Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43191
Title: | การสื่อสารของผู้มีอิทธิพลด้านความงามทางสื่อออนไลน์ และการเปิดรับข้อมูล ทัศนคติ และการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของผู้บริโภค |
Other Titles: | THE COMMUNICATION OF ONLINE BEAUTY INFLUENCERS AND CONSUMER'S INFORMATION EXPOSURE, ATTITUDE AND DECISION TO BUY COSMETICS |
Authors: | ปนัดดา เซ็นเชาวนิช |
Advisors: | ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | Yubol.b@chula.ac.th |
Subjects: | การสื่อสาร สื่อสังคมออนไลน์ ความเต็มใจจ่าย Communication Social media Willingness to pay |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาวิจัยเรื่อง “การสื่อสารของผู้มีอิทธิพลด้านความงามทางสื่อออนไลน์ และการเปิดรับข้อมูล ทัศนคติ และการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของผู้บริโภค” ได้แบ่งการศึกษาออกเป็นสองส่วน คือ 1. การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เอกสาร ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างตามประสงค์ เพื่อศึกษาเนื้อหาและวิธีการสื่อสารของผู้มีอิทธิพลด้านความงามทางสื่อออนไลน์ 3 คน ได้แก่ 1) แพร (Pearypie) 2) โมเม (โมเมพาเพลิน) และ 3) เอิ๊ก เอิ๊ก (Erk-Erk) และ 2. การวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อศึกษาการเปิดรับข้อมูล ทัศนคติ และการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของผู้บริโภค จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ทั้งเพศหญิงและเพศชาย จำนวน 400 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสมัครใจ และประมวลข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาเนื้อหาและวิธีการสื่อสารผ่านช่องทางสื่อออนไลน์ของผู้มีอิทธิพลด้านความงามทางสื่อออนไลน์ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข้อมูลและทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อผู้มีอิทธิพลด้านความงามทางสื่อออนไลน์ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข้อมูลและการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของผู้บริโภค 4.) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติและการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของผู้บริโภค และ 5) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข้อมูล ทัศนคติ และการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของผู้บริโภค ผลการศึกษาวิจัย พบว่า 1. ผู้มีอิทธิพลด้านความงามทางสื่อออนไลน์แต่ละคนจะมีเนื้อหาและวิธีสื่อสารผ่านทางสังคมออนไลน์แตกต่างกันออกไปตามความถนัดของแต่ละบุคคล รวมไปถึงการเลือกใช้สื่อออนไลน์ก็มีความแตกต่างกันออกไปด้วยเช่นกัน 2. ผู้บริโภคที่มีลักษณะทางประชากรแตกต่างกันมีทัศนคติต่อผู้มีอิทธิพลด้านความงามทางสื่อออนไลน์ และมีการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางแตกต่างกัน 3. การเปิดรับข้อมูลของผู้มีอิทธิพลด้านความงามทางสื่อออนไลน์อยู่ในระดับสูง แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติของผู้บริโภค 4. การเปิดรับข้อมูลของผู้มีอิทธิพลด้านความงามทางสื่อออนไลน์อยู่ในระดับสูง แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของผู้บริโภค 5. ทัศนคติที่มีต่อผู้มีอิทธิพลด้านความงามทางสื่อออนไลน์เป็นทัศนคติเชิงบวก แต่มีแค่ผู้มีอิทธิพลด้านความงามทางสื่อออนไลน์บางคนเท่านั้นที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อ กล่าวคือ การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีทัศนคติที่เกี่ยวกับโมเม (โมเมพาเพลิน) เพียงคนเดียว ที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของผู้บริโภค |
Other Abstract: | The research of “THE COMMUNICATION OF ONLINE BEAUTY INFLUENCERS AND CONSUMER’S INFORMATION EXPOSURE, ATTITUDE AND DECISION TO BUY COSMETICS”. This study was divided into 2 parts as follows: qualitative method using documentary analysis with purposive sampling method to study contents and communication pattern of 3 online beauty influencers: 1. Pear (Pearypie) 2. Momay (Momay Pa Plearn) and 3. Erk Erk and quantitative method using survey research with online questionnaire to collect data from audiences of these 3 beauty influencers about their information exposure, attitude and decision to buy cosmetics. The samples were 400 internet users who volunteered to answer the questionnaire. Data were analyzed with SPSS (Windows) program. The objectives of this research are 1. To study contents and communication pattern of 3 online beauty influencers. 2. To study the relationship between consumers’ information exposure and consumers’ attitude towards online beauty influencers. 3. To study the relationship between consumers’ information exposure and consumers’ decision to buy cosmetics. 4. To study the relationship between consumers’ attitude and consumers’ decision to buy cosmetics. 5 To study the relationship between consumers’ information exposure, attitude and decision to buy cosmetics. Results of the study are as follows: 1. Each online beauty influencer has her own characteristic to show the way to present contents and communicate with followers. 2. Consumers from different demographic groups show differences in their attitude and decision to buy cosmetics. 3. Consumers’ information exposure about online beauty influencers is not related to the consumers’ attitude. 4. Consumers’ information exposure about online beauty influencers is not related to the consumers’ decision to buy cosmetics. 5. The attitude of the online beauty influencers is a positive attitude but only some of them are related to consumers’ decision to buy cosmetics. As the results of the study, it shows that “Momay (Momay Pa Plearn)” is the only one online beauty influencers who has influences on consumers’ decision to choose brands of cosmetics. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิเทศศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43191 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.730 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.730 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5584678228.pdf | 6.39 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.