Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43383
Title: ผลของโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจต่อพฤติกรรมป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นตอนต้น
Other Titles: THE EFFECT OF MOTIVATION PROMOTING PROGRAM ON ALCOHOL DRINKING PREVENTION BEHAVIOR AMONG EARLY ADOLESCENTS
Authors: อัจฉรา มูลรัตนา
Advisors: วีณา จีระแพทย์
นรลักขณ์ เอื้อกิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: j_veena@hotmail.com
Noraluk.U@Chula.ac.th
Subjects: การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ -- การป้องกัน
Drinking of alcoholic beverages
Alcoholic beverages -- Prevention
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจต่อพฤติกรรมป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นตอนต้น ตามแนวคิดแรงจูงใจในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของ Cox and Klinger (1988) กลุ่มตัวอย่าง คือ วัยรุ่นตอนต้นที่กำลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 25 คน โดยจับคู่ให้มีเพศ และการมีบุคคลในครอบครัวและเพื่อนสนิทดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เหมือนกัน กลุ่มควบคุมได้รับความรู้ตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจต่อพฤติกรรมป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยโปรแกรมการทดลอง แบบสอบถามพฤติกรรมป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และแบบสอบถามความคาดหวังในผลลัพธ์เชิงบวกและเชิงลบ เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน แบบสอบถามทั้ง 3 ชุด มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .71, .81 และ .86 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นตอนต้น หลังได้รับโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมพฤติกรรมป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นตอนต้น กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจต่อพฤติกรรมป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับความรู้ตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: This quasi-experimental research aimed at studying the effect of motivation promoting program (MPP) on alcohol drinking prevention behavior among early adolescents. Concept of the drinking motive by Cox and Klinger (1988) was used as the research framework. Subjects were early adolescents studying in the 2nd grades of secondary school. They were matched pair by sex and known of having alcohol drinking person in the family and close friends. They were assigned to the control or the experimental group, 25 subjects in each group. Control group received routine knowledge, while the experimental group received the MPP. Research instruments included the experimental program, the drinking prevention behavior questionnaires and the positive and negative alcohol expectancies questionnaires. All instruments passed content validity by 5 experts. The three questionnaires had reliabilitie of .71, .81 and .86, respectively. Descriptive statistics and t-test were used to analyze the data. The major findings were as follow: 1. Mean of alcohol drinking prevention behavior of early adolescents after receiving the MPP was significantly higher than before receiving the motivation promoting program at the .05 level. 2. Mean of alcohol drinking prevention behavior of early adolescents receiving the MPP was significantly higher than that receiving routine knowledge at the .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43383
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.851
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.851
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5477205936.pdf4.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.