Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41345
Title: การวิเคราะห์จีโอทยูบเพื่อการป้องกันชายฝั่ง
Other Titles: Analysis of Geotube for Beach Protection
Authors: อภิชัย อึ้งประเสริฐ
Advisors: สุพจน์ เตชวรสินสกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ได้ศึกษาถึง Geotube เพื่อใช้ในการป้องกันชายฝั่ง การใช้ Geotube ให้มีประสิทธิภาพนั้นสามารถวิเคราะห์ได้โดยใช้วิธีไฟไนท์อิลิเมนต์ (Finite Element Method) งานวิจัยนี้แบ่งการศึกษาเป็น 2 ส่วน โดยส่วนแรกใช้โปรแกรม PLAXIS และ ส่วนที่สองวิเคราะห์ด้วย STAAD.Pro จากการศึกษาโดยใช้โปรแกรม PLAXIS วิเคราะห์การรับแรงดึงของ Geotextile ของแผ่นรองพื้น พบว่าบริเวณด้านล่างของแผ่นรองพื้น จะมีการรับแรงมากกว่าด้านบน ประมาณ 2-3 เท่า ส่วนการทรุดตัวของแผ่นรองพื้น ด้านล่าง จะมีการทรุดตัวมากกว่า แสดงให้เห็น ยิ่งค่า EA มากขึ้นเท่าใด ส่วนต่างระหว่าง แรงดึงด้านบนและแรงดึงด้านล่างจะมีมากขึ้นด้วย EA ที่มากจะทำให้วัสดุมีการกระจายแรงได้มากกว่าทำให้มีลักษณะคล้าย Rigid ผลจากการกระจายแรงทำให้ Effective stress น้อยลง การทรุดตัวก็น้อยลงตาม การวิเคราะห์แบบจำลองการทรุดตัวในระยะสั้นจากการใช้ทฤษฎี Elastic, การใช้โปรแกรม plaxis, สูตรของ Christian and Carrier (1978) นั้นได้ค่าที่เปรียบเทียบกับค่าจริงใกล้เคียงกับสูตรของ Chistian and Carrier (1978) มากที่สุด แต่การทรุดตัวระยะยาวนั้นค่าที่ทรุดจริงที่ก่อสร้างแล้วเสร็จที่บริเวณคลองด่าน ซึ่งมีการก่อสร้างไปประมาณ 3 ปี มีการทรุดตัวเร็วกว่าค่าที่ได้จากใช้โปรแกรมทำ consolidation ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมการครีพแบบไม่ระบายน้ำ และจากการศึกษาโดยใช้โปรแกรม STAAD.Pro มาวิเคราะห์แนวโน้มการรับแรงของ Geotextile และรูปร่างที่เปลี่ยนไป ความหนาของ Geotube มีผลกับการรับแรง ยิ่ง Geotube มีความหนากมากเท่าใดแรงที่กระทำกับเส้นใยนั้นก็จะมีค่าใกล้เคียงกันมากขึ้น ค่าการรับแรงที่มากที่สุดมีการเพิ่มขึ้นแต่ก็ไม่มากเมื่อเทียบกับค่า EA ที่เพิ่มขึ้นและการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของ Geotube พิจารณาได้เพียงคร่าว ๆ ว่าจะมีรูปร่างแบบใด แต่ไม่ควรใช้พิจารณาแรงที่กระทำของ Geotextile เพราะยังมีส่วนประกอบหลายอย่างที่ต้องพิจารณาด้วยเช่น แรงเสียดทานของดินและ Geotextile การถ่ายแรงจากส่วนต่าง ค่า Elastic ของดิน การซึมผ่านของน้ำของ Geotextile และการก่อสร้างที่แตกต่างกัน
Other Abstract: The purposes of this research are to study the use of Geotube in an effective way. Finite Element Method (FEM) is the method to analysis for that purpose. This paper study two parts; the first part is using PLAXIS and the second part is using STAAD.Pro. The result of study from PLAXIS analysis tension of geotextile in Apron found that under Apron has more tension than above about 2-3 times and also has more settlement. It shown that more EA made more different tension. Amany EA can expand load more than less EA and like rigid so Effective stress is less and settlement is less than in method of analysis immediately settlement from Elastic theory, PLAXIS and theory of Christian and Carrier (1978) compare with site construction is near theory of Christian and Carrier but long-term settlement 3 year in Klongdarn the settlement are more faster than analysis by using PLAXIS because behavior is undrain – creep settlement. Second part using Stadd.pro to analyze tension and displacement of geotextile. Found that Thickness or Elastic of geotube is proportion to tension load in geotextile. Displacement of Geotube can analysis but tension load is not complete because have many factor to consider example friction, expansion lad in soil, permeability and construction
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41345
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Apichai_eu_front.pdf2.16 MBAdobe PDFView/Open
Apichai_eu_ch1.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open
Apichai_eu_ch2.pdf19.15 MBAdobe PDFView/Open
Apichai_eu_ch3.pdf3.91 MBAdobe PDFView/Open
Apichai_eu_ch4.pdf5.44 MBAdobe PDFView/Open
Apichai_eu_ch5.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open
Apichai_eu_back.pdf28.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.