Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41940
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรรณศิลป์ พีรพันธุ์-
dc.contributor.authorตรีชาติ เลาแก้วหนู-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2014-03-25T12:45:50Z-
dc.date.available2014-03-25T12:45:50Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41940-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการสร้างกรอบแนวทางเพื่อการอนุรักษ์ชุมชนเมืองห้วยยอด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประวัติศาสตร์ พัฒนาการการตั้งถิ่นฐาน ระบบโครงสร้างเมือง ตลอดจนองค์ประกอบด้านกายภาพ เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรมที่มีคุณค่าและเอกลักษณ์ของเมืองห้วยยอด 2) วิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน การมีส่วนร่วมของประชาชนในการวางแผน ตลอดจนวิเคราะห์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูเมือง 3) เสนอแนะแนวทางการอนุรักษ์และฟื้นฟูชุมชนเมืองที่เหมาะสมและสอดคล้องกับการเป็นเมืองพาณิชยกรรมเก่าแก่ และ 4) เสนอแนวทางการบริหารจัดการ โครงสร้างองค์กร การตรวจสอบและประเมินผล ในขั้นการนำแผนไปปฏิบัติ จากการศึกษาพบว่า เมืองห้วยยอดเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยคุณค่าและเอกลักษณ์ที่โดดเด่นทั้งในด้านประวัติศาสตร์ ด้านสุนทรียภาพ ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคมวัฒนธรรม ซึ่งกระจุกตัวอยู่ในบริเวณศูนย์กลางเมืองย่านชุมชนตลาดห้วยยอดริมถนนเพชรเกษม แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงบทบาทของเมืองจากเมืองพาณิชยกรรมมาเป็นเมืองที่อยู่อาศัย ประกอบกับการขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดความเสื่อมถอยในคุณค่าและเอกลักษณ์ของเมือง นอกจากนั้นยังพบว่าสถานการณ์การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์อยู่ในเกณฑ์ที่ดี แต่ในการนำแผนไปปฏิบัติยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรความสัมพันธ์ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องยังอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ แนวทางในการอนุรักษ์และฟื้นฟูเมืองห้วยยอด ที่เสนอแนะเป็นผลจากระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกขั้นตอน ตั้งแต่ การสำรวจข้อมูล การวิเคราะห์ การเสนอแนะแนวทาง การนำแผนไปปฏิบัติจริงและการตรวจสอบประเมินผล ซึ่งแนวทางการอนุรักษ์และฟื้นฟูเมืองห้วยยอดประกอบด้วย 1) แนวทางเพื่อการเป็นเมืองต้นแบบด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูชุมชนเมือง 2) แนวทางเพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูชุมชนเมืองแบบมีส่วนร่วม และ 3) แนวทางเพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูเมืองอย่างยั่งยืน ภายใต้โครงสร้างการบริหารจัดการมรดกทางวัฒนธรรมในรูปของประชาคม “ห้วยยอด ... บ้านเรา”-
dc.description.abstractalternativeThis thesis is a cooperative action research with the local, aiming at proposing guidelines framework for conservation and regeneration of Huay Yot town administration. The Objectives of this research are : 1) to study local values and identities of the town in terms of history, settlement evolution, urban structure, physical characters, and socio-economic situation, 2) to study and analyze the current situation of local conservation and regeneration process including, public participation level and stakeholders, 3) to propose conservation and regeneration guidelines that suitable for the former commercial town, and 4) to propose guidelines for local planning management, organization, implementation and evaluation. The result of the study reveals that Huay Yot town is packed with heritage values and identities in terms of history, aesthetics, economic, and social and culture which are clustered around the marketplace next to Petchkasem road. As the role of the town has changed from commercial to residential and the town has expanded rapidly, its values and identities has been declined. The study also reveals that the situation of public participation in urban conservation has been in a satisfying stage. However, planning implementation has not been successful. The relationship of stakeholders has been at the low level. The proposed conservation and regeneration guidelines for Huay Yot town have been has been the results of public participation process in every stage including, survey, analysis, guideline formation, implementation and evaluation. They consist of 1) guidelines of being a role model for urban conservation and regeneration, 2) guidelines for participatory urban conservation and regeneration, and 3) guidelines for sustainable urban conservation and regeneration under a heritage management structure of “Huay Yot … Baan Rao” community network.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.126-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการฟื้นฟูเมือง -- ไทย -- ห้วยยอด (ตรัง)-
dc.subjectชุมชน -- การอนุรักษ์-
dc.subjectการคุ้มครองภูมิทัศน์ -- ไทย -- ห้วยยอด (ตรัง)-
dc.subjectการพัฒนาเมือง -- ไทย -- ห้วยยอด (ตรัง)-
dc.titleแนวทางการอนุรักษ์และฟื้นฟูเมืองห้วยยอด จังหวัดตรังen_US
dc.title.alternativeConservation and regeneration guidelines for Huay Yot Town, Trang Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameการวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการวางผังชุมชนen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.126-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Treechart_lo_front.pdf5.11 MBAdobe PDFView/Open
Treechart_lo_ch1.pdf2.59 MBAdobe PDFView/Open
Treechart_lo_ch2.pdf15.13 MBAdobe PDFView/Open
Treechart_lo_ch3.pdf8.09 MBAdobe PDFView/Open
Treechart_lo_ch4.pdf17.09 MBAdobe PDFView/Open
Treechart_lo_ch5.pdf19.3 MBAdobe PDFView/Open
Treechart_lo_ch6.pdf13.28 MBAdobe PDFView/Open
Treechart_lo_ch7.pdf12.03 MBAdobe PDFView/Open
Treechart_lo_back.pdf55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.