Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43217
Title: กลยุทธ์การสื่อสารทางสังคมเพื่อการคัดค้านการขนถ่ายถ่านหินที่บางปะกงและศรีราชา
Other Titles: THE SOCIAL COMMUNICATION STRATEGIES TO PROTEST COAL TRANSPORTATION AT BANGPAKONG AND SRIRACHA
Authors: วดี ภิญโญทรัพย์
Advisors: ธาตรี ใต้ฟ้าพูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: tatri13@gmail.com
Subjects: การมีส่วนร่วมทางสังคม
การสื่อสาร
การจูงใจ (จิตวิทยา)
Social participation
Communication
Motivation (Psychology)
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่องกลยุทธ์การสื่อสารทางสังคมเพื่อคัดค้านการขนถ่ายถ่านหินที่บางปะกงและศรีราชา เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ (1) เพื่อทราบถึงกลยุทธ์และกลวิธีของการสื่อสารทางสังคมในการคัดค้านการขนถ่ายถ่านหินที่บางปะกงและศรีราชา (2) เพื่อทราบถึงรูปแบบที่แกนนำประชาชนในพื้นที่ใช้เป็นแรงจูงใจในการรวมกลุ่มประชาชนเพื่อขับเคลื่อนการชุมนุมคัดค้านการขนถ่ายถ่านหินที่บางปะกงและศรีราชาโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัย 1. การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In Depth Interview) ด้วยการอ้างอิงด้วยบุคคลและผู้เชี่ยวชาญ (Snowball Sampling Technique) จำนวน 40 ท่าน 2. การวิเคราะห์เอกสาร(Documentary Analysis) ประกอบด้วยข่าวตัด (Clipping) และเอกสารที่เกี่ยวข้องของกลุ่มผู้คัดค้านการขนถ่ายถ่านหินที่บางปะกงและศรีราชา ผลการวิจัยพบว่าแกนนำการคัดค้านการขนถ่ายถ่านหินที่บางปะกงและศรีราชาใช้กลยุทธ์การสื่อสารทางสังคมที่แตกต่างกัน ส่งผลให้การคัดค้านในพื้นที่บางปะกงประสบความสำเร็จในขณะที่การคัดค้านที่ศรีราชายังไม่ประสบความสำเร็จ โดยแกนนำพื้นที่บางปะกงได้นำแนวคิดการบริหารประเด็น (Issue Management) มาใช้ขับเคลื่อนการคัดค้านทำให้กลยุทธ์การสื่อสารทางสังคมที่นำมาใช้มีประสิทธิภาพ อันได้แก่ กลยุทธ์การสร้างเครือข่าย กลยุทธ์การสื่อสารแบบปากต่อปาก กลยุทธ์การแบ่งหน้าที่ตามความเหมาะสม กลยุทธ์การเจรจาต่อรอง กลยุทธ์การสร้างความน่าเชื่อถือ กลยุทธ์การโน้มน้าวใจ และการชี้แนะประเด็นผ่านสื่อ (Media Advocacy) ในขณะที่แกนนำพื้นที่ศรีราชาไม่ได้มีการนำแนวคิดการบริหารประเด็นมาใช้ร่วมกับการเคลื่อนไหว ทำให้กลยุทธ์การคัดค้านไม่ประสบความสำเร็จ ได้แก่ กลยุทธ์การสร้างความหมู่คณะ กลยุทธ์การสื่อสารแบบปากต่อปาก และกลยุทธ์การเจรจาต่อรอง ด้านแรงจูงใจของประชาชนในพื้นที่ที่มาร่วมชุมนุมคัดค้านทั้ง 2 แห่งพบว่ามีความเหมือนกันคือ มีความเกรงกลัวอันตราย หวงแหนอาชีพประมงพื้นบ้าน ส่วนแรงจูงใจที่บางปะกงมีมากกว่าคือ เกรงข้อครหาและมีความเชื่อถือแกนนำ
Other Abstract: The purpose of this research is to study the social communication strategies and tactics used to protest coal transportation at Bangpakong and Sriracha as well as their motivation for protesting. This research used qualitative methods including (1) in-depth interviews of 40 key informants by the use of the snowball sampling technique and (2) a documentary analysis of news articles and data involving coal transportation at Bangpakong and Sriracha. The results of the research show that the strategies employed to protest coal transportation were successful at Bangpakong but not at Sriracha. The key leader at Bangpakong used more effective strategies to build a protest movement such as issue management,networking, persuasion, word of mouth, assigning appropriate duties and roles, negotiation, building legitimacy, and media advocacy. On the other hand, the key leader at Sriracha did not use issue management of the strategies used at Bangpakong and therefore was not effective or successful in their protest movement. Results of research show that the motivation of people who protest coal transportation at both Bangpakong and Sriracha are fear of the dangers of coal and a high value of their careers. The motivation of the protestors at Bangpakong is higher than Sriracha in the area of fear of criticism for avoiding the issues and respect toward the key leader.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43217
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.753
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.753
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5584877828.pdf2.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.