Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3993
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง-
dc.contributor.authorณรงค์ศักดิ์ โพธิ์อ่อง, 2515--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2007-09-07T02:13:58Z-
dc.date.available2007-09-07T02:13:58Z-
dc.date.issued2543-
dc.identifier.isbn9741308353-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3993-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยลัย, 2543en
dc.description.abstractศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการของคณะกรรมการและประชาชน เกี่ยวกับหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลของคณะสงฆ์หนกลาง ในอุปถัมภ์ของกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับระบบการฝึกอบรม สำหรับหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลของคณะสงฆ์หนกลางในอุปถัมภ์ ของกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ และนำเสนอระบบการฝึกอบรมสำหรับหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล ของคณะสงฆ์หนกลางในอุปถัมภ์ของกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย คณะกรรมการ 75 คน ประชาชนหนกลาง จำนวน 275 คน ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 19 คน ผู้วิจัยได้ใช้เทคนิคเดลฟาย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และเครื่องมือเดลฟาย 3 รอบ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ร้อยละ ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. สภาพของหน่วย อ.ป.ต. ในปัจจุบันมีการดำเนินงานฝึกอบรมประชาชนน้อยมาก หลักสูตรที่ยังคงมีการอบรมอยู่ คือ ศีลธรรม ปัญหาคือคณะกรรมการขาดความรู้ความเข้าใจในการฝึกอบรม ขาดแนวทางในการปฏิบัติ ประชาชนไม่ให้ความร่วมมือจึงมีความต้องการระบบ ที่ใช้เป็นแนวทางในการจัดการฝึกอบรม ของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลหนกลาง 2. ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นสอดคล้องกับข้อความของระบบจำนวน 237 ข้อ จากจำนวน 240 ข้อ 3. ระบบการฝึกอบรมของหน่วย อ.ป.ต. หนกลางประกอบด้วย 3.1 องค์ประกอบ 10 องค์ประกอบ คือ (1) ปรัชญา ปณิธาน และนโยบายการฝึกอบรมโดยมุ่งให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ส่งเสริมอาชีพในท้องถิ่น ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข และสามารถพึ่งพาตนเองได้ (2) วัตถุประสงค์การฝึกอบรม คือ เพื่อสร้างความร่วมมือในชุมชน และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตน (3) หลักสูตรการฝึกอบรม เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนและรักษาวัฒนธรรมท้องถิ่น (4) เทคนิคการฝึกอบรม เน้นการอบรมเชิงปฏิบัติการ ให้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมจริงและมีส่วนร่วม (5) ช่วงเวลาและระยะเวลาที่เหมาะสมในการฝึกอบรมคือ ช่วงเย็นหรือค่ำ (6) วิทยากรฝึกอบรมต้องเป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ พูดภาษาถิ่นได้ (7) ผู้เข้ารับการฝึกอบรม เน้นผู้ที่มีความสนใจในเรื่องที่จะอบรมอย่างแท้จริง (8) สถานที่ฝึกอบรมควรจัดที่วัดเพราะเป็นศูนย์กลางของชุมชน (9) งบประมาณการฝึกอบรมให้มีการจัดหางบสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ และจากการจัดตั้งกองทุนสหกรณ์ และ (10) สื่อที่ใช้ในการฝึกอบรมเน้นของจริงและหอกระจายข่าว เพื่อการอบรมเกี่ยวกับศีลธรรมประจำวันในช่วงเช้ามืด 3.2 ขั้นตอนของระบบมี 7 ขั้นตอนคือ (1) การศึกษาปรัชญา ปณิธานและนโยบายการฝึกอบรม ; (2) การศึกษาวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม ; (3) การกำหนดหลักสูตรการฝึกอบรม ; (4) การหาความต้องการจำเป็นในการฝึกอบรม ; (5) การออกแบบการฝึกอบรม โดยการกำหนดเทคนิคการฝึกอบรม, การกำหนดช่วงเวลาและระยะเวลา, เลือกวิทยากรการ, เลือกผู้เข้ารับการอบรม, การกำหนดสถานที่ฝึกอบรม การจัดหางบประมาณการฝึกอบรมและกำหนดสื่อที่ใช้ในการฝึกอบรม ; (6) การดำเนินการฝึกอบรมและ (7) การประเมินผลและติดตามผลการฝึกอบรมen
dc.description.abstractalternativeTo study status, problems, and needs of committees and local people regarding tambon training unit of sangha central region ; to obtain specialists' opinions concerning training system ; and to propose training system for tambon training unit of sangha central region. The samples consisted of seventy-five tambon training unit committees, two-hundred and seventy-five local people in central region and nineteen training specialists. The methodology used was the delphi technique. The data were collected by means of questionnaires and interview instrument and three-rounds of delphi instruments. The data were analyzed by percentage, median and interquartile range. The results indicated that: 1. The tambon training units of sangha central region rarely conducted training program; moral training was mostly conducted program; the committees lack of knowledge and understanding in training, lack of training plan or procedure; a very few local people co-operated with tambon training unit; the training units really needed a training system as guideline consisted of : 3.1 Ten training components : (1) philosophy, aspiration, and policy: people should have better quality of life, support local occupation, share happy and self-supported life; (2) training objectives focus on construct community, co-operative society and solving community problems; (3) training curriculums should emphasize on community participation and preserve local culture; (4) training techniques should be workshop, action learning and participation; (5) most appropriate time and duration is in the evening or at night ; (6) resource persons should be knowledgeable and highly experienced and can speak central region dialect ; (7) trainees should be really interested in the training program ; (8) training location should be in temples; (9) budget should be obtained from other organizations and from co-op's profits; (10) training media should be real object and village public announcement to broadcast moral program in the early morning. 3.2 Seven training steps : (1) study philosophy, mission and policy; (2) study training objectives; (3) identify training curriculum; (4) assess training needs; (5) design training by selecting training technique, allocate time and schedule, selecting resource person, select trainees, deciding training location, obtain supported budget; (6) conduct training; and (7) evaluate and follow-up studyen
dc.format.extent3178423 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการฝึกอบรมen
dc.subjectหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลen
dc.titleการนำเสนอระบบการฝึกอบรมสำหรับหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล ของคณะสงฆ์หนกลางในอุปถัมภ์ของกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการen
dc.title.alternativeA proposed training system for Tambon Training Unit of sangha central region, supported by Department of Religious Affairs, Ministry of Educationen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineโสตทัศนศึกษาen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorOnjaree.N@chula.ac.th-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Narongsak.pdf2.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.