Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43082
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิลปชัย สุวรรณธาดาen_US
dc.contributor.authorรวิศรา วรรธกวรกุลen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาen_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:23:58Z
dc.date.available2015-06-24T06:23:58Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43082
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกระบำใต้น้ำควบคู่กับกิจกรรมดนตรีที่มีต่อความสามารถในการแสดงทักษะกีฬาระบำใต้น้ำ ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental design) แบบทดสอบก่อนและหลังการทดลอง (pre-post test design) จากการสุ่มกำหนด (Randomized Assignment) กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครนักเรียนหญิงอายุระหว่าง 7- 10 ปี จากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม จำนวน 9 คน เป็นกลุ่มทดลอง และนักเรียนจากสโมสรพุฒิสิริโรจน์ จำนวน 8 คน เป็นกลุ่มควบคุม โดยกลุ่มควบคุม ทำการฝึกทักษะระบำใต้น้ำตามปกติ และกลุ่มทดลองทำการฝึกทักษะระบำใต้น้ำควบคู่กับกิจกรรมดนตรี 4 ด้าน ได้แก่ การฟัง, การร้อง, การเคลื่อนไหว และการคิดแต่งทำนองหรือท่าทางแบบทันทีทันใด โดยทำการฝึก 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 วัน วันละ 90 นาที หลังจากนั้นทำการทดสอบจากการแสดงท่าประกอบเพลง โดยการให้คะแนนทางด้านเทคนิค (Technical Merit) ได้แก่คะแนนความพร้อมเพรียงกับดนตรีแบบปัจเจกบุคคล และคะแนนความพร้อมเพรียงของทีม และคะแนนทางด้านศิลปะ (Artistic Impression) ได้แก่คะแนนการนำเสนอ โดยกรรมการระบำใต้น้ำ 5 ท่าน ก่อนเข้ารับการฝึก และหลังการฝึก 8 สัปดาห์ จากนั้นนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ทำการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มและภายในกลุ่มด้วยการทดสอบค่า “ที” (t-test) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลวิจัยพบว่า 1. ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างภายในกลุ่มพบว่า กลุ่มควบคุมมีคะแนนความพร้อมเพรียงกับดนตรีแบบปัจเจกบุคคลก่อนและหลังการทดลองไม่แตกต่างกัน แต่คะแนนการนำเสนอหลังการทดลองดีกว่าก่อนการทดลอง ส่วนกลุ่มทดลองมีคะแนนความพร้อมเพรียงกับดนตรีแบบปัจเจกบุคคลและคะแนนด้านการนำเสนอหลังการทดลอง 8 สัปดาห์ดีกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญที่ .05 2. ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่าคะแนนความพร้อมเพรียงกับดนตรีแบบปัจเจกบุคคลของกลุ่มทดลองที่ฝึกระบำใต้น้ำควบคู่กับกิจกรรมดนตรี ดีกว่ากลุ่มควบคุมที่ฝึกระบำใต้น้ำตามปกติ แต่ค่าเฉลี่ยของคะแนนด้านการนำเสนอของทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ผลการเปรียบเทียบคะแนนความพร้อมเพรียงของทีมหลังการทดลองกับก่อนการทดลอง พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนสูงขึ้น 82.76% และกลุ่มควบคุมมีของคะแนนสูงขึ้น 55.87%en_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of the present study is to investigate the effects of augmented music activity training on the performance of synchronized swimming. Seventeen female volunteers who were between 7-10 years old were divided into two groups. Both groups were trained for synchronized swimming for ninety minutes per day, two days per week for eight weeks. While the control group was trained with routine synchronized swimming training, the experimental group received music activity training including listening, singing, moving and improvisation in addition. Performances in synchronized swimming were measured by five judges for Technical Merit (individual and team synchronization score) and Artistic Impression scores (manner of presentation scores) before and after the training regime. Independent t-test was used to compare the differences of the performances between groups, while paired t-test was used to measure the differences of the mean within groups. After 8 weeks of training, the experimental group showed significant improvement in both individual synchronization and manner of performance scores. On the other hand, the control group only showed improvement only in manner of presentation. When both groups post-training performance were compared, the experimental group showed greater performance in individual synchronization scored than the control group did. Finally, the experimental group showed greater improvement from pre-to-post training performance scores than the control group, 82.76% to 55.87% respectively. The result in this study corresponded to the study by Repp (2010) where musicians could adapt to tap a keyboard according to the given tempo better than nonmusicians.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.554-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectระบำใต้น้ำ -- การศึกษาและการสอน
dc.titleผลของการฝึกระบำใต้น้ำควบคู่กับกิจกรรมดนตรีที่มีต่อความสามารถในการแสดงทักษะกีฬาระบำใต้น้ำen_US
dc.title.alternativeEFFECTS OF SYNCHRONIZED SWIMMING TRAINING WITH MUSIC ACTIVITIES ON SYNCHRONIZED SWIMMING PERFORMANCEen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การกีฬาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorsilpachai.s@chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.554-
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5578323539.pdf5.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.