Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43315
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัยen_US
dc.contributor.authorกัมปนาท สถิตย์พรen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:37:06Z
dc.date.available2015-06-24T06:37:06Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43315
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractมาตรการป้องกันการหนีภาษีในต่างประเทศตาม Foreign Account Tax Compliance Act ของประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นมาตรการป้องกันการหนีภาษีในต่างประเทศ โดยการใช้บัญชีทางการเงินที่เปิดไว้ในต่างประเทศสำหรับถือครองสินทรัพย์ทางการเงินไว้ เพื่อที่จะไม่ต้องนำมาเสียภาษีเงินได้ในประเทศสหรัฐอเมริกา จากการศึกษาพบว่า มาตรการตาม Foreign Account Tax Compliance Act ของประเทศสหรัฐอเมริกาจะนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อเมื่อมีการใช้เป็นมาตรการเสริมประกอบกับมาตรการอื่น ๆ ที่ใช้ในการป้องกันการหนีหรือหลีกเลียงภาษีในต่างประเทศ อีกทั้งยังต้องอาศัยความร่วมมือทางภาษีระหว่างประเทศในการดำเนินการระหว่างรัฐบาลเพื่อให้มาตรการตาม Foreign Account Tax Compliance Act ของประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ทั้งนี้ เพื่อให้หน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดเก็บภาษีได้มาซึ่งข้อมูลที่มีความครบถ้วนสมบูรณ์ยิ่งขึ้นในการประเมินภาษีจากส่วนเงินได้ที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ สำหรับประเทศไทย ณ ปัจจุบัน อาจยังไม่มีความพร้อมที่จะนำมาตรการป้องกันการหนีภาษีในต่างประเทศในลักษณะอย่าง Foreign Account Tax Compliance Act มาบัญญัติเป็นกฎหมายขึ้นใช้บังคับ เนื่องจากยังไม่มีความพร้อมทั้งในแง่ที่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายต่อต้านการหลีกเลี่ยงภาษีอากรบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ และยังมีมาตรการป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีในต่างประเทศอยู่น้อย ประกอบกับปัญหาการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในส่วนเงินได้ที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 41 วรรคสอง และการยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ในส่วนเงินปันผลซึ่งได้รับจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500 มาตรา 5 วีสติ ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวอาจเป็นการลดแรงจูงใจต่อการลงทุนจากต่างประเทศที่จะนำมาลงทุนในประเทศไทยด้วย อย่างไรก็ตาม เมื่อใดที่ประเทศไทยมีความพร้อมในด้านต่าง ๆ ดังที่กล่าวข้างต้นแล้ว ประเทศไทยควรพิจารณานำมาตรการตาม Foreign Account Tax Compliance Act มาบัญญัติเป็นกฎหมาย และควรดำเนินการเจรจากับนานาประเทศที่มีการลงทุนในต่างประเทศของนักลงทุนไทยในการร่วมมือกันด้านภาษีระหว่างประเทศ เพื่อสร้างเสริมให้การใช้อำนาจจัดเก็บภาษีจากผู้เสียภาษีไทยในส่วนเงินได้ที่เกิดขึ้นในต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไปen_US
dc.description.abstractalternativeThe Foreign Account Tax Compliance Act embodies Anti-Offshore Tax Evasion measures which apply to U.S. tax payers who use offshore financial accounts as scheme to hide their financial assets from income tax payment in the United States. The study illustrates that the Foreign Account Tax Compliance Act’s measures will be efficient when applied as a supplementary measure to other Anti-Offshore Tax Evasion measures. In addition, international tax cooperation between governments is necessary for the practicability of Foreign Account Tax Compliance Act as it enables the tax agency to collect more comprehensive data for the purpose of abroad income assessment. At present, Thailand may not be ready to implement the Anti-Offshore Tax Evasion measures equivalent to those in the Foreign Account Tax Compliance Act in consideration of the absence in the Specific Anti-Avoidance Rules and a few existing Anti-Offshore Tax Evasion measures in Thailand. Besides, there is still a problem concerning levying income that arising in overseas, according to the Thai Revenue Code in Section 41 and the exemption of corporate income to the company or public limited company incorporated in Thailand with respect to the dividends from a company or juristic partnership incorporated in the foreign countries, according to the Royal Decree (No.10) 2500 B.E. in Section 5/20. In addition, the measures themselves contain disincentive aspect offending foreign investment, which should be taken into account. Nevertheless, when the aforementioned issues have been solved, Thailand should consider the incorporation of Anti-Offshore Tax Evasion measures based on the Foreign Account Tax Compliance Act into Thai legislation and the negotiations with other countries aiming at strengthening international tax cooperation, which will enable effective implementation of tax measures by Thai authorities over income arising in overseas.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.722-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectกฎหมาย -- ไทย
dc.subjectกฎหมายระหว่างประเทศ
dc.subjectการลงทุน -- ภาษี
dc.subjectLaw -- Thailand
dc.subjectInternational law
dc.subjectInvestments -- Taxation
dc.titleมาตรการป้องกันการหนีภาษีในต่างประเทศตาม Foreign Account Tax Compliance Act ของประเทศสหรัฐอเมริกาen_US
dc.title.alternativeANTI-OFFSHORE TAX EVASION MEASURES UNDER THE FOREIGN ACCOUNT TAX COMPLIANCE ACTen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorTithiphan.C@chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.722-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5385957334.pdf3.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.