Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4245
Title: | การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้แผนผังทางปัญญา เพื่อเพิ่มพูนความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาพยาบาล |
Other Titles: | A development of teaching model by using mind mapping to enhance nursing students' creative thinking ability |
Authors: | ประภาวัลย์ แพร่วานิชย์ |
Advisors: | ไพฑูรย์ สินลารัตน์ พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Paitoon.Si@chula.ac.th Pansak.P@chula.ac.th |
Subjects: | พยาบาลศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน นักศึกษาพยาบาล การเรียนรู้ ความคิดสร้างสรรค์ แผนผังทางปัญญา |
Issue Date: | 2543 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | พัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้แผนผังทางปัญญา เพื่อเพิ่มพูนความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาพยาบาล และเพื่อเปรียบเทียบผลการสอนนักศึกษา ระหว่างกลุ่มที่สอนตามรูปแบบการสอนโดยใช้แผนผังทางปัญญา กับกลุ่มที่สอนตามปกติ ในด้านความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาพยาบาล และด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผู้วิจัยได้สร้างต้นร่างรูปแบบการสอนโดยใช้แผนผังทางปัญญา และรูปแบบการสอนนี้ได้รับการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ และนำไปทดลองใช้จริงกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็น นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ปีการศึกษา 2543 จำนวน 46 คน สุ่มโดยวิธีจับคู่เข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยให้นักศึกษาทั้ง 2 กลุ่มมีค่าเฉลี่ยคะแนนสะสมไม่แตกต่างกัน วิธีการวิจัยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ขั้นตอนแรกเป็นการศึกษากรอบแนวคิดของรูปแบบการสอน ขั้นตอนที่ 2 สร้างรูปแบบการสอนโดยใช้แผนผังทางปัญญา ขั้นตอนที่ 3 ทดลองและศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอน ขั้นตอนที่ 4ปรับปรุงรูปแบบการสอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติทดสอบที (t-test) ได้ผลการวิจัย ดังนี้ 1. รูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย องค์ประกอบสำคัญ 5 ประการ คือ หลักการ จุดมุ่งหมาย เนื้อหา กระบวนการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล รูปแบบการสอนเน้นด้านการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แผนผังทางปัญญา โดยให้ผู้เรียนระดมสมอง มีเป้าหมายให้มีความคิดที่อิสระและมีความคิดที่หลากหลาย เพื่อนำมาสร้างแผนผังทางปัญญา รวมทั้งได้นำการเรียนรู้แบบนำตนเอง การเรียนรู้อย่างมีความหมาย แนวคิดคอนสตรัคติวิสท์ (constructivist) และความคิดสร้างสรรค์กับแผนผังทางปัญญา มาประกอบในกระบวนการเรียนการสอน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้นักศึกษา เกิดความเพิ่มพูนความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ สำหรับเอกสารประกอบรูปแบบการสอนมี 3 ฉบับ ได้แก่ คู่มืออาจารย์ คู่มือนักศึกษา และแผนการสอนจำนวน 15 แผน 2. นักศึกษาพยาบาลกลุ่มทดลอง มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ ของนักศึกษาพยาบาลหลังการสอนสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 3. ภายหลังการสอนนักศึกษาพยาบาลกลุ่มทดลอง มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาพยาบาล สูงกว่าก่อนการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. นักศึกษาพยาบาลกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาโภชนวิทยาและสุขภาพ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ |
Other Abstract: | To develop an effective teaching model by using mind mapping to enhance nursing students' creative thinking ability and to compare the learning achievement between mind mapping method and traditional method by using mind mapping method with the results of teaching by traditional method. Both creative thinking and student achievement were compared among the students. The teaching model was verifies by experts and implemented among nursing students from Faculty of Nursing of Siam University in academic year 2000. Two groups of nursing students chosen by matching procedure based on GPA were used for implementation. Each group contained 23 nursing students who were assigned randomly as the experimental and control group. The experimental group was provided with the teaching model using mind mapping and a control group was a taught by the traditional method for 15 weeks. The data were analyzed by t-test. The research results were as follows: 1) The teaching model consisted of 5 elements: principles, objectives,contents, instructional process, and evaluation. The instructional processes were focused specifically on teaching by using mind mapping. This method were used by the students individually or in groups to be able to create brainstorming and free and divergent thinking to build mind mapping. The instructional process consists of self-directed learning, meaningful learning, concept of constructivism and creative thinking with mind mapping to enhance nursing students' creative thinking ability. The material for teaching models were one handbooks for the teacher, one hand book for student and one hand book of 15 practical lesson plans. 2) The scores for creative thinking of the experimental group was significantly difference from that of control group (p<0.05). 3) There is a significantly different between post test score and pretest scores in the experimental group (p<0.05). 4) The achievement of experimental group studied from the developed model was not significantly difference from that of the control group. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | อุดมศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4245 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.450 |
ISBN: | 9740300588 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2000.450 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Prapawan.pdf | 6.8 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.