Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42648
Title: USE OF GLUCOMANNAN FILMS FOR EUGENOL ENCAPSULATION
Other Titles: การใช้ฟิล์มกลูโคแมนแนนเพื่อการกักเก็บยูจีนอล
Authors: Jarupan Vatee
Advisors: Romanee Sanguandeekul
Ubonrat Siripatrawan
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Science
Advisor's Email: sromanee@chula.ac.th
Ubonratana.S@chula.ac.th
Subjects: Biotechnology
Edible coatings
เทคโนโลยีชีวภาพ
สารเคลือบบริโภคได้
Issue Date: 2013
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Edible film encapsulated with active compound to improve its functional properties is gaining more attention. The active compounds which are usually encapsulated in edible film are flavors, odors, antioxidant agents, and antimicrobial agents. The purpose of encapsulation is to control the releasing rate and to protect active compounds from the environmental effect. The aim of this study was to analyze the effect of EU incorporation on the structural of KGM film, mechanical, physical, and thermal properties. In addition, the amount of EU remained in the film (encapsulation efficiency, EE) was also studied. The film properties including thickness, tensile strength (TS), elongation at break (EB), Young’s modulus (YM), water vapor permeability (WVP), transparency value, solubility, encapsulation efficiency (EE) of EU, and EU releasing in water were determined. Moreover, cross-section of film was analyzed by scanning electron microscope (SEM). Structural interaction and thermal property of film were studied by Fourier transform infrared spectrometer (FT-IR) and differential scanning calorimeter (DSC), respectively. The changing of thermal stability of the films and EE of EU during storage for 8 months was monitored and reported as thermogravimetric analysis (TGA) thermograph and EE. The results showed that the thickness of film was in a range of 25.80 µm to 51.60 µm. The resistance to break of film increased with increasing KGM, while adding and increasing concentration of EU made the film more stretchable and flexible. These results agree with SEM photographs, FT-IR spectra, and DSC analysis. The results from FT-IR and DSC analysis showed that there was no interaction between KGM and EU. The heterogeneity of the film had the effect to increase WVP and decrease transparent. The solubility of film increased with EU concentration due to the heterogeneous structure but decreased with increasing KGM content. EE of EU encapsulated in KGM film was determined. Amount of EU which could be entrapped in the film depend on the initial EU concentration added in film forming solution. The releasing of EU from film in water reached the equilibrium in 20 - 30 minutes. The amount of EU released depended on the initial EU concentration added. The 0.75% KGM film encapsulated with 1.50% EU was selected to determine the changing of thermal stability of the film and amount of remain EU during storage for 8 months. The pattern of derivative thermogram (DTG) of the films during storage for 60 days were similar but the color of the films changed. In addition, EE (%) of the film decreased 36.90% of initial EE (%) when storage for 8 months. The result showed that KGM could be used for encapsulating EU and preventing the loss of EU to the environment. Moreover, KGM/EU films had high mechanical strength, convenience for use as packaging.
Other Abstract: ฟิล์มบริโภคได้ที่สามารถกักเก็บสารที่มีประโยชน์เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติการใช้งานของฟิล์มบริโภคได้กำลังเป็นที่สนใจอย่างกว้างขวาง สารที่สามารถนำมากักเก็บในฟิล์มบริโภคได้ เช่น สารให้กลิ่นรส สารต้านออกซิเดชัน และ สารต้านจุลชีพ เป็นต้น เพื่อชะลอการเปลี่ยนแปลงจากผลกระทบของสภาวะแวดล้อมหรือควบคุมการปลดปล่อยของสารดังกล่าว วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือศึกษาผลของการกักเก็บยูจีนอลต่อฟิล์มคอนยัคกลูโคแมนแนน เช่น โครงสร้าง สมบัติทางกล สมบัติทางกายภาพ การละลาย สมบัติทางความร้อน และปริมาณของยูจีนอลที่ถูกกักเก็บไว้ในฟิล์ม ฟิล์มที่ขึ้นรูปได้ถูกนำไปวัดความหนา ค่าการต้านแรงดึง (TS) ค่าการยืดตัว (EB) ค่ามอดูลัสของยัง (YM) ค่าการซึมผ่านของไอน้ำ (WVP) ความโปร่งแสง ความสามารถในการละลายน้ำ ความสามารถในการกักเก็บยูจีนอล และความสามารถในการปลดปล่อยยูจีนอลในน้ำ นอกจากนี้ยังศึกษาภาพตัดขวางของฟิล์มโดยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราด (SEM) อันตรกิริยาภายในฟิล์มด้วย Fourier transform infrared spectrometer (FT-IR) และสมบัติทางความร้อนโดย differential scanning calorimeter (DSC) และศึกษาผลของเวลาการเก็บรักษาต่อสมบัติของฟิล์มกลูโคแมนแนนที่กักเก็บยูจีนอลและปริมาณยูจีนอลที่ถูกกักเก็บไว้ ผลการศึกษาพบว่าความหนาของฟิล์มที่ขึ้นรูปได้อยู่ในช่วง 25.80 µm ถึง 51.60 µm ฟิล์มจะมีความแข็งแรงเพิ่มขึ้นเมื่อความเข้มข้นของคอนยัคกลูโคแมนแนนมากขึ้น แต่จะมีการยืดตัวและความยืดหยุ่นเพิ่มขึ้นตามความเข้มข้นของยูจีนอล สอดคล้องกับผลการทดลองที่ได้จาก SEM FT-IR และ DSC เมื่อใส่ยูจีนอลและเพิ่มความเข้มข้นของยูจีนอลในสารละลายฟิล์ม ฟิล์มที่ได้จะมีความเป็นเนื้อเดียวกันลดลง การรวมตัวของยูจีนอลและคอนยัคกลูโคแมนแนนนั้นไม่มีการเกิดพันธะใหม่ระหว่างสารทั้งสอง ไอน้ำสามารถเคลื่อนที่ผ่านฟิล์มได้มากขึ้น ความโปร่งแสงของฟิล์มจะลดลงเมื่อความเข้มข้นของยูจีนอลภายในฟิล์มสูงขึ้น เมื่อนำฟิล์มไปละลายน้ำพบว่าเมื่อความเข้มข้นของคอนยัคกลูโคแมนแนนเพิ่มขึ้นจะทำให้การละลายของฟิล์มลดลง ในขณะที่เมื่อความเข้มข้นของยูจีนอลเพิ่มขึ้นการละลายของฟิล์มจะเพิ่มขึ้น การวัดความสามารถในการกักเก็บยูจีนอลภายในฟิล์มคอนยัคกลูโคแมนแนนมีค่าเพิ่มขึ้นตามความเข้มข้นของยูจีนอลที่ใส่ลงไปในสารละลายฟิล์มก่อนการขึ้นรูป ยูจีนอลสามารถถูกปลดปล่อยออกจากฟิล์มคอนยัคกลูโคแมนแนนในน้ำได้ภายใน 20-30 นาที ฟิล์มที่มีความเข้มข้นเริ่มต้นของยูจีนอลอยู่มากกว่าสามารถปลดปล่อยยูจีนอลออกมาในน้ำได้มากกว่าฟิล์มที่มียูจีนอลเริ่มต้นอยู่น้อยกว่า จากการทดลองข้างต้นได้เลือกฟิล์มที่มีความสามารถในการกักเก็บสูงที่สุดคือ KGM:EU 0.75%:1.50% (w/w) เพื่อทดสอบการเปลี่ยนแปลงของฟิล์มที่กักเก็บยูจีนอลเมื่อเก็บรักษาฟิล์มโดยการตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของฟิล์มด้วยเทคนิค thermogravimetric analysis (TGA) ผลการตรวจสอบพบว่าเมื่อเก็บฟิล์มไว้เป็นเวลา 60 วัน รูปแบบการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนัก (derivative thermogram, DTG) ในช่วงอุณหภูมิที่ทำการทดลองใกล้เคียงกัน แต่สีของฟิล์มมีการเปลี่ยนแปลง และเมื่อทดสอบความสามารถในการกักเก็บยูจีนอลในฟิล์มเมื่อเก็บฟิล์มไว้เป็นเวลา 8 เดือน พบว่าปริมาณยูจีนอลลดลง 36.90% ของปริมาณยูจีนอลที่สามารถกักเก็บได้เริ่มต้น โดยสรุปฟิล์มคอนยัคกลูโคแมนแนนจึงสามารถกักเก็บยูจีนอล เพื่อลดการสูญเสียของยูจีนอลสู่สิ่งแวดล้อมและฟิล์มที่ได้มีความแข็งแรง สะดวกต่อการนำไปใช้งานเป็นบรรจุภัณฑ์
Description: Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2013
Degree Name: Master of Science
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Food Technology
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42648
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.123
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.123
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5471927223.pdf5.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.