Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42512
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุนิดา ปรีชาวงษ์ | - |
dc.contributor.author | เขมิกา ปาหา | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2015-06-24T03:40:43Z | - |
dc.date.available | 2015-06-24T03:40:43Z | - |
dc.date.issued | 2555 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42512 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอำนาจในการทำนาย ของเจตคติต่อการเลิกสูบบุหรี่ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงในการเลิกสูบบุหรี่ การรับรู้การควบคุมพฤติกรรมเลิกสูบบุหรี่ ต่อความตั้งใจเลิกสูบบุหรี่ของข้าราชการตำรวจ โดยมีทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนของ Ajzen เป็นกรอบแนวคิดในการศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือข้าราชการตำรวจนครบาลระดับชั้นประทวนที่สูบบุหรี่ สังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล 1-9 อายุ 30-59 ปีจำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความตั้งใจเลิกสูบบุหรี่ แบบสอบถามเจตคติต่อการเลิกสูบบุหรี่ แบบสอบถามการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงในการเลิกสูบบุหรี่ และแบบสอบถามการรับรู้การควบคุมพฤติกรรมเลิกสูบบุหรี่ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน และหาความเที่ยงจากการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของคอน บราค ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .86, .86, .95 และ .97 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเข้าพร้อมกัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.ข้าราชการตำรวจมีเจตคติต่อการเลิกสูบบุหรี่อยู่ในระดับปานกลาง โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 236.94 (SD=59.69) การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงในการเลิกสูบบุหรี่อยู่ในระดับสูง โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 95.50 (SD=17.19) การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 220.51 (SD=75.46) และความตั้งใจเลิกสูบบุหรี่อยู่ในระดับปานกลาง โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 6.91 (SD=1.98) 2.เจตคติต่อการเลิกสูบบุหรี่ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงในการเลิกสูบบุหรี่ และการรับรู้การควบคุมพฤติกรรมเลิกสูบบุหรี่ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความตั้งใจเลิกสูบบุหรี่ของข้าราชการตำรวจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .68, .59 และ .73 ตามลำดับ) 3.เจตคติต่อการเลิกสูบบุหรี่ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงในการเลิกสูบบุหรี่และการรับรู้การควบคุมพฤติกรรมเลิกสูบบุหรี่ สามารถร่วมกันทำนายความตั้งใจเลิกสูบบุหรี่ของข้าราชการตำรวจได้ร้อยละ 63.6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงในการเลิกสูบบุหรี่ ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติในการร่วมทำนาย สร้างสมการทำนายในรูปคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้ ความตั้งใจเลิกสูบบุหรี่ = .444 (การรับรู้ความสามารถควบคุมพฤติกรรม)+.356 (เจตคติต่อการเลิกบุหรี่) | en_US |
dc.description.abstractalternative | Within the context of Ajzen's Theory of Planned Behavior, this study aimed to determine the predictive ability of attitude toward quit smoking, subjective norms, and perceive behavioral control on the intention to quit smoking in police officers. The participants were 100 police officers smokers selected from metropolitan police station through multi-stage sampling. The instruments were demographic data form, attitude toward quit smoking questionnaire, subjective norm questionnaire, perceived behavioral control questionnaire, and intention to quit smoking questionnaire. All questionnaires were assessed for content validity by a panel of experts and the Cronbach's alpha coefficients ranged from .86 - .97. Data were analyzed using Pearson’s product moment correlation and multiple regressions. The results were as follows: 1.The mean score of intention to quit smoking was medium level ( X = 6.91, SD = 1.98). 2.There were significantly positive relationship between attitudes toward quit smoking, subjective norms, perceived behavioral control, and police officers’ intention to quit smoking (p < .001, r =.68, .59, & .73 respectively). 3.Attitudes toward quit smoking, subjective norms, and perceived behavioral control explained 63.6 % of the variance in police officers’ intention to quit smoking. However, subjective norm was not a significant predictor. The equation derived from the standardized score was: Police officers’ intention to quit smoking = .444 (perceived behavioral control) ... +.356 (Attitudes toward quit smoking) | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.395 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การสูบบุหรี่ | en_US |
dc.subject | ตำรวจ | en_US |
dc.subject | Smoking | en_US |
dc.subject | Police | en_US |
dc.title | ปัจจัยทำนายความตั้งใจเลิกสูบบุหรี่ของข้าราชการตำรวจ | en_US |
dc.title.alternative | Predictors of intention to quit smoking in police officers | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | พยาบาลศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Sunida.P@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2012.395 | - |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
khemika_pa.pdf | 1.36 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.