Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43347
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorบุรณี กาญจนถวัลย์en_US
dc.contributor.authorเอกณัฎฐ์ เหล่าวีระธรรมen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:37:26Z
dc.date.available2015-06-24T06:37:26Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43347
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractในปัจจุบันการใช้อินเทอร์เน็ตได้เข้ามาแพร่หลายอย่างกว้างขวางในสังคมไทย โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน ซึ่งเด็กประถมศึกษาปีที่ 6 กำลังเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญของการพัฒนาการทางด้านความฉลาดทางอารมณ์(EQ) โดยการเรียนรู้จากองค์ประกอบแวดล้อมต่างๆรวมถึงจากการใช้อินเทอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตและความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงพรรณนา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ตัวอย่างและวิธีการศึกษา : ดำเนินการเก็บตัวอย่างจากกลุ่มประชากรตัวอย่างนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 3 โรงเรียน ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 131 คน โดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วย 1)ข้อมูลทั่วไป 2)แบบสอบถามพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต และ 3)แบบสอบถามความฉลาดทางอารมณ์ฉบับภาษาไทยในเด็กอายุ 6-12 ปี ของกรมสุขภาพจิต ทำการวิเคราะห์ข้อมูลความฉลาดทางอารมณ์ และ พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตโดยใช้ค่าร้อยละ มัธยฐาน และวิเคราะห์ความเกี่ยวข้องของพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต และปัจจัยส่วนบุคคลอื่นๆ กับ ค่าคะแนน ความฉลาดทางอารมณ์โดยใช้สถิติ t-test ,one way ANOVA และ Pearson’s correlation coefficient. ผลการศึกษา : พบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดมีการใช้อินเทอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน โดยมีการใช้อินเทอร์เน็ตที่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 89.4 และสถานที่ที่ใช้ส่วนใหญ่คือใช้ที่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 80.9 ใช้ที่โรงเรียนร้อยละ 50.4 ที่ร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ ร้อยละ 22.1 วัตถุประสงค์หลักที่กลุ่มตัวอย่างใช้คือ การใช้ค้นหาข้อมูลเพื่อการศึกษา ร้อยละ 45.8 ใช้เล่นสื่อออนไลน์ 41.2 และเล่นเกมออนไลน์ ร้อยละ 37.4 ระยะเวลาในการใช้อินเทอร์เน็ตโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ คือ 4.46 ชั่วโมง พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีค่าความฉลาดทางอารมณ์ในระดับปานกลาง โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ย 57.06 คะแนน ผลการศึกษาพบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับค่าความฉลาดทางอารมณ์สูง ประกอบด้วย การมีอินเทอร์เน็ตที่บ้าน ใช้อินเทอร์เน็ตที่บ้านเป็นหลัก และวัตถุประสงค์หลักของการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการค้นคว้าทางการศึกษา สรุป : การใช้อินเทอร์เน็ตอาจเป็นได้ทั้งปัจจัยเสี่ยงหรือปัจจัยส่งเสริมการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ ขึ้นกับพฤติกรรมการใช้ที่เหมาะสม การมีอินเทอร์เน็ตที่บ้าน ใช้อินเทอร์เน็ตที่บ้านเป็นหลัก ทำให้เด็กเข้าถึงการใช้อินเทอร์เน็ตได้สะดวก แต่การใช้เป็นไปโดยมีผู้ควบคุมดูแลทั้งในแง่เวลาที่ใช้และเนื้อหาวัตถุประสงค์หลักของการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการค้นคว้าทางการศึกษาเป็นหลักถือว่าเหมาะสมกับวัยเรียนรู้ ดังนั้น การให้การควบคุมดูแลเด็กในการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ในเด็กวัยนี้en_US
dc.description.abstractalternativeBackground : At present,internet was routinely used in Thai society, especially in the youth, which possibly affected the developmental process of emotional quotient(EQ).The school age is one of the most important period of establishing and expanding of emotional quotient via learning from surrounding environment including internet use behaviors. Objective : To examine internet use behaviors, EQ and their correlation among grade 6 primary school student in Bangkok Metropolis and the suburb. Design : A cross-sectional descriptive study. Material and Method : One hundred and Thirty-one grade 6 students from randomized 3 schools completed the questionnaires,consisted of 1) personal information questionnaire 2)internet used behaviors information, cover objective,duration and location of internet use behaviors and 3)emotional quotient questionnaire for 6-12 year old children(Cronbach’s alpha 0.903). Prevalence of each EQ level and data of Internet use behaviors were present in percentage, mean and standard deviation. Association between demographic data, internet use behaviors and EQ scores were analyzed by unpaired t-test, one way ANOVA and Pearson’s correlation coefficient. Result : One hundred percent of sample always use internet in daily life. Internet availability at home was found 89.4%.The location of use were, mostly,at home 80.9%,at school 50.4%,at internet café 22.1%.The objective of internet use were for academic purpose 45.8%,Social media 41.2%,game online 37.4%.Average duration of internet use was about 4.46 hrs/week.Most student had moderate level of EQ score (mean= 57.06,SD=7.317).The related factors of higher EQ score include internet availability at home,mainly use internet at home and mainly use for academic purpose. Conclusion : Internet use behaviors are able to be either risk factors or protective factors for EQ development in students,depends on the way of use. The result has shown that appropriate use behaviors,such as use for academic objective,use in location with supervision,have correlation with higher EQ level.Our society can protect Our children from internet abuse spending more attention and supervision.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.791-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectอินเทอร์เน็ตกับวัยรุ่น
dc.subjectความฉลาดทางอารมณ์
dc.subjectInternet and teenagers
dc.subjectEmotional intelligence
dc.titleพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตและความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กประถมศึกษาปีที่ 6 ในเขตกรุงเทพมหานคร และ ปริมณฑลen_US
dc.title.alternativeINTERNET USE BEHAVIORS AND EMOTION QUOTIENT OF PRIMARY STUDENT GRADE 6 IN BANGKOK METROPOLIS AND THE SUBURBen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineสุขภาพจิตen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisordrburanee@gmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.791-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5474367330.pdf2.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.