Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4129
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิวัฒน์ ก่อกิจ-
dc.contributor.authorกมลรัตน์ ตั้งกิจงามวงศ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2007-09-17T11:36:08Z-
dc.date.available2007-09-17T11:36:08Z-
dc.date.issued2542-
dc.identifier.isbn9743344691-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4129-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542en
dc.description.abstractพรูริติค พับพูล่าร์ อีรับชั่น เป็นโรคผิวหนังที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยติดเชื้อ เอช ไอ วี มีการดำเนินโรคเรื้อรังทำให้เกิดอาการคันอย่างรุนแรง และยังไม่มีวิธีรักษาที่ได้ผลดีนัก การวิจัยนี้ศึกษาประสิทธิภาพของยาเพ็นท็อกซิฟิลลีน เปรียบเทียบกับยาหลอกในการรักษาโรคพรูริติค พับพูล่าร์ อีรับชั่น ในผู้ป่วยจำนวน 40 ราย ใช้วิธีการศึกษาแบบ randomized double-blinded placebo controlled trial ผู้ป่วย 20 ราย ได้รับยาเพ็นท็อกซิฟิลลีน และผู้ป่วย 20 ราย ได้รับยาหลอก ผู้ป่วยรับประทานยาเพ็นท็อกซิฟิลลีน วันละ 1,200 มก. (เม็ดละ 400 มก. ครั้ง 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง) ติดต่อกันเป็นเวลา 12 สัปดาห์ นัดผู้ป่วยเพื่อติดตามผลการรักษาในสัปดาห์ที่ 2, 4, 8, 12 และ 16 ตาลำดับ โดยดูจากการเปลี่ยนแปลงจำนวนรอยโรค, อาการคัน และภาพถ่าย ผลการรักษาพบว่าที่ 12 สัปดาห์ ผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม มีการเปลี่ยนแปลงของจำนวนรอยโรคและอาการคันรวมทั้งภาพถ่ายดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) เมื่อครบ 16 สัปดาห์ พบว่า ผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม ยังคงมีจำนวนรอยโรคและอาการคันลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) เช่นเดิม แต่เมื่อเปรียบเทียบระหว่างผู้ป่วย 2 กลุ่มทั้งเรื่องการลดลงของจำนวนรอยโรคและอาการคัน และการดีขึ้นของภาพถ่าย พบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ในการติดตามผลข้างเคียงของการรักษา พบว่าในกลุ่มที่ได้รับยาเพ็นท็อกซิฟิลลีน 2 ราย มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน โดย 1 ราย มีอาการมากจนจำเป็นต้องออกจากการศึกษา 1 ราย มีอาการนอนไม่หลับ กระสับกระส่าย และ 1 ราย เกิดผื่นแพ้ยา ส่วนกลุ่มที่ได้รับยาหลอกมีคนไข้ 1 ราย เกิดผื่นแพ้ยา จากการศึกษาครั้งนี้ สรุปได้ว่า การรับประทานยาเพ็นท็อกซิฟิลลีนติดต่อกันเป็นเวลา 12 สัปดาห์ ให้ผลการรักษาโรคพรูริติค พับพูล่าร์ อีรับชั่น ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเทียบกับการรักษาด้วยยาหลอก (P<0.05)en
dc.description.abstractalternativePruritic papular eruption (PPE) is a common chronic manifestation of HIV infection. Pruritus associated with PPE is severe and most treatment yield only partial relief. This randomized-controlled double-blinded study was conducted to compare the effectiveness of pentoxifylline to that of placebo in the treatment of pruritic papular eruption. Twenty patients received pentoxifylline while twenty received placebo. The patients received pentoxifylline at a daily dosage of 1,200 mg. (400 mg., three times a day) for 12 weeks. Follow-up visits took place at weeks 2, 4, 8, 12 and 16. The severity of the clinical signs and symptoms was documented. After the 12 week treatment, number of lesions, severity of pruritus, and photographs were statistically significantly better when compared to the baseline (P<0.05) in both groups. During the follow-up period, the patients in both groups still maintained the improvement, which is, again, significantly better than baseline. However, there is no statistically significant difference (P>0.05) between the two treatment groups. Adverse events were noted in 6 patients in pentoxifylline group, and 1 patients in placebo group. In the pentoxifylline group, 2 patients had nausea and vomitting, 1 patient had dizziness, 1 patient had agitation and sleep disturbance and 1 patient had drug eruption. There was a patient who had drug eruption from placebo. In conclusion, there is no statistically significant difference between 12-week ingestion of pentoxifylline and placebo for the treatment of pruritic papular eruptionen
dc.format.extent11197889 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectยาหลอกen
dc.subjectพรูริติคพับพูล่าร์อีรับชันen
dc.subjectการติดเชื้อเอชไอวีen
dc.subjectเพนท็อกซิฟิลลีนen
dc.titleประสิทธิภาพของยาเพ็นท็อกซิฟิลลีน เทียบกับยาหลอกในการรักษาผู้ป่วยโรคพรูริติค พับพูล่าร์อีรับชั่น ที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์en
dc.title.alternativeEffectiveness of pentoxifylline and placebo in the treatment of pruritic papular eruption at King Chulalongkorn Memorial Hospitalen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineอายุรศาสตร์en
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kamolrat.pdf6.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.