยู่ในระดับปานกลาง (4) พฤติกรรมการเปิดรับชม ละครโทรทัศน์ บ้านนี้มีรัก มีความสัมพันธ์ กับทัศนคติของผู้ชมต่อสถาบันครอบครัวจากการชมละครโทรทัศน์ บ้านนี้มีรัก (5) พฤติกรรมการเปิดรับชมละครโทรทัศน์ บ้านนี้มีรัก มีความสัมพันธ์กับการการรับรู้ประโยชน์ จากการชมละครโทรทัศน์ บ้านนี้มีรัก และ (6) ทัศนคติต่อสถาบันครอบครัวจากการรับชมละครโทรทัศน์ บ้านนี้มีรัก มีความสัมพันธ์กับการเปิดรับชมละครโทรทัศน์ บ้านนี้มีรัก
Other Abstract: To (1) the exposure of TV Drama “Baan Nee Mee Ruk” of the audiences (2) the attitude of the audiences about the family institution from the exposure of TV Drama “Baan Nee Mee Ruk” (3) the perceived utility of the audiences from the exposure of TV Drama “Baan Nee Mee Ruk” (4) the relationship between the exposure of TV Drama “Baan Nee Mee Ruk” of the audiences, the attitude of the audiences about the family institution from the exposure of TV Drama “Baan Nee Mee Ruk” and the perceived utility of the audiences from the exposure of TV Drama “Baan Nee Mee Ruk”. These research methods is the quantitative research, a survey research with 400 audiences in Bangkok. The result shows that (1) most of the audiences expose the TV Drama “Baan Nee Mee Ruk” more than a year (2) most of the audiences have the positive attitude about the family institution from the exposure of TV Drama “Baan Nee Mee Ruk” (3) most of the audiences have the average perceived utility from the exposure of TV Drama “Baan Nee Mee Ruk” (4) the exposure of TV Drama “Baan Nee Mee Ruk” of the audiences has positive correlation with the attitude of the audiences about the family institution from the exposure of TV Drama “Baan Nee Mee Ruk” (5) the exposure of TV Drama “Baan Nee Mee Ruk” of the audiences has positive correlation with the perceived utility of the audiences from the exposure of TV Drama “Baan Nee Mee Ruk” and (6) the attitude of the audiences about the family institution from the exposure of TV Drama “Baan Nee Mee Ruk” has positive correlation with the perceived utility of the audiences from the exposure of TV Drama “Baan Nee Mee Ruk”
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/38875
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.459
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.459
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wanasanant_th.pdf3.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.