Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41563
Title: กระบวนการสื่อสารในการขัดเกลาทางสังคมของนักเรียนนายร้อยโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
Other Titles: Communication process in socialization of the Chulachomklao royal military academy cadets
Authors: พัทธพีร์ มะลิสุวรรณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
เมตตา วิวัฒนานุกูล
Advisor's Email: Metta.V@Chula.ac.th
Subjects: วัฒนธรรมองค์การ
การสื่อสารในองค์การ
สังคมประกิต
นักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
Corporate culture
Communication in organizations
Socialization
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัฒนธรรมองค์กร กระบวนการสื่อสารในการขัดเกลาทางสังคม และปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการสื่อสารของโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รวมถึงการปรับตัวของนักเรียนนายร้อย โดยใช้การศึกษาเอกสาร การสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม แบบสัมภาษณ์นายทหารปกครอง อาจารย์ และนักเรียนนายร้อย จำนวน 23 คน และการสำรวจด้วยแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างนักเรียนนายร้อย จำนวน 130 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. วัฒนธรรมโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าสร้างขึ้นจากการจำลองแบบวัฒนธรรมสังคมทหาร จากการศึกษาเอกสารของโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าพบว่า อุดมการณ์และค่านิยมหลักที่ระบุไว้ ได้แก่เรื่องความจงรักภักดี การรักษาไว้ซึ่งเกียรติของนักเรียนนายร้อย การเคารพเชื่อฟังรุ่นพี่อาวุโสกว่า ความรัก ความสามัคคีระหว่างรุ่นพี่และรุ่นน้อง การมีคุณธรรม ซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบสูง และการเป็นผู้มีความเหมาะสมในการเป็นผู้นำทหาร ซึ่งจากการศึกษาการรับรู้ของนักเรียนนายร้อย ในเรื่องอุดมการณ์และค่านิยม การเน้นย้ำพฤติกรรมจากทางโรงเรียนนายร้อย และพฤติกรรมที่นักเรียนนายร้อยปฏิบัติ พบว่าความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และการเคารพเชื่อฟังรุ่นพี่อาวุโสกว่ามีคะแนนสูงสุด 2. การขัดเกลาทางสังคมของโรงเรียนนายร้อยมีการสื่อสารอย่างเป็นกระบวนการตั้งแต่ การกำหนดคุณลักษณะของนักเรียนผู้บังคับบัญชาในฐานะผู้ส่งสาร การปรับพื้นฐานของนักเรียนนายร้อยให้เท่าเทียมกันในฐานะผู้รับสาร มีการใช้สื่อและช่องทางต่างๆ ตั้งแต่สื่อบุคคล กิจกรรมภายในและภายนอกสถาบัน หนังสือคู่มือ คำขวัญ และเพลงประจำสถาบัน โดยพบว่าสื่อที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของนักเรียนนายร้อยมากที่สุด คือสื่อบุคคล ในด้านสาร มีการกำหนดการใช้ภาษาและอวัจนภาษา เช่นคำเรียกชื่อ การกำหนดทางเดิน ฯลฯ 3. ปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อการขัดเกลาทางสังคมและการคงรักษาค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กรให้คงอยู่ ได้แก่กฎระเบียบและระบบควบคุมภายในสถาบันซึ่งมีการเน้นย้ำผ่านทั้งสื่อบุคคลและบทลงโทษ และอิทธิพลของกลุ่มเพื่อนที่จะร่วมมือหรือหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่กำหนดไว้ 4. ระดับความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติ และการปฏิบัติตามระบบปฏิบัติ และวัฒนธรรมประเพณีต่างๆ ตลอดจนการเปิดรับสื่อมวลชน ไม่มีผลต่อการปรับตัวของนักเรียนนายร้อย แต่พบว่าอิทธิพลจากกลุ่มเพื่อนมีผลต่อการปรับตัวของนักเรียนนายร้อยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Other Abstract: The main purposes of this qualitative research were to investigate formal organizational culture, communication process in socialization of The Chulachomklao Royal Military Academy, factors that affected the socialization process, and cadets’ adaptation. Multiple methodology: documentary study, non-participant observation and, in-depth interview, was conducted with 23 military officers and cadets, and questionnaires were collected from 130 cadet samples. The results are as follow: 1. Organizational culture of The Chulachomklao Royal Military Academy Cadets imitates army organizational culture. Findings from Documentary study show that the main ideology and organizational value of CRMA are “loyalty to the King”, “cadets’ honour”, “seniority”, “unity”, “honesty”, “responsibility” and “leadership”. However, “loyalty to the King” and “seniority” is found to be the most recognized values from the perception and complying behaviors of cadets, and the behaviors reinforced by the school. 2. Socialization of CRMA is done through a communication process by determining qualification of commanders’ characteristics, readjusting cadets’ background, using a variety of media and channel, i.e. personal media, activities, handbooks, mottos and institutional songs, and communicating through both verbal and non-verbal language such as name calling, the restriction of walk path, etc. Personal media is found to be the most influential. 3. Other related factors affecting socialization process are “organization rule and control system” emphasized by both personal media and punishment, and “peer group influence”. 4. Cognitive, affective and behavioral level of communication competence, including mass media exposure is found to have no statistically significant relationship with cadets’ adaptation, while peer-group influence has.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วาทวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41563
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.38
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.38
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pattapee_Ma.pdf2.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.