Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/403
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรัตนา พุ่มไพศาล-
dc.contributor.advisorสุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม-
dc.contributor.authorอัญชลี ทองคำ, 2515--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-06-21T02:18:31Z-
dc.date.available2006-06-21T02:18:31Z-
dc.date.issued2546-
dc.identifier.isbn9741754124-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/403-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ลักษณะการเรียนรู้ของตำรวจตระเวนชายแดนในบทบาทการพัฒนาชุมชน 2) วิเคราะห์เส้นทางการเรียนรู้ของตำรวจตระเวนชายแดนในบทบาทการพัฒนาชุมชน 3) นำเสนอแนวทางการพัฒนาการเรียนรู้ของตำรวจตระเวนชายแดนในบทบาทการพัฒนาชุมชน วิธีดำเนินการวิจัยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ และใช้วิธีการศึกษาแบบพหุกรณีศึกษา ประกอบด้วยการศึกษาเอกสาร การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการทำสนทนากลุ่ม จากกรณีศึกษา 6 คน ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาการลดทอนข้อมูล และการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะการเรียนรู้ของตำรวจตระเวนชายแดนในบทบาทการพัฒนาชุมชนมีทั้งหมด 7 ลักษณะ ได้แก่ 1) การเรียนรู้จากการปฏิบัติงานตามคำสั่ง 2) การเรียนรู้จากนายโดยนายเป็นต้นแบบในการเรียนรู้ 3) การเรียนรู้จากการอ่านการค้นคว้าด้วยตนเอง 4) การเรียนรู้จากเพื่อนร่วมงาน 5) การเรียนรู้จากชาวบ้านและภูมิปัญญาท้องถิ่น 6) การเรียนรู้จากการแก้ปัญหา 7) การเรียนรู้จากประสบการณ์ ส่วนเส้นทางการเรียนรู้ของตำรวจตระเวนชายแดนในบทบาทการพัฒนาชุมชนแบ่งออกเป็น 4 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ 1 ตั้งแต่ 1-3 ปีของการทำงาน ซึ่งเรียกว่าช่วงพร้อมรับปรับปรุง มีลักษณะการเรียนรู้ 4 ลักษณะคือ 1) การเรียนรู้จากการปฏิบัติงานตามคำสั่ง 2) การเรียนรู้จากนายโดยนายเป็นต้นแบบในการเรียนรู้ 3) การเรียนรู้จากการอ่านการค้นคว้าด้วยตนเอง 4) การเรียนรู้จากเพื่อนร่วมงาน ส่วนช่วงที่ 2 ตั้งแต่ 4-6 ปี ของการทำงาน ซึ่งเรียกว่าช่วงมุ่งมั่นฟันฝ่า มีลักษณะการเรียนรู้ 5 ลักษณะ โดยที่ 4 ลักษณะแรกยังคงเหมือนกับช่วงที่ 1 แล้วเพิ่มลักษณะที่ 5 เข้ามาคือ การเรียนรู้จากชาวบ้านและภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับช่วงที่ 3 ตั้งแต่ 7-9 ปีของการทำงาน ซึ่งเรียกว่าช่วงเกิดการพัฒนา มีลักษณะการเรียนรู้ 6 ลักษณะ โดยที่ 5 ลักษณะแรกยังคงเหมือนกับช่วงที่ 2 แล้วเพิ่มลักษณะที่ 6 เข้ามาคือ การเรียนรู้จากการแก้ปัญหา และช่วงที่ 4 คือ 10 ปีขึ้นไป จนกระทั่งเกษียณอายุราชการ ซึ่งเรียกว่าช่วงสู่มืออาชีพ มีลักษณะการเรียนรู้ทั้งหมด 7 ลักษณะ โดยที่ 6 ลักษณะแรกยังคงเหมือนกับช่วงที่ 3 แล้วเพิ่มลักษณะที่ 7 เข้ามาคือ การเรียนรู้จากประสบการณ์ ส่วนแนวทางการพัฒนาการเรียนรู้ของตำรวจตระเวนชายแดนในบทบาทการพัฒนาชุมชน นั้น แบ่งออกเป็น 2 แนวทาง ได้แก่ แนวทางที่ 1 คือ แนวทางที่เกิดขึ้นภายในตนเองเพื่อเสริมสร้างความใฝ่เรียนใฝ่รู้ และความพร้อมที่จะพัฒนาตนเองในทุกๆ ด้าน ส่วนแนวทางที่ 2 คือ แนวทางที่เกิดจากภายนอกคือหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมด้วยกิจกรรมการจัดอบรม การจัดทัศนศึกษา และการสร้างขวัญและกำลังใจen
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to analyze border patrol police's ways of learning in the role of community development and analyze their steps of learning to propose a guideline for border patrol police in the role of community development. A multiple case study of six cases were conducted by the qualitative approach. The data were collected through documentary research, participant observation, informal interview, depth-interview, and focus group interview. The procedure to analyze data conducted with detail analysis, and decreasing data including inductive. The result of the research found that there were seven aspects of border patrol police's ways of learning in the role of community development: (1) learning from doing according to commanding, (2) learning from immediate boss as the boss is the model of learning, (3) learning by reading and doing self-research, (4) learning from colleagues, (5) learning fro villagers and local wisdom, (6) learning from problem resolving, and (7) learning from experiences. Steps of border patrol police,s ways of learning in the role of community development could be divided into four phases. The first phase appears between 1-3 years of working called "ready to adjust period". It consists of four features of learning: learning from doing according to commanding, learning from immediate boss as the boss was the model of learning, learning by reading and doing self-research, learning from colleagues. The second phase, called "great determination period" to get through emerges between 4-6 years of work duration. It have five features of learning. The first four features were similar to the first phase, adding learning from villagers and local wisdom as the fifth feature. The third phase, emerge between 7-9 years of working, called "the period of developing" that consists of six features of learning. The first five features were similar to second phase, adding learning from problem solving as the sixth feature. The fourth phase appeared since the tenth year of working until retirement called "professional period". The first six features were similar to third phase, adding learning from experience as the seventh feature. The guidelines to develop border patrol police's ways of learning in the role of community development could be divided into two aspects. The first aspect was internal development for learning curiosity, and readiness to develop themselves in all aspects. The second aspect was external supports from the office through training, study tour, and moral support activities.en
dc.format.extent1533024 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2003.387-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการเรียนรู้en
dc.subjectตำรวจตระเวนชายแดนen
dc.subjectการพัฒนาชุมชนen
dc.titleการวิเคราะห์ลักษณะการเรียนรู้ของตำรวจตระเวนชายแดนในบทบาทการพัฒนาชุมชน : กรณีศึกษาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทราen
dc.title.alternativeAn analysis of border patrol police's ways of learning in the role of community development : a case study of border patrol police school in Amphoe Sanam Chai Khet, Changwat Chachoengsaoen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineการศึกษานอกระบบโรงเรียนen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSuwatana.S@chula.ac.th-
dc.email.advisorRatana.P@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2003.387-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
AnchaleeThong.pdf1.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.