Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/39549
Title: | การศึกษาความเป็นไปได้ของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานคลื่นน้ำ และการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษา ปากอ่าวไทย |
Other Titles: | Feasibility study of electrical power generation from wave energy and protection coastal erosion: case study inner gulf of Thailand |
Authors: | สันต์สิริ ศิริสรรหิรัญ |
Advisors: | สมเกียรติ ตั้งจิตสิตเจริญ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Somkiat.T@eng.chula.ac.th |
Subjects: | การผลิตพลังงานไฟฟ้า คลื่นมหาสมุทร การกัดเซาะ (วิศวกรรมชลศาสตร์) -- การป้องกัน Electric power production Ocean waves Scour (Hydraulic engineering) -- Protection |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานคลื่น และการป้องกันการกัดเซาะ บริเวณปากอ่าวไทย โดยการประเมินความเป็นไปได้ในการลงทุนนั้นจะแบ่งออกเป็นสองส่วนหลัก ส่วนแรกจะเป็นการคำนวณพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากอุปกรณ์แปลงพลังงานคลื่น “พิลามิส” ซึ่งปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้จะขึ้นอยู่กับความสูงคลื่นนัยสำคัญและคาบคลื่น ส่วนที่สองจะเป็นการประเมินทางเศรษฐศาสตร์ด้วยตัวชี้วัด ได้แก่ อัตราส่วนผลประโยชน์ในการลงทุนและมูลค่าปัจจุบันสุทธิ การศึกษาการป้องกันการกัดเซาะบริเวณปากอ่าวไทย พบว่า ไม่สามารถที่จะป้องกันการกัดเซาะบริเวณดังกล่าวได้ เนื่องจากการติดตั้งของอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานคลื่นจะมีรูปแบบการติดตั้งที่อยู่นอกชายฝั่ง การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการลงทุนของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานคลื่นนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ (1) เงื่อนไขความเป็นไปได้ในเชิงเทคนิค โดยจะมีมาตรฐานคือจะต้องมีสภาวะคลื่นที่มีความถี่มากที่สุดอยู่ในระดับความสูงคลื่นนัยสำคัญอยู่ที่ 1-3.5 เมตร คาบคลื่น 5-7 วินาที และสามารถผลิตไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง โดยผลที่ได้จากการวิเคราะห์คือ โครงการดังกล่าวไม่มีความเป็นไปได้ในเชิงเทคนิค เนื่องจากเงื่อนไขในเชิงเทคนิคนั้นต่ำกว่ามาตรฐาน โดยพื้นที่อ่าวไทยนั้นมีสภาวะคลื่นที่มีความถี่มากที่สุดอยู่ที่บริเวณสงขลา จะมีระดับความสูงคลื่นนัยสำคัญเพียง 0.125-0.5 เมตร คาบคลื่น 4-6 วินาที และไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง (2) เงื่อนไขความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์ พบว่า โครงการดังกล่าวไม่มีความเป็นไปได้ในเชิงเศรษฐศาสตร์ เนื่องจากอัตราส่วนผลประโยชน์ต่อเงินลงทุนมีค่า 0.08 และมูลค่าปัจจุบันสุทธิมีค่า -209,765,573.65 บาท ดังนั้น ถ้าจะทำให้การลงทุนดังกล่าวเกิดความคุ้มค่า จะต้องมีส่วนเพิ่มอัตรารับซื้อไฟฟ้าถึง 30.61 บาท จากรัฐบาลซึ่งมีความเป็นไปได้ยาก เนื่องจากปัจจุบันส่วนเพิ่มอัตรารับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ได้รับสนับสนุนสูงที่สุดเพียง 8 บาทเท่านั้น |
Other Abstract: | The aim of this research is to study the feasibility to invest the electrical power generation from the wave energy and the protection of the coastal erosion at the Gulf of Thailand. There are two parts in this research to evaluate the investment. The first one is the power calculation which is the calculation of the electrical power generation by using the Pelamis transformer, which depends on the significant wave height (Hs) and the wave period (Tp). The second part is the economic analysis, which is the key performance indicator by using the Benefit to Cost ratio (B/C ratio) and the Net Present Value (NPV). Due to the coastal erosion protection, it is not possible since the Pelamis transformer has to be installed in the offshore, which cannot use to protect the coastal erosion The feasibility analysis for the investment is categorized into two conditions. The first condition is the technical analysis, which has three criteria; the maximum frequency wave in the significant wave height of 1-3.5 meter, the wave period of 5-7 seconds, and the continuous electricity production. According to the technical analysis, the investment cannot be feasible because the wave conditions are below the criteria. Since the maximum frequency wave height in the Songkla area at the Gulf of Thailand is just 0.125-0.5 meter and the wave period is 4-6 seconds, which cannot produce the electricity continuously. In case of the economic analysis, it is not feasible because the benefit to cost ratio is 0.08, and the net present value is -209,765,573.65 baht. Hence, an adder must be supported about 30.61 baht from the government to make it feasible. However, it seems to be impossible since the maximum adder supported for the solar energy is just only 8 baht now. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมอุตสาหการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/39549 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1195 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2012.1195 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
sansiri_si.pdf | 5.45 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.