Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43254
Title: การเปลี่ยนแปลงเชิงสัณฐานของชุมชนย่านคลองสาน ธนบุรี
Other Titles: MORPHOLOGICAL TRANSFORMATION OF KLONGSAN COMMUNITY ,THONBURI
Authors: ประภาวดี นิลศิริ
Advisors: นิรมล กุลศรีสมบัติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: n.kulsrisombat@gmail.com
Subjects: คมนาคมทางบก
การเปลี่ยนแปลงทางสังคม
Social change
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงเชิงสัณฐาน ที่เกิดจากการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมทางบกของย่านคลองสาน โดยการศึกษาจากองค์ประกอบเชิงสัณฐาน ได้แก่ โครงข่ายการสัญจร การใช้ประโยชน์ที่ดินและอาคาร ความหนาแน่นของมวลอาคารต่อพื้นที่ว่าง และโครงข่ายการเชื่อมต่อและการจัดวางของหน่วยพื้นที่สาธารณะ ตามช่วงเวลาการเปลี่ยนแปลงการเข้าถึง โดยเน้นศึกษาโครงข่ายการเชื่อมต่อและการจัดวางของหน่วยพื้นที่สาธารณะ ในการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงระดับการเข้าถึงชุมชนย่านคลองสาน เพื่อนำมาวิเคราะห์ผลการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตชุมชนที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงระดับการเข้าถึงของชุมชน ผลจากการศึกษาพบว่า ลักษณะสัณฐานของชุมชนย่านคลองสานนั้นเกิดจากแนวของคลอง คูน้ำหรือลำประโดง ซึ่งเกิดจากลักษณะเชิงสัณฐานของย่านที่เป็นสัณฐานเกษตรกรรมสวนยกร่อง ทำให้ลักษณะของสัณฐานขนาดเล็ก แคบและยาว การเปลี่ยนแปลงเชิงสัณฐานของย่านคลองสานเกิดจากการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมทางบก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินและอาคาร ความหนาแน่นของมวลอาคาร การเปลี่ยนแปลงศูนย์กลางและพื้นที่ปฏิสัมพันธ์ของชุมชน จากเดิมที่อิงกับแนวโครงข่ายคมนาคมทางทางน้ำ เปลี่ยนไปอ้างอิงกับแนวโครงข่ายคมนาคมทางบกอย่างถนนแทนที่เป็นเส้นทางสัญจรหลัก คลอง คูน้ำจึงถูกถมเปลี่ยนเป็นถนน ทำให้ถนนในย่านจึงมีขนาดเล็กลักษณะแคบ ยาวและปลายตัน จากการวิเคราะห์โครงข่ายการเชื่อมต่อและการจัดวางของหน่วยพื้นที่สาธารณะ แสดงเห็นว่าระบบการสัญจรศักยภาพในการเข้าถึงหน่วยพื้นที่ย่านคลองสานมีน้อยลง และเกิดรูปแบบของโครงข่ายแบบปลายตันมากขึ้น แสดงให้เห็นว่าศักยภาพในการเชื่อมโยงระหว่างหน่วยพื้นที่ของชุมชนมีน้อยลง ศักยภาพในการเข้าถึงต่ำลง โดยเฉพาะการเข้าถึงพื้นที่ริมน้ำทำได้ยาก จากลักษณะของสัณฐานเดิมของย่าน ทำให้เส้นทางเข้าถึงชุมชนบางแห่งกลายเป็นพื้นที่เข้าถึงได้ยากขาดการเชื่อมต่อ ถึงแม้การตัดถนนเข้ามาในพื้นที่ย่านจะเพิ่มการเชื่อมโยงและเส้นทางสัญจรภายในชุมชน ทำให้ชุมชนมีทางเลือกในการเข้า-ออกของชุมชนมากขึ้นก็ตาม เนื่องจากถนนที่ตัดเข้ามานั้นไม่สอดคล้องกับลักษณะสัณฐานเดิมของย่านคลองสาน ทำให้การพัฒนาการคมนาคมทางบกในย่านไม่สามารถเชื่อมโยงพื้นที่ได้อย่างทั่วถึง ทางเดินตรอก ซอยขนาดเล็กจึงกลายเป็นเส้นทางสำคัญในการเชื่อมต่อระหว่างพื้นที่ภายในย่านอย่าง “ทางสะพานยาว” จากการเปลี่ยนแปลงการเข้าถึงหลักเป็นทางบก ถนนเข้ามามีบทบาทสำคัญในการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้คน ทั้งการสัญจร การประกอบอาชีพและกลายเป็นพื้นที่ปฏิสัมพันธ์ของคนในชุมชนมากขึ้น ทำให้การเข้าถึงทางน้ำลดลง ท่าเรือที่เป็นจุดเชื่อมต่อพื้นที่และปฏิสัมพันธ์ของชุมชนถูกเลิกใช้งาน พื้นที่ชุมชนริมกลายเป็นพื้นที่เข้าถึงยาก เกิดการกลับทิศทางของด้านหน้าชุมชน จากด้านหน้าชุมชนที่อยู่ริมน้ำกลายเป็นด้านหลังชุมชน กลายเป็นพื้นที่ตาบอดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเข้าไม่ถึง ส่งผลให้เกิดการย้ายถิ่นฐานของคนกลุ่มเดิมที่อยู่ในพื้นที่ กลายเป็นชุมชนบ้านเช่ามีสภาพแออัดเสื่อมโทรม ทำให้ความเป็นชุมชนเดิมที่มีปฏิสัมพันธ์กันทางสังคม มีรูปแบบการดำรงชีวิตขนบธรรมเนียมและประเพณี มีความรู้สึกการเป็นคนในชุมชนเดียวกันที่จะรักษาคุณค่าและมรดกทางวัฒนธรรมของชุมชนนั้นหายไป
Other Abstract: The current thesis examined the Khlong San district’s morphological transformation caused by road network development, taking account of morphological factors, transit pattern, land use and building use, urban figure and ground pattern, and urban spatial- Configurational pattern in two periods of time: the period when road transportation became common and the period when water transportation had been common. The study emphasized connections to urban spatial- Configurational pattern in order to analyze how changes in access to Khlong San affected the local community. It was found that the Khlong San area had had many canals and irrigation ditches as the district had been an agricultural zone. Improvements in the road network in Khlong San led to the district’s morphological transformation. Thus, the community became more dependent on road transportation and less on water. Subsequently, several canals and irrigation ditches were transformed into roads to become part of the new network. For this reason, roads in the district were narrow, long, and tended to be dead ends. The analysis of connections to the network of public spaces shows that, due to its former morphology (many canals and irrigation ditches), the Khlong San district had inherent problems of accessibility, particularly for water transportation, in addition to a number of cul-de-sacs, leading to less effective linkage between Khlong San areas. However, many newly built roads intended to offer the locals more freedom to access various parts of the district were not appropriately designed because they did not accord with Khlong San’s pre-existing morphology. Consequently, the locals were forced to use alleys, including the district’s foremost footpath called “Sa Pan Yao”, as the main transportation route instead of roads. The fact that roads were more important to the Khlong San locals explains why water transportation became a neglected mode of transportation. Consequently, piers, which had formerly served as social meeting places and links between areas within the Khlong San district, were no longer employed for those purposes. Access to waterways became more difficult, and thus they were deserted and remained undeveloped. In this way, what had been the front (waterfront) and the back (footpath) parts of the district became reversed. The resulting social consequences of the Khlong San district’s morphological transformation were a loss of social interaction among the locals and a decrease in the sense of unity in their local cultural heritage.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การออกแบบชุมชนเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43254
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.662
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.662
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5374120525.pdf16.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.