Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42249
Title: ผลของการใช้สาระอิงบริบทและวีดิทัศน์ตามประสงค์ในการศึกษานอกสถานที่เสมือนที่มีต่อกระบวนการคิดวิเคราะห์ของนิสิตระดับปริญญาบัณฑิต
Other Titles: Effect of anchored instruction and video on demand in virtual field trip toward analytical thinking process of graduate students
Authors: พิมพ์ชนก โพธิปัสสา
Advisors: ใจทิพย์ ณ สงขลา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Jaitip.N@Chula.ac.th
Subjects: ทัศนศึกษา
การศึกษานอกสถานที่
ความคิดและการคิด
วีดิทัศน์ตามประสงค์
School field trips
Thought and thinking
Video dial tone
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตระดับปริญญาบัณฑิตที่เรียนด้วยบทเรียนวีดิทัศน์ตามประสงค์ในการศึกษานอกสถานที่เสมือนโดยใช้สาระอิงบริบท 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตระดับปริญญาบัณฑิตที่เรียนด้วยบทเรียนวีดิทัศน์ตามประสงค์ในการศึกษานอกสถานที่เสมือนโดยใช้สาระอิงบริบทและนิสิตระดับปริญญาบัณฑิตที่เรียนด้วยบทเรียนวีดิทัศน์ตามประสงค์ในการศึกษานอกสถานที่เสมือน และ 3) เพื่อศึกษากระบวนการคิดวิเคราะห์ของนิสิตระดับปริญญาบัณฑิตที่เรียนด้วยบทเรียนวีดิทัศน์ตามประสงค์ในการศึกษานอกสถานที่เสมือนโดยใช้สาระอิงบริบท กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นิสิตระดับปริญญาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษา ที่เรียนวิชาการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอนและการจัดการศึกษา ปีการศึกษา 2555 จำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 20 คนเรียนด้วยการศึกษานอกสถานที่เสมือนด้วยวีดิทัศน์ตามประสงค์โดยใช้สาระอิงบริบท และกลุ่มควบคุมจำนวน 20 คน เรียนด้วยการศึกษานอกสถานที่เสมือนด้วยวีดิทัศน์ตามประสงค์ เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยคือ แบบทดสอบการคิดวิเคราะห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) นิสิตระดับปริญญาบัณฑิตที่เรียนด้วยบทเรียนวีดิทัศน์ตามประสงค์ในการศึกษานอกสถานที่เสมือนโดยใช้สาระอิงบริบทจะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นิสิตระดับปริญญาบัณฑิตที่เรียนด้วยบทเรียนวีดิทัศน์ตามประสงค์ในการศึกษานอกสถานที่เสมือนโดยใช้สาระอิงบริบทจะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่านิสิตระดับปริญญาบัณฑิตที่เรียนด้วยบทเรียนวีดิทัศน์ตามประสงค์ในการศึกษานอกสถานที่เสมือนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ3) นิสิตที่เรียนด้วยบทเรียนการศึกษานอกสถานที่เสมือนด้วยวีดิทัศน์ตามประสงค์โดยใช้สาระอิงบริบท เกิดกระบวนการคิดวิเคราะห์ ใน 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการสังเกตและการจำแนก 2) ด้านการจัดกลุ่ม 3) ด้านการวิเคราะห์เหตุผล 4) ด้านการนำไปใช้ 5) ด้านการทำนาย
Other Abstract: The purposes of this research were 1) to study the achievement of the graduate students who study anchored instruction and video on demand in virtual field trip. 2) to compare the scores of the graduate students who study anchored instruction and video on demand in virtual field trip and the graduate students who study video on demand in virtual field trip. and 3) to study the effect of anchored instruction and video on demand in virtual field trip toward analytical thinking process of graduate students. The samples were 40 Bachelor degree students majoring in Educational Technology, Faculty of Education who learned in Computer for Instruction and Educational Management, in the 2012 academic year. There were 20 students in the experimental group using anchored instruction and video on demand in virtual field trip and 20 other students in the controlled group using video on demand in virtual field trip. The data were analyzed by mean, standard deviation, and t-test. The research findings indicate that: 1) the graduate students who study anchored instruction and video on demand in virtual field trip were higher than before the treatment at the .05 level of significance. 2) the graduate students who study anchored instruction and video on demand in virtual field trip were higher than the graduate students who study video on demand in virtual field trip at the .05 level of significance. And 3) the graduate students who study anchored instruction and video on demand in virtual field trip were conduce to analytical thinking process because of study by the developed of anchored instruction and video on demand in virtual field trip and 5 method : 1) Matching 2) Classification 3) Error analysis 4) Generalizing and 5) Specifying.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42249
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.53
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.53
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pimchanok _ph.pdf3.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.