Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42868
Title: | พฤติกรรมการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมกับการข่มเหงรังแกในสถานศึกษา |
Other Titles: | CROSS-CULTURAL COMMUNICATION BEHAVIORS AND SCHOOL-BULLYING |
Authors: | นันทกฤต โรตมนันทกฤต |
Advisors: | เมตตา วิวัฒนานุกูล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | metta_tid@hotmail.com |
Subjects: | การข่มเหง การศึกษาข้ามวัฒนธรรม การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม Bullying Cross-cultural studies Intercultural communication |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเอกสาร (Documentary Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสภาพการณ์และองค์ความรู้ของการศึกษาการรังแกของนักเรียนในสถานศึกษาด้วยมุมมองการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม ศึกษาปริทัศน์ของการศึกษาพฤติกรรมสื่อสารในการรังแก การรับมือปัญหาการรังแก ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง และแนวทางการสื่อสารเพื่อแก้ไขปัญหา จากกลุ่มตัวอย่างงานวิจัยการรังแกในโรงเรียน 91 เรื่อง แบ่งเป็นกลุ่มประเทศวัฒนธรรมตะวันตกและกลุ่มประเทศวัฒนธรรมตะวันออก ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการรังแกในวัฒนธรรมตะวันตกมีทั้งความแตกต่างและคล้ายคลึงกับวัฒนธรรมตะวันออก โดยพบว่าการรังแกด้วย”วัจนภาษาทางตรง” (Direct-verbal) เช่นการตั้งฉายาล้อเลียน การข่มขู่ ฯลฯ เป็นรูปแบบที่พบมากที่สุดทั้งสองวัฒนธรรม ขณะที่กลุ่มประเทศยุโรปพบการรังแกด้วย”อวัจนภาษาทางอ้อม”มากที่สุด (Indirect-nonverbal) เช่นการกีดกันไม่ให้ร่วมกลุ่ม การไม่พูดคุยด้วย ทั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นการศึกษารูปแบบการรังแกผ่านสื่อบุคคลหรือแบบเผชิญหน้ามากกว่าการรังแกทางอินเตอร์เน็ต 2. รูปแบบรับมือการถูกรังแกด้วย “การขอแรงสนับสนุนทางสังคม” เช่น การขอความช่วยเหลือจากเพื่อน พบมากที่สุดทั้งในวัฒนธรรมตะวันตกและตะวันออก 3. พบตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการรังแกและการรับมือแบ่งเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ “ลักษณะทางประชากรศาสตร์/ลักษณะส่วนบุคคล” “ภูมิหลังครอบครัว/การเลี้ยงดู” “ลักษณะทางจิตวิทยาและความสัมพันธ์” “พฤติกรรมเชิงลบที่แสดงออก” “การเปิดรับสื่อ” และ “อิทธิพลทางเชื้อชาติ สังคม และวัฒนธรรม” 4. ในงานวิจัยที่ศึกษามีการเสนอแนวทางการสื่อสารเพื่อแก้ไขปัญหาการรังแกในสถานศึกษาแบ่งได้เป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ แนวทางสำหรับครู บุคลากรของโรงเรียน ผู้ปกครอง นักเรียน โรงเรียน และสังคม |
Other Abstract: | This study is documentary research aimed to explore “the state of the arts” and “the body of knowledge” of school-bullying studies from cross-cultural communication approach, to review communication behaviors of bullying and coping found in the research, and to find correlated factors and communication guidelines for solving bullying problems, by analyzing 91 school-bullying studies, divided into western and eastern culture. Results of the research are as following. 1) Bullying patterns are found both different and similar in western and eastern culture. “Direct-verbal” bullying (e.g., name-calling, threatening words, etc.) is found the most whilst “Indirect-verbal” bullying (e.g., social exclusion, do not talk) is found the most in European countries. Most of research study bullying through personal media or in face-to-face context more than cyber-bullying. 2) “Social support” coping (i.e. seeking help from friends) is the most common found in both western and eastern culture. 3) Variables found to be associated with bullying and coping behaviors are divided into 6 main groups: “demographic/personal attributes”, “family background/nurture”, “psychological/relational attributes”, “negative behaviors”, “media exposure” and “ethnic /social/cultural influence”. 4) A number of communication guidelines for 6 main groups: for teachers, school staffs, parents, students, schools, and society, are proposed in the studies for solving bullying problems in schools. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิเทศศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42868 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.363 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.363 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5384672228.pdf | 2.98 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.