Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41341
Title: | การศึกษาความชุกและความเสี่ยงของโรคพาร์กินสันในนักมวยไทย |
Other Titles: | The prevalence and rerating factors of parkinson's disease among Thai Boxers |
Authors: | ประวีณ โล่ห์เลขา |
Advisors: | รุ่งโรจน์ พิทยศิริ กัมมันต์ พันธุมจินดา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความชุกของโรคพาร์กินสัน ในนักมวยไทย ที่มา โรคพาร์กินสันในนักมวยเป็นกลุ่มอาการทางการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติซึ่งพบในนักมวย เชื่อว่าเกิดจากการได้รับการกระทบกระเทือนที่ศีรษะสะสมเป็นเวลานาน แม้ว่าในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่าการบาดเจ็บที่ศีรษะเป็นเวลานานก่อให้เกิดอาการของโรคพาร์กินสันได้หรือไม่ แต่เชื่อว่าน่าจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคพาร์กินสันได้ ในประเทศไทยมวยเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมสูง มีนักมวยเป็นจำนวนมากจึงเป็นโอกาสดีที่จะศึกษาถึงความชุกและความสัมพันธ์ของการเกิดโรคพาร์กินสันในนักมวย วิธีการศึกษา นักมวยที่ลงทะเบียนกับสมาคมนักมวยทุกท่านจะได้รับแบบสอบถามถึงอาการ ของโรคพาร์กินสันทางไปรษณีย์ นักมวยที่มีอาการของโรคพาร์กินสันจากแบบสอบถามและตอบแบบสอบถามกลับ จะได้รับเชิญให้มาตรวจร่างกายเพิ่มเติม เพื่อประเมินอาการของโรคพาร์กินสันโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางระบบประสาท การวินิจฉัยโรคพาร์กินสันใช้เกณฑ์การวินิจฉัยตาม UKPDSBB ผลการศึกษา จากนักมวย 1,005 คนที่มีชื่อในทะเบียน 704 คนหรือ 70% ส่งแบบสอบถามกลับ ในจำนวนนี้พบว่ามี นักมวย 8 รายมีอาการ parkinsonism โดยมีนักมวยที่ป่วยเป็นโรคพาร์กินสันทั้งหมด 5 ราย โรคพาร์กินสันที่เกิดจากหลอดเลือดสมองอีก 2ราย โรค progressive supranuclear palsy 1 ราย นอกจากนี้ยังพบโรคในกลุ่มการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ ได้แก่ cervical dystonia, blephalospasm และ Meige ‘s syndrome. นักมวยที่มีอาการของโรคพาร์กินสันมีอายุที่มากกว่ากลุ่มที่ไม่มีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (71.2 ± 5.3 vs. 57.1 ± 0.8, p = 0.003) การขึ้นชกมวยมากกว่า 100 ครั้งมีความสัมพันธ์ กับการเกิดโรคพาร์กินสันในนักมวยอย่างมีนัยสำคัญ (p=0.01) ความชุกของโรคพาร์กินสันในนักมวยไทยเท่ากับ 0.71% (95% CI: 0.09 to 1.33) ในขณะที่ความชุกในประชากรทั่วไปจากการศึกษาเบื้องต้นเท่ากับ 0.29%( 95%CI: 0.22 to 0.39) สรุปผลการศึกษา ความชุกของโรคพาร์กินสันที่เพิ่มขึ้น แสดงถึงความสัมพันธ์ของการบาดเจ็บที่ศีรษะสะสมเป็นเวลานานกับการเกิดโรคพาร์กินสันในนักมวยไทย การขึ้นชกมวยมากกว่า 100 ครั้ง และอายุที่เพิ่มขึ้นเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคพาร์กินสันในนักมวยไทย |
Other Abstract: | Objective: To determine the prevalence of Parkinson’s disease (PD) in Thai boxers Background: “ Pugilistic parkinsonism “ refers to a parkinsonian syndrome that results from long-term cumulative consequences of subclinical concussions to the head. Current epidemiologic studies offer weak relationship between trauma and PD. In Thailand, boxing remains a popular sport, offering a unique population to study the prevalence of parkinsonism as well as to determine if posttraumatic parkinsonism is identical to PD. Methods: Two standardized validated screening questionnaires were sent to all registered boxers in Thailand. All demographic data were collected. Subjects who screened positive for parkinsonism were invited for clinical examination by two independent neurologists. Probable PD was diagnosed based on UKPDSBB Criteria. Results: Among 1,005 boxers, 704 boxers (70%) completed the questionnaires. Of those, 8 boxers had parkinsonism; 5 with PD, 1 with progressive supranuclear palsy and 2 with vascular parkinsonism. Other movement disorders included cervical dystonia, blephalospasm and Meige’s syndrome. Boxers with PD had older mean age comparing to those without PD (71.2 ± 5.3 vs. 57.1 ± 0.8, p = 0.003). Multivariate analysis of probable risk factors disclosed an association between number of bouts (>100) and PD (p=0.01). The crude prevalence rate of PD in Thai boxers was 0.71 %( 95% CI: 0.09 to 1.33), compared to 0.29%( 95%CI: 0.22 to 0.39) in the general population in the previous study. Conclusions: The higher prevalence rate of PD in our study may suggest possible relationship between chronic repetitive head injury and the development of PD. Number of bouts (>100) and old age are the risk factors. At present, a longitudinal study is being conducted to determine the natural history of these patients. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | อายุรศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41341 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Praween_lo_front.pdf | 1.59 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Praween_lo_ch1.pdf | 964.32 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Praween_lo_ch2.pdf | 2.97 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Praween_lo_ch3.pdf | 1.28 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Praween_lo_ch4.pdf | 2.41 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Praween_lo_ch5.pdf | 917.19 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Praween_lo_back.pdf | 1.89 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.