Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/39206
Title: ผลของจิตบำบัดประคับประคองแบบกลุ่มต่อภาวะซึมเศร้าในผู้ติดสุรา
Other Titles: The effect of group supportive psychotherapy on depression among alcohol dependence
Authors: สุจิตรา อู่รัตนมณี
Advisors: เพ็ญพักตร์ อุทิศ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Penpaktr.U@Chula.ac.th
Subjects: ความซึมเศร้า
คนดื่มสุรา
จิตบำบัดแบบประคับประคอง
Supportive psychotherapy
Depression, Mental
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยกึ่งทดลอง (Ouasi-Experimental Research) ใช้รูปแบบ 2 กลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง (The Pretest-Posttest Control Group Design) เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเปรียบเทียบภาวะซึมเศร้าในผู้เสพติดสุรา ก่อนและหลังได้รับการใช้จิตบำบัดประคับประคองแบบกลุ่ม 2) เปรียบเทียบภาวะซึมเศร้าของผู้เสพติดสุรา ที่ได้รับการจิตบำบัดประคับประคองแบบกลุ่ม กับผู้เสพติดสุราที่ได้รับการดูแลตามปกติ กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้เสพติดสุรา ที่เข้ารับการรักษา ในแผนกผู้ป่วยใน สถาบันธัญญารักษ์ ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ จำนวน 32 คน ได้รับการจับกลุ่มตามเพศและ ช่วงอายุ ให้มีความใกล้เคียงกับมากที่สุด แล้วถูกสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 16 คน กลุ่มทดลองได้รับจิตบำบัดประคับประคองแบบกลุ่มที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น 6 ครั้ง ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการทำจิตบำบัดประคับประคองแบบกลุ่ม ซึ่งผ่านการตรวจสอบความจริงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการกำกับการศึกษา คือ แบบประเมินความคิดอัตโนมัติด้านลบของ Hollon&Kendal (1980) และแบบประเมินการเห็นคุณค่าในตนเองของโรเซนเบอร์ก (Rosenberg Self esteem Inventory, 1969) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินภาวะซึมเศร้าของเบค (Beck Depression Inventory, 1967) โดยแบบประเมินทั้ง 3 ชุด มีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอบบาค เท่ากับ .76ม .71 และ .74 ตามลำดับ วิเคราะห์ความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าด้วยสถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้เสพติดสุราภายหลังได้รับการทำจิตบำบัดประคับประคองแบบกลุ่มมีภาวะซึมเศร้าลดลง อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2. ภายหลังการทดลอง ผู้เสพติดสุรากลุ่มที่ได้รับการทำจิตบำบัดประคับประคองแบบกลุ่ม มีภาวะซึมเศร้าลดลง กว่าผู้เสพติดสุราที่ได้รับการดูแลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
Other Abstract: The purposes of this pre test-Post test control group quasi-experimental research were: 1) to compare depression of alcohol dependence before and after received group supportive psychotherapy, and 2) to compare depression among alcohol dependence who received group supportive psychotherapy and those who received regular caring activity. The samples composed of 32 alcohol dependence who met the inclusion criteria and were recruited from in patient unit, Thanyarak Institute. The samples were matched to have similar characteristic by gender and age group and then were randomly assigned into esperimental group and control group, 16 subjects in each group. The experimental group received 6 sessions of group supportive psychotherapy that developed by researcher. The control group received regular caring activity. The research instruments consisted of group supportive psychotherapy plan which was validated for content validity by 5 experts. Automatic Throught Questionnaire of Hollon & Kendal (1980) and Rosenberg Self Esteem Inventory Scale of Rosenberg (1969) were used as monitoring instruments. Data were collected using Beck Depressive Inventory Scale of Beck (1967). Chronbach's Alpha coefficient reliability of the three latter instruments were .76, .71, and .74, respectively. The T-test was used in data analysis to capture the mean different among depression scores. Major finding were as follows: 1. The depression among alcohol dependence who participated in group supportive psychotherapy was significantly lower after the experiment than that before a the .05 level. 2. After the experiment, the depression among alcohol dependence who participated in group supportive psychotherapy was significantly lower than those who received regular caring activities, at the .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/39206
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.323
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.323
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sujitra_Ur.pdf15.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.